ข้ามไปเนื้อหา

พีเจ แบล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก P. J. Black)
PJ Black
ชื่อเกิดPhillip Paul Lloyd[1]
เกิด (1981-03-03) 3 มีนาคม ค.ศ. 1981 (43 ปี)[2]
Cape Town, Western Cape, South Africa[2]
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนThe Bunny[3]
Justin Angel[4]
Justin Gabriel[4]
Paul Lloyd[2]
Paul Lloyd Jr.[2]
PJ Black[2]
ส่วนสูง6 ft 1 in (1.85 m)[5]
น้ำหนัก213 lb (97 kg)[5]
มาจากCape Town, South Africa[5]
ฝึกหัดโดยPaul Lloyd[2]
Alex Shane[2]
Mark Sloan[2]
เปิดตัว1997[2]

ฟิลลิป พอล ลอยด์ (Phillip Paul Lloyd; เกิด 3 มีนาคม ค.ศ. 1981(1981-03-03))[1] นักมวยปล้ำอาชีพชาวแอฟริกาใต้ที่เคยสังกัดWWEในนาม จัสติน เกเบรียล (Justin Gabriel)[2] เดิมใช้นาม จัสติน แองเจล (Justin Angel) ในตอนอยู่ค่ายพัฒนาทักษะ FCW[6] และใช้นาม พีเจ แบล็ก (PJ Black) ในสมาคมอิสระ

ประวัติ

[แก้]

เกเบรียลเปิดตัวในWWEครั้งแรกกับNXT[4] เป็นรุ่นแรกโดยมีครูฝึก(โปร)คือแมต ฮาร์ดี วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2010 เขาปล้ำแมตช์แรกวันที่ 2 มีนาคม 2010 แทคทีมจับคู่กับโปรของตัวเอง แมต ชนะวิลเลียม รีกัลจับคู่กับสกิพ เชฟฟิลด์ และเป็นเกเบรียลที่จับรีกัลกดได้ทำให้เกเบรียลเป็นรูกีคนแรกที่กดโปร[7] ต่อมาก็แพ้ครั้งแรกให้กับเวด บาร์เร็ตต์ วันที่ 16 มีนาคม 2010 และก็แพ้ให้กับซีเอ็ม พังก์และดาร์เรน ยัง[8][9] วันที่ 30 มีนาคม 2010 พอวันที่ผลคะแนนจากโปรออก เกเบรียลได้คะแนนเป็นอันดับที่3 ตามหลังดาร์เรน ยังที่ได้ที่ 1 และเวด บาร์เร็ตต์ที่ได้ที่ 2[10] ก่อนที่จะมีการโหวตออกครั้งแรก เกเบรียลได้ชนะรูกีชาเลนจ์ และได้รับการยกเว้นจากการเอาออกในครั้งนั้น[11] และในโพลรอบนั้น เกเบรียลก็ยังอยู่ที่3 เหมือนเดิม แต่รอดจากการโหวตออกทำให้เดวิด โอทังกาโดนออกแทน[12] วันสุดท้ายของรายการได้หาผู้ชนะและผู้ชนะเอ็นเอ็กซ์ทีรุ่นแรกเป็นเวด บาร์เร็ตต์ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2010[13]

