แมนเชสเตอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แมนเชสเตอร์ Manchester | |
---|---|
นคร และโบโรมหานคร | |
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองจากระยะไกล, บีดัมทาวเวอร์, ศาลแพ่งแมนเชสเตอร์, โรงแรมมิดแลนด์, วันแอนเจิลสแควร์, ศาลาว่าการเมืองแมนเชสเตอร์ | |
สมญา: "คอตโตนอโพลิส", "แวร์เฮาส์ ซิตี", แมดเชสเตอร์, "เดอะ เรนนี ซิตี" | |
คำขวัญ: "Concilio Et Labore" "ด้วยปัญญาและอุตสาหะ" | