ข้ามไปเนื้อหา

ปัฏฏทกัลลุ

พิกัด: 15°57′05″N 75°48′53″E / 15.95139°N 75.81472°E / 15.95139; 75.81472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pattadakal)
ปัฏทกัล
ปัฏฏทกัลลุ
ปัฏฏทกัลลุตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
ปัฏฏทกัลลุ
แสดงที่ตั้งภายในรัฐกรณาฏกะ
ปัฏฏทกัลลุตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ปัฏฏทกัลลุ
ปัฏฏทกัลลุ (ประเทศอินเดีย)
ที่ตั้งอำเภอพคลโกฏ, รัฐกรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย
พิกัด15°57′05″N 75°48′53″E / 15.95139°N 75.81472°E / 15.95139; 75.81472
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์iii, iv
ขึ้นเมื่อ1987 (11th session)
เลขอ้างอิง239
รัฐประเทศอินเดีย
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ปัฏทกัล หรือ ปัฏฏทกัลลุ หรือ รักตปุระ เป็นหมู่เทวสถานในศาสนาฮินดูและไชนะสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 และ 8 ในตอนเหนือของรัฐกรณาฏกะ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมาลประภา ในอำเภอพคลโกฏ หมู่เทวสถานนี้ได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[1][2] ตั้งอยู่ราว 14 ไมล์ (23 กิโลเมตร) จากพทามี และราว 6 ไมล์ (9.7 กิโลเมตร) จากไอโหเล ซึ่งล้วนเป็นศูนย์กลางสำคัญของจลุกยะ[3][4] ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (ASI)[5]

ยูเนสโกระบุว่าหมู่โบราณสถานนี้เป็น "การผสมผสานอย่างลงตัวของรูปแบบสถาปัตยกรรมอินเดียเหนือและใต้" และเป็นผลงานชิ้นเอกของ "ศิลปะสรรหา" (eclectic art) ที่จุดสูงสุด[2] หมู่มนเทียรฮินดูที่นี่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ รวมถึงปรากฏลักษณะเทววิทยาและตำนานแบบลัทธิไวษณพ และ ลัทธิศักติ เช่นเดียวกัน งานแกะสลักปรากฏเรื่องราวจากพระเวทและปุราณะ รวมถึง รามายณะ, มหาภารตะ, ภควตาปุราณะ, ปัญจตันตระ และ กิราตารชุนียะ[2][6] เทวสถานที่ประณีตที่สุดในบรรดาทั้งหมดปรากฏงานแกะสลักที่ผสมผสานแบบอินเดียเหนือและอินเดียใต้อย่างลงตัว เช่นในปาปนาถมนเทียร (Papanatha) และวิรูปักษมนเทียร (Virupaksha)[7][8] วิรูปักษมนเทียรในปัจจุบันยังคงเป็นเทวสถานที่มีการบูชาและประกอบพิธีเป็นปกติอยู่[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Arch
  2. 2.0 2.1 2.2 Group of Monuments at Pattadakal, UNESCO; See also Advisory Body Evaluation (ICOMOS), UNESCO
  3. World Heritage Sites - Pattadakal - More Detail, Archaeological Survey of India, Government of India (2012)
  4. Michell 2017, pp. 12–19, 110–114.
  5. World Heritage Sites - Pattadakal; Group of Monuments at Pattadakal (1987), Karnataka; ASI, Government of India
  6. Michell 2017, pp. 110–131.
  7. Cathleen Cummings 2014, pp. 1–7.
  8. Lippe 1967.
  9. Virupaksha Temple เก็บถาวร 1 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASI India (2011)

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]