ในวันที่ 7 มิถุนายน 2010 ในรอว์ เกเบรียลและสมาชิกเอ็นเอ็กซ์ทีรุ่นแรกทุกคนได้รวมทีมกันโดยใช้ชื่อว่าเดอะเน็กซัส ซึ่งเป็นอธรรมและได้เข้ามารบกวนคู่เอกระหว่างจอห์น ซีนา กับซีเอ็ม พังก์ และทำร้ายทั้ง ซีนา, พังก์, จัสติน โรเบิตส์ และทีมงานต่างๆ ก่อนที่จะรื้อและทำลายโชว์[14] ในวันที่ 14 มิถุนายน 2010 เกเบรียลและสมาชิก เดอะเน็กซัส ได้เข้ามาทำร้ายเบรต ฮาร์ต ที่เป็นผู้จัดการทั่วไปของรอว์ในตอนนั้น[15] ในเฟทัลโฟร์เวย์ (2010) ในคู่เอกชิงแชมป์ WWE ระหว่างปล้ำกัน เดอะเน็กซัสได้ทำร้ายสตาร์ที่ดูอยู่หลังเวทีและได้เข้ามาทำร้ายซีนา, แรนดี ออร์ตัน และเอดจ์ จนต้องแพ้ให้เชมัส[16] วันที่ 12 กรกฎาคม 2010 เดอะเน็กซัสได้ปล้ำแมตช์แรกในรอว์ เป็นแฮนดิแคป 6 รุม 1 กับซีนา และเป็นเกเบรียลกดชนะไป[17] เดอะเน็กซัสได้เปิดศึกกับซีนา[18] อย่างต่อเนื่องจน ซัมเมอร์สแลม (2010) ได้ปล้ำแทกทีม 7 ต่อ 7 คัดออก โดยเดอะเน็กซัสเจอกับทีม WWE ที่นำทีมโดยจอห์น ซีนา สุดท้ายกลายเป็นทีม WWE ชนะไปโดยเกเบรียลออกเป็นคนที่6 โดนซีนากดออกไปจากการ 450 สแปลช พลาด[19]

ในเฮลอินเอเซล (2010) ในแมตช์ระหว่าง เวด บาร์เร็ตต์ เจอกับ จอห์น ซีนา โดยถ้าบาร์เร็ตต์ชนะ ซีนาต้องเข้าร่วมทีมแต่ถ้าซีนาชนะ เน็กซัสต้องแตกกลุ่ม และเป็นบาร์เร็ตต์ที่ชนะจากการช่วยเหลือของไมเคิล แมคกิลลิคัตตี และฮัสกี แฮร์ริส[20][21] วันที่ 25 ตุลาคม 2010 บาร์เร็ตต์สั่งให้เกเบรียลกับฮีท สเลเตอร์ สู้กับจอห์น ซีนาคู่กับ เดวิด โอทังกา 2 สมาชิกในกลุ่มตนเองที่เป็นแชมป์แท็กทีม WWE และเป็นเกเบรียลกับสเลเตอร์ที่ชนะและเป็นแชมป์แทกทีมคู่ใหม่ โดยบาร์เร็ตต์สั่งให้โอทังกายอมแพ้ และได้ครองแชมป์แทกทีมถึง 2 เดือน[22] ก่อนเสียให้ซานติโน มาเรลลากับวลาดิเมียร์ คอซลอฟ ในแมตช์ 4 เส้าอิลิมิเนชั่นโดยเจอกับ ดิ อูโซส์, มาร์ก เฮนรี กับโยะชิ ทะสึ ในรอว์ วันที่ 6 ธันวาคม 2010[23] และได้ขอรีแมตช์ในทีแอลซี (2010) และอดได้แชมป์โดยการแพ้ฟาวเพราะแมคกิลลิคัตตีเข้ามาช่วย[24]

