ประเทศวานูวาตู
สาธารณรัฐวานูวาตู Ripablik blong Vanuatu (บิสลามา) Republic of Vanuatu (อังกฤษ) République du Vanuatu (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | พอร์ตวิลา 17°S 168°E / 17°S 168°E |
ภาษาราชการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (1999) |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2010)[3] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
Nikenike Vurobaravu | |
Charlot Salwai | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เป็นเอกราช | |
• จากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร | 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 |
• ยอมรับเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ | 15 กันยายน ค.ศ. 1981 |
พื้นที่ | |
• รวม | 12,189 ตารางกิโลเมตร (4,706 ตารางไมล์) (อันดับที่ 157) |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2020 ประมาณ | 307,815[4] (อันดับที่ 181) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016 | 272,459[5] |
19.7 ต่อตารางกิโลเมตร (51.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 188) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 178) |
• ต่อหัว | 2,850 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 155) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 957 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 175) |
• ต่อหัว | 3,327 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 124) |
จีนี (ค.ศ. 2010) | 37.6[7] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.609[8] ปานกลาง · อันดับที่ 140 |
สกุลเงิน | วาตู (VUV) |
เขตเวลา | UTC 11 (VUT (เวลาในประเทศวานูวาตู)) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | 678 |
โดเมนบนสุด | .vu |
วานูวาตู (บิสลามา, อังกฤษ และฝรั่งเศส: Vanuatu, เสียงอ่านในภาษาบิสลามาและฝรั่งเศส [vanuatu]) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูวาตู (บิสลามา: Ripablik blong Vanuatu; อังกฤษ: Republic of Vanuatu; ฝรั่งเศส: République de Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม. และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนิวแคลิโดเนีย ทางทิศตะวันตกของประเทศฟีจี และทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน 500 กม. ชื่อของประเทศนี้ในยุคอาณานิคม คือ นิวเฮบริดีส์ (New Hebrides)
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อประเทศมาจากคำว่าวานูอา ("ดินแดน" หรือ "บ้าน")[9] ซึ่งพบในภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบางภาษา[a] กับคำว่า ตู หมายถึง "เพื่อยืน" (จากPOc *tuqur).[10] ทั้งสองคำสื่อถึงสถานะเป็นเอกราชของประเทศ[11]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เกาะจำนวนมากของวานูวาตูมีผู้อาศัยมานานนับพัน ๆ ปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด พบว่ามีอายุย้อนไปถึงประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อ ค.ศ. 1606 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร เฟร์นันเดซ เด กีโรส (Pedro Fernández de Quirós) ก็นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงหมู่เกาะนี้ ชาวยุโรปเริ่มตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะดังกล่าวในปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากกัปตันเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษได้เดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้ เมื่อระหว่างการเดินทางครั้งที่ 2 ของเขา
เมื่อ ค.ศ. 1906 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะปกครองดินแดนนี้ร่วมกัน โดยเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า "นิวเฮบริดีส์" ครั้นถึงทศวรรษ 1960 ประชากรชาววานูวาตูเริ่มกดดันเพื่อก่อตั้งรัฐบาลของตนเอง และภายหลังก็เรียกร้องเอกราชคืน และในที่สุดฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรก็ยอมคืนอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์สู่เจ้าของพื้นที่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523)
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 วานูวาตูประสบความผันผวนทางการเมือง และในที่สุดก็นำไปสู่รัฐบาลแบบกระจายอำนาจมากขึ้น
บางท่านถือว่าวานูวาตูเป็นหนึ่งในเกาะสวรรค์ที่ยังคงสภาพดังเดิมอย่างแท้จริง
ภูมิศาสตร์
[แก้]วานูวาตูมิได้เป็นเกาะเพียงเกาะเดียว ความจริงแล้วเป็นหมู่เกาะ มีเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 83 เกาะ ในจำนวนนี้ มีอยู่ 2 เกาะ ได้แก่ เกาะแมตทิว (Matthew) และเกาะฮันเตอร์ ซึ่งถือเป็นดินแดนของนิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส)
ในบรรดาเกาะทั้ง 83 เกาะนั้น มี 14 เกาะที่มีเนื้อที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ได้แก่