หลังจากเวด บาร์เร็ตต์แพ้ในแมตช์หาผู้ท้าชิงแชมป์ทำให้ซีเอ็ม พังก์เข้ามายึดเดอะเน็กซัส และเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นเดอะนิวเน็กซัส และสั่งให้เกเบรียลกับสเลเตอร์เอาดาบเคนโด้ฟาดกันเอง ทำให้ทั้งคู่ไม่พอใจจึงปล่อยดาบเคนโด้และยอมออกจากกลุ่มเน็กซัส แล้วทั้งคู่ก็ย้ายไปสแมคดาวน์ตามบาร์เร็ตต์[25] ในวันที่ 14 มกราคม 2011 เวด บาร์เร็ตต์ ก็ได้ตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่โดยนำ เกเบรียลกับสเลเตอร์ มาอยู่ในกลุ่มและได้อีซีคีล แจ็กสันมาช่วยรุมบิ๊กโชว์แล้วตั้งชื่อกลุ่มว่าเดอะคอร์[26][27] คืนถัดมาเกเบรียลเจอกับเอดจ์ที่เป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทอยู่แต่ก็ไม่ได้เป็นแมตช์ชิงแชมป์แต่อย่างใดหรือปล้ำนอกรอบ และเป็นเกเบรียลที่เอาชนะไปได้จากการช่วยเหลือจากเดอะคอร์[28][29] เกเบรียลกับสเลเตอร์ได้ชนะซานติโนกับคอซลอฟแบบนอกรอบ ในสแมคดาวน์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2011[30][31] ทำให้ได้ชิงแชมป์แทกทีมในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2011) และก็ชนะเป็นแชมป์แทกทีมสมัยที่ 2[32]

ในรอว์ 21 กุมภาพันธ์ 2011 เกเบรียลกับสเลเตอร์ ต้องป้องกันแชมป์กับจอห์น ซีนาและเดอะมิซ และก็เป็นคู่ซีนากับมิซชนะไปแต่ในวันเดี่ยวกันนั้นเอง เกเบรียลกับสเลเตอร์ก็ได้แชมป์กลับมาเนื่องจากบาร์เร็ตต์เรียกกลับมาเนื่องจากสามารถรีแมตช์ได้และมิซก็หักหลังซีนาเสียแชมป์ให้เกเบรียลกับสเลเตอร์[33] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 กลุ่มเดอะคอร์ จะต้องเจอกับ บิ๊กโชว์, เคน, ซานติโน และโคฟี คิงส์ตัน ในแมตช์แทกทีม 8 คน สุดท้ายเป็นทีมของบิ๊กโชว์ที่ชนะไปในเวลาสั้นๆ[34] ในวันที่ 19 เมษายน 2011 เกเบรียลกับสเลเตอร์เสียแชมป์แทกทีมให้เคนและบิ๊กโชว์[35] หลังจากนั้นเดอะคอร์เริ่มมีปัญหากัน วันที่ 6 พฤษภาคม 2011 เดอะคอร์ได้รุมกระทืบอีซีคีล ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการแตกทีม[36] วันที่ 10 มิถุนายน 2011 เดอะคอร์เจอกับดิ อูโซส์ และอีซีคีล ระหว่างแมตช์ บาร์เร็ตต์หนีอีซีคีลไปแทกเอาเกเบรียลออกมาสู้จนทำให้ทีมเดอะคอร์แพ้ หลังจากนั้นเดอะคอร์ก็ต้องแตกทีมกัน[37][38]

ในวันที่ 17 มิถุนายน 2011 เกเบรียลกับสเลเตอร์ ได้เจอกับ ดิ อูโซส์ และก็เป็นฝ่ายแพ้ไป ในวันที่ 24 มิถุนายน 2011 ได้รีแมตช์กับ ดิ อูโซส์ และก็เอาชนะมาได้[39][40] วันที่ 8 กรกฎาคม 2011 เกเบรียลกับ ฮีท สเลเตอร์ ได้รับสิทธิ์ในการปล้ำมันนีอินเดอะแบงก์ และวันนี้ก็ต้องเจอกับดิ อูโซส์ แต่ก็ต้องแพ้ไป[41] หลังจากนั้นทั้งคู่ก็เริ่มมีปัญหากันและก็เป็นจุดจบของทีม เกเบรียลก็ได้กลายมาเป็นฝ่ายธรรมะ และต้องเจอกับฮีท สเลเตอร์ ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2011 สุดท้ายเกเบรียลก็เอาชนะมาได้[42][43] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2011) เกเบรียลได้เข้าร่วมมันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ โดยแดเนียล ไบรอันเป็นฝ่ายคว้ากระเป๋าไปได้[44] ในสแมคดาวน์ วันที่ 20 มกราคม 2012 เกเบรียลได้เจอกับแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล โคดี โรดส์ ในนอกรอบ แต่เกเบรียลก็แพ้ไป และได้ขอรีแมตช์ ในสแมคดาวน์ วันที่ 27 มกราคม 2012 แต่ก็แพ้ไปอีกรอบ[45][46][47] ต่อมาเกเบรียลได้รับอาการบาดเจ็บที่แขนซ้ายจากการปล้ำชิงแชมป์แทกทีม 3 เส้าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28[48] จนต้องพักการปล้ำไปหลายสัปดาห์[49]

ในเอ็นเอกซ์ที วันที่ 6 มิถุนายน 2012 เกเบรียลได้กลับมาจากอาการบาดเจ็บโดยจับคู่กับไทสัน คิด เอาชนะฮีท สเลเตอร์ และจอห์นนี เคอร์ติส[50] ในโนเวย์เอาท์ (2012) เกเบรียลและไทสันได้ปล้ำแทกทีม 4 เส้าเพื่อหาทีมที่ชนะไปชิงแชมป์แทกทีมแต่ก็ไม่สำเร็จ[51] ในเฮลอินเอเซล (2012)ได้ชิงแชมป์ยูเอสกับซีซาโรแต่ไม่สำเร็จ[52] ในเอ็นเอกซ์ที วันที่ 3 กรกฎาคม 2014 เกเบรียลได้มีแมตช์กับซามี เซนแต่ก็แพ้ไป หลังแมตช์ไทสัน คิดขึ้นมากระทืบเซน จากนั้นก็ชวนเกเบรียลมากระทืบด้วยกัน ซึ่งเกเบรียลก็ลังเลนิดหน่อยก่อนจะเข้าไปร่วมวงกระทืบด้วยคน สุดท้ายเนวิลล์วิ่งออกมาช่วย[53] วันที่ 25 มกราคม 2015 ได้ลาออกจาก WWE[54][55] โดยแมตช์สุดท้ายแพ้ให้รูเซฟในเมนอีเวนต์ วันที่ 14 มกราคม 2015[56] ก่อนจะไปปล้ำอยู่สมาคมอิสระใช้ชื่อพีเจ แบล็ก[57][58]