- เกาะเอสปีรีตูซันตู (Espiritu Santo) : 3,956 ตารางกิโลเมตร
- เกาะมาลากูลา (Malakula) : 2041 ตารางกิโลเมตร
- เกาะเอฟาเต (Éfaté) : 900 ตารางกิโลเมตร
- เกาะเอร์โรมันโก (Erromango) : 888 ตารางกิโลเมตร
- เกาะแอมบริม (Ambrym) : 678 ตารางกิโลเมตร
- เกาะแทนนา (Tanna) : 555 ตารางกิโลเมตร
- เกาะปองต์โกต (Pentecôte) : 491 ตารางกิโลเมตร
- เกาะเอปี (Épi) : 445 ตารางกิโลเมตร
- เกาะแอมเบ (Ambae) หรือ เอาบา (Aoba) : 402 ตารางกิโลเมตร
- เกาะวานัวลาวา (Vanua Lava) : 334 ตารางกิโลเมตร
- เกาะซันตามาเรีย (Santa Maria) : 328 ตารางกิโลเมตร
- เกาะมาเอโว (Maéwo) : 304 ตารางกิโลเมตร
- เกาะมาโล (Malo) : 180 ตารางกิโลเมตร) และ
- เกาะอะนาตอม (Anatom) หรือ อาเนติอุม (Aneityum) : 159 ตารางกิโลเมตร
เกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง เดิมเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน เมืองที่ใหญ่สุด คือเมืองหลวง ชื่อว่า "พอร์ตวิลา" ตั้งอยู่บนเกาะเอฟาเต และเมืองลูแกงวีล บนเกาะเอสปีรีตูซันตู
จุดที่สูงสุดของวานูวาตู คือภูเขา Tabwemasana มีความสูง 1,879 เมตร (6,158 ฟุต) อยู่บนเกาะเอสปิริตู ซานโต เช่นเดียวกัน
นิเวศวิทยา
[แก้]วานูวาตูถือเป็นภูมิภาคนิเวศบกที่โดดเด่นแห่งหนึ่ง เรียกว่า "ป่าฝนวานูวาตู" วานูวาตูยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตนิเวศออสตราเลเชีย (Australasia ecozone) ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างนิวแคลิโดเนีย และหมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และนิวซีแลนด์
การเมือง
[แก้]นิติบัญญัติ
[แก้]รัฐสภาของวานูวาตูเป็นแบบสภานิติบัญญัติสภาเดียว มีสมาชิก 52 คน สมาชิกเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี จากการลงคะแนนเสียง ผู้นำพรรคหลักในรัฐสภา มักจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้นำคณะรัฐบาล สำหรับประมุขของรัฐ คือประธานาธิบดี ได้รับเลือกคราวละ 5 ปี จากรัฐสภาและประธานรัฐบาลท้องถิ่น 6 จังหวัด อย่างไรก็ตามการจัดตั้งรัฐบาลนั้นยังปรากฏปัญหาหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องมาจากแตกแยกระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]วาตูอาตูแบ่งการปกครองเป็น 6 จังหวัด (province) ดังนี้
- จังหวัดมาลัมปา (Malampa)
- จังหวัดเปนามา (Penama)
- จังหวัดซันมา (Sanma)
- จังหวัดเชฟา (Shefa)
- จังหวัดตาเฟีย (Tafea)
- จังหวัดตอร์บา (Torba)
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะอิงกับเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพ หรือเกษตรกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเลี้ยงชีพประชากรราว 65% สำหรับการประมง บริการการเงินนอกประเทศ และการท่องเที่ยว (เมื่อปี ค.ศ. 1997 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 50,000 คน) เป็นเศรษฐกิจหลักอันดับรองลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจากภาษีนำเข้า และ 12.5% เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการ
การเติบโตของเศรษฐกิจนั้นต้องชะลอลงอันเนื่องจากส่วนใหญ่ต้องอาศัยสินค้านำเข้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน การประสบภัยธรรมชาติ และระยะทางที่ยาวไกลจากตลาดหลักและระหว่างเกาะน้อยใหญ่ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 และตามด้วยสึนามิ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเกาะทางตอนเหนือ ทำให้ประชากรหลายพันคนไร้ที่อยู่อาศัยแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2002 ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ในเมืองหลวง และพื้นที่โดยรอบ ทั้งยังประสบภัยจากสึนามิในเวลาต่อมาด้วย
ค่าจีดีพีของวานูวาตูเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ถึง 3% ในทศวรรษ 1990 และตอบสนองความสนใจจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้สัญญาที่จะเข้มงวดกับระเบียบด้านการเงินนอกประเทศ เมื่อกลางปี 2005 รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามที่จะเร่งตลาดท่องเที่ยว ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นผู้สนับสนุนหลักจากต่างประเทศของวานูวาตู
วานูวาตูเป็นเมืองปลอดภาษี ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลบัญชีแก่รัฐบาลใด ๆ และหน่วยงานควบคุมกฎหมาย ในวานูวาตูนั้น ไม่มีภาษีเงินได้ ไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริษัทต่าง ๆ เลือกที่จะลงทุนในวานูวาตู เพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบ และการกระทำผิดกฎหมาย
ประชากร
[แก้]ประชากร : 202,609 คน (กรกฎาคม 2547)
ประชากรส่วนใหญ่ของวานูวาตูเป็นชาวเมลานีเซียพื้นเมือง หรือนีวานูวาตู ส่วนที่เหลือประกอบด้วยชาวยุโรป เอเชีย และชาวหมู่เกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีด้วยกัน 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบิสลามา อันเป็นภาษาลูกผสมแบบหนึ่ง ที่มีรากฐานจากภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แล้วยังมีภาษาถิ่นต่างๆ อีกกว่า 100 ภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่เกาะนี้ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของภาษาสูงที่สุดในภูมิภาคใดๆ ของโลก (โดยเฉลี่ยมีผู้พูดเพียง 2,000 คนต่อ 1 ภาษา) พื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันก็คือ ปาปัวนิวกินี
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ประชากรนับถือมากที่สุดในวานูวาตู มีหลายคณะนิกายด้วยกัน สำหรับ Presbyterian เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุด นั่นคือมีผู้นับถืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด
สำหรับลัทธิคาร์โก (Cargo) ก็ได้รับความนิยมนับถือจากผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง
วัฒนธรรม
[แก้]วานูวาตูยังคงมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ วัฒนธรรมของวานูวาตูอาจแบ่งได้ตามภูมิภาคหลักๆ 3 ภาคดังนี้
- ภาคเหนือ ความมั่งคั่งจะพิจารณาได้จากว่าผู้คนสามารถให้ทรัพย์สินได้มากเท่าใด (โดยเฉพาะสุกร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้)
- ภาคกลาง ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมโปลีนีเซียแบบดั้งเดิมมากกว่า
- ภาคใต้ มีวัฒนธรรมการมอบตำแหน่งที่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ
นอกจากนี้ชายหนุ่มจะมีพิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วานูอา มาจากออสโตรนีเซียดั้งเดิม *banua – ดู Reuter 2002, p. 29; และ Reuter 2006, p. 326
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vanuatu Daily Post, Harrison Selmen (17 กรกฎาคม 2011). "Santo chiefs concerned over slow pace of development in Sanma". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2011.
- ↑ Lynch & Pat 1996, p. 319.
- ↑ "Religions in Vanuatu | PEW-GRF". globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2020.
- ↑ "Vanuatu Population (2020) – Worldometer". worldometers.info. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2020.
- ↑ "2016 Post-TC Pam Mini-Census Report". vnso.gov.vu. Government of Vanuatu. 21 กรกฎาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2017.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2019.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 ธันวาคม 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2020.
- ↑ Hess 2009, p. 115.
- ↑ See "Entry *tuqu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2020. ใน the Polynesian Lexicon Project.
- ↑ Crowley 2004, p. 3.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bedford, Stuart; Spriggs, Matthew (2008). "Northern Vanuatu as a Pacific Crossroads: The Archaeology of Discovery, Interaction, and the Emergence of the "Ethnographic Present"". Asian Perspectives. UP Hawaii. 47 (1): 95–120. doi:10.1353/asi.2008.0003. hdl:10125/17282. JSTOR 42928734. S2CID 53485887.
- Census of Agriculture 2007 Vanuatu, Vanuatu National Statistics Office (2008)
- Crowley, Terry (2000). "The language situation in Vanuatu". ใน Baldauf, Richard B.; Kaplan, Robert B. (บ.ก.). Language Planning and Policy in the Pacific: Fiji, the Philippines and Vanuatu. Vol. 1. ISBN 978-1-85359-921-7.
- Crowley, Terry (2004). Bislama reference grammar. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-2880-6.
- François, Alexandre (2012). "The dynamics of linguistic diversity: Egalitarian multilingualism and power imbalance among northern Vanuatu languages". International Journal of the Sociology of Language. De Gruyter. 2012 (214): 85–110. doi:10.1515/ijsl-2012-0022. S2CID 145208588..
- François, Alexandre; Stern, Monika (2013). Musiques du Vanuatu: Fêtes et Mystères – Music of Vanuatu: Celebrations and Mysteries. Maison des Cultures du Monde (CD album, released with liner notes and ebook). Paris: Inédit. W260147.
- Harris, Richard (2006). "Tales from the South Pacific – diving medicine in Vanuatu". Diving and Hyperbaric Medicine. South Pacific Underwater Medicine Society. 36 (1): 22–23. eISSN 2209-1491. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2013.
- Hess, Sabine C. (2009). Person and Place: Ideas, Ideals and the Practice of Sociality on Vanua Lava, Vanuatu. Berghahn. ISBN 978-1-84545-599-6.
- Lynch, John; Pat, Fa'afo, บ.ก. (1996). Proceedings of the first International Conference on Oceanic Linguistics (1993). International Conference on Oceanic Linguistics. Port Vila, Vanuatu: Australian National University. ISBN 978-0-85883-440-8.