แชมป์และรางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Darewolf - Trademark Details". Justia Trademarks. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "Justin Gabriel". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2010-12-19.
  3. "WWE News: Justin Gabriel Reveals That He Was Adam Rose's Bunny, Says The Adam Rose Gimmick Was Originally Earmarked For Him". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2015-08-29.
  4. 4.0 4.1 4.2 Caldwell, James (2010-02-16). "WWE News: Complete cast of the NXT show revealed including The Miz mentoring Bryan Danielson". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Justin Gabriel Bio". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  6. "Champions Roll Call". Florida Championship Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2012. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  7. Bishop, Matt (2010-03-02). "WWE NXT: Jericho humbles Bryan again". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  8. Bishop, Matt (2010-03-09). "WWE NXT: Rookies get over on vets". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.[ลิงก์เสีย]
  9. Bishop, Matt (2010-03-16). "WWE NXT: Another bad night for Bryan". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.[ลิงก์เสีย]
  10. Bishop, Matt (2010-03-30). "WWE NXT: Bryan laughs first, Otunga laughs last". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.
  11. Caldwell, James (2010-05-04). "Caldwell's WWE NXT TV report 5/4: Ongoing "virtual time" coverage of NXT on Syfy Week 11". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  12. Tedesco, Mike (2010-05-12). "WWE NXT Results – 5/11/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  13. Bishop, Matt (2010-06-01). "WWE NXT: Barrett wins show's first season". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-02.
  14. Plummer, Dale (2010-06-08). "RAW: Vote early, vote often; NXT takes over". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  15. Stephens, David (2010-06-14). "Raw Results – 6/14/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  16. Keller, Wade (2010-06-21). "WWE Raw results 6/21: Keller's report on the fallout from the Fatal 4-Way PPV event, Jericho puts his career on the line". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  17. Keller, Wade (2010-06-28). "WWE Raw results 6/28: Keller's ongoing report on NXT-McMahon attack fallout, Sheamus-Cena confrontation". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-06-29.
  18. Martin, Adam (2010-07-12). "Raw Results – 7/12/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
  19. Plummer, Dale (2010-08-15). "Rumored return helps Team WWE fend off Nexus at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  20. Hillhouse, Dave (2010-10-04). "Hell in a Cell: Betrayal, fan interference, and flying shoes". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  21. Sokol, Bryan (2010-10-25). "Cena central to Bragging Rights; Smackdown wins again". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  22. Sokol, Bryan (2010-10-26). "Raw: All the fallout from Bragging Rights". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.[ลิงก์เสีย]
  23. Plummer, Dale (2010-12-07). "RAW: Cena pushes Nexus, Barrett to the breaking point". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-07.
  24. Sokol, Bryan (2010-12-20). "TLC delivers highs, lows and a new champ". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  25. Plummer, Dale (2011-01-10). "RAW: CM Punk thins out the ranks". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
  26. Brown, Jim (2011-01-12). "WWE News: Smackdown spoilers 1/14 – Full results & big developments for Friday's Smackdown on Syfy". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
  27. Hillhouse, Dave (2011-01-15). "Smackdown: Rumblings of opportunities and change". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  28. Martin, Adam (2011-01-19). "Spoiler: Name of Barrett's new group revealed". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-19.
  29. Parks, Greg (2011-01-21). "Parks' WWE SmackDown Report 1/21: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including the reveal of the name of Wade Barrett's new group". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-01-21.
  30. Hillhouse, Dave (2011-02-05). "Smackdown: Edge and Del Rio avoiding collision course". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  31. Hillhouse, Dave (2011-02-19). "Smackdown: 600 birthday smacks". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-23. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  32. Hillhouse, Dave (2011-02-20). "Elimination Chamber mostly eliminates dramatic intrigue". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-02-21.
  33. Plummer, Dale (2011-02-22). "RAW: Triple H crashes Undertaker's return". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  34. Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena as The Miz retains at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ April 9, 2011.
  35. Childs, Jason (April 19, 2011). "WWE News: Smackdown SPOILERS 4/22 – Complete "virtual-time" coverage of Smackdown TV taping from London". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  36. Hillhouse, Dave (May 7, 2011). "Smackdown: Peeps have a say". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ May 13, 2011.
  37. Hillhouse, Dave (4 June 2011). "Smackdown: Christian's patience wearing thin". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012.
  38. Hillhouse, Dave (11 June 2011). "Smackdown: Factions renewed and rejected". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 23 January 2012.