- Reuter, Thomas Anton (2002). Custodians of the Sacred Mountains: Culture and Society in the Highlands of Bali. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-2450-1.
- Reuter, Thomas Anton (2006). Sharing the Earth, Dividing the Land: Land and Territory in the Austronesian World. ANU E Press. ISBN 978-1-920942-69-4.
- Shears, Richard (1980). The Coconut War: the Crisis on Espiritu Santo. North Ryde, NSW: Cassell. ISBN 978-0-7269-7866-1.
- Sprackland, Robert George (1992). Giant Lizards. Neptune, NJ: TFH. ISBN 978-0-86622-634-9.
- Trompf, Garry W., บ.ก. (1987). The Gospel Is Not Western: Black Theologies from the Southwest Pacific. Orbis. ISBN 978-0-88344-269-2.
- Wilson, Edward Osborne (1994). Naturalist (1st ed.). Shearwater. ISBN 978-1-55963-288-1.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bolton, Lissant (2003). Unfolding the Moon: Enacting Women's Kastom in Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-2535-5.
- Bonnemaison, Joël; Huffman, Kirk; Tryon, Darrell; Kaufmann, Christian, บ.ก. (1998). Arts of Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-1956-9.
- Bowdey, Bob; Beaty, Judy; Ansell, Brian (1995). Diving and Snorkelling Guide to Vanuatu. Lonely Planet. ISBN 978-1-55992-080-3.
- Bregulla, Heinrich L. (1992). Birds of Vanuatu. Nelson. ISBN 978-0-904614-34-3.
- Doughty, Chris; Day, Nicolas; Plant, Andrew (1999). The Birds of the Solomons, Vanuatu and New Caledonia. Helm. ISBN 978-0-7136-4690-0.
- Ellis, Amanda; Manuel, Clare; Cutura, Jozefina; Bowman, Chakriya (2009). Women in Vanuatu: Analyzing Challenges to Economic Participation. World Bank Group. ISBN 978-0-8213-7909-7.
- Eriksen, Annelin (2007). Gender, Christianity and Change in Vanuatu: An Analysis of Social Movements in North Ambrym. Anthropology and Cultural History in Asia and the Indo-Pacific. Routledge. ISBN 978-0-7546-7209-8.
- Harewood, Jocelyn (23 พฤศจิกายน 2020). Vanuatu Adventures: Kava and Chaos in the Sth Pacific. ISBN 978-0-9874293-6-0.
- Jolly, Margaret (1993). Women of the Place: Kastom, Colonialism and Gender in Vanuatu. Studies in anthropology and history. Vol. 12. Harwood Academic. ISBN 978-3-7186-5453-6.
- Mescam, Genevieve (1989). Pentecost: An island in Vanuatu. (Photographer) Coulombier, Denis. U South Pacific. ISBN 978-982-02-0052-4.
- Rio, Knut Mikjel (2007). Power of Perspective: Social Ontology and Agency on Ambrym Island, Vanuatu. Berghahn. ISBN 978-1-84545-293-3.
- Rodman, Margaret; Kraemer, Daniela; Bolton, Lissant; Tarisesei, Jean, บ.ก. (2007). House-girls Remember: Domestic Workers in Vanuatu. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-3012-0.
- Siméoni, Patricia (2009). Atlas du Vanouatou (Vanuatu) (ภาษาฝรั่งเศส). Port-Vila: Géo-consulte. ISBN 978-2-9533362-0-7.
- Speiser, Felix (1991). Ethnology of Vanuatu: An Early Twentieth Century Study. Crawford House. ISBN 978-1-86333-021-3.
- Taylor, John Patrick (2008). The Other Side: Ways of Being and Place in Vanuatu. Pacific Islands Monograph. UP Hawaii. ISBN 978-0-8248-3302-2.
- Troost, J. Maarten (2006). Getting Stoned with Savages: A Trip Through the Islands of Fiji and Vanuatu. Broadway. ISBN 978-0-7679-2199-2.
- Williamson, Rick (2004). Cavorting With Cannibals: An Exploration of Vanuatu. Narrative. ISBN 978-1-58976-236-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาลวานูวาตู
- วิกิข่าว มีข่าวที่เกี่ยวข้อง: ประเทศวานูวาตู (ในภาษาอังกฤษ)
- Vanuatu เก็บถาวร 2021-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Vanuatu จาก UCB Libraries GovPubs
- ประเทศวานูวาตู ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Vanuatu
- Vanuatu Tourism Portal, the official website of the Vanuatu National Tourism Office
- Herbarium of Vanuatu (PVNH), which houses a collection of about 20,000 specimens. Pl@ntNet.
- Drones sacrificed for spectacular volcano video. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ธันวาคม 2016.