  39. Hillhouse, Dave (June 18, 2011). "Smackdown: Fair is foul, and foul is fair". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  40. Hillhouse, Dave (June 25, 2011). "Smackdown: Last chance for Christian ... again". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.[ลิงก์เสีย]
  41. Tylwalk, Nick (July 8, 2011). "SmackDown: Orton, Christian and Sheamus continue their three-man weave". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  42. Hillhouse, Dave (July 15, 2011). "Smackdown: Final deposit for Money in the Bank". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.[ลิงก์เสีย]
  43. Hillhouse, Dave (July 30, 2011). "Smackdown: New Game in town". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  44. Hillhouse, Dave (July 18, 2011). "Money in the Bank: The WWE gets Punk'd". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  45. Hillhouse, Dave (January 7, 2012). "Smackdown: The champs are here". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  46. Hillhouse, Dave (January 14, 2012). "Smackdown: Who loves ya, baby?". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.[ลิงก์เสีย]
  47. Hillhouse, Dave (January 20, 2012). "Smackdown: A concept match buffet". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.[ลิงก์เสีย]
  48. Caldwell, James. "Pre-WM28 update - Tag Title result". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 1 April 2012.
  49. "Justin Gabriel injured at WrestleMania XXVIII, will be out of action several weeks".
  50. Trionfo, Richard. "WWE NXT REPORT: GABRIEL AND KIDD REUNITE; DAUGHTERS OF WWE LEGENDS MEET IN THE RING". PWInsider. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  51. Hillhouse, Dave (17 June 2012). "No Way Out: End of another era". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 9 November 2013.[ลิงก์เสีย]
  52. Caldwell, James (2012-10-28). "Caldwell's WWE Hell in a Cell PPV report 10/28: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Will WWE pull the trigger on Ryback as top champ?". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
  53. Howell, Nolan (3 July 2014). "NXT: Gabriel picks a side after Zayn match". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-11. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  54. "Report: 3-Time Tag Team Champion Quits WWE". wrestlezone.com. สืบค้นเมื่อ 25 January 2015.
  55. Johnson, Mike. "Justin Gabriel Officially Released". Pro Wrestling Insider. สืบค้นเมื่อ 25 January 2015.
  56. Howell, Nolan (14 January 2014). "Main Event: New Day falls on Rose, Kidd, & Cesaro". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  57. Martin, Adam (26 January 2015). "Name change for Justin Gabriel, booked for 1/31 indy date". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ 27 January 2015.
  58. Martin, Adam (28 July 2015). "Spoilers: 7/28 TNA taping results from Orlando". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  59. Kreikenbohm, Philip (August 10, 2016). "LEP Heavyweight Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  60. Kreikenbohm, Philip (June 28, 2015). "DWW Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  61. Kreikenbohm, Philip (September 24, 2009). "FCW Florida Heavyweight Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  62. Kreikenbohm, Philip (July 23, 2009). "FCW Florida Tag Team Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  63. Kreikenbohm, Philip (July 2, 2016). "GWF Berlin Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  64. Kreikenbohm, Philip (October 23, 2015). "GFW NEX*GEN Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  65. Kreikenbohm, Philip (October 23, 2015). "GFW NEX*GEN Championship Tournament (2015)". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  66. Kreikenbohm, Philip (January 17, 2016). "Lucha Underground Trios Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  67. Boutwell, Josh (8 February 2016). "Viva la Raza: Lucha Weekly (2/8/16)". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ 8 February 2016.
  68. "Achievement Awards: Feud of the Year". Pro Wrestling Illustrated. 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 15 January 2011.
  69. "Achievement Awards: Most Hated". Pro Wrestling Illustrated. 17 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  70. ""PWI 500": 1–100". Pro Wrestling Illustrated. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  71. 71.0 71.1 Kreikenbohm, Philip (August 10, 2018). "WWEDM Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  72. Kreikenbohm, Philip (October 27, 2019). "SFA World Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  73. Kreikenbohm, Philip (February 5, 2017). "SWE Tag Team Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  74. Kreikenbohm, Philip (July 27, 2015). "TNA King of the Mountain Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  75. "History of the WWE Tag Team Championship: Justin Gabriel & Heath Slater". World Wrestling Entertainment. 25 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 26 October 2010.
  76. "History of the WWE Tag Team Championship: Justin Gabriel & Heath Slater (2)". World Wrestling Entertainment. 20 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
  77. "History of the WWE Tag Team Championship: Justin Gabriel & Heath Slater (3)". World Wrestling Entertainment. 21 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 February 2011.
  78. Kreikenbohm, Philip (October 25, 2010). "WWE Tag Team Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  79. "WWE News: Full list of 2010 Slammy Awards – 12 announced on Raw, 10 announced on WWE's website". Pro Wrestling Torch. 13 December 2010. สืบค้นเมื่อ 17 December 2010.
  80. Kreikenbohm, Philip (November 1, 2007). "WWP World Cruiserweight Championship". Cagematch - The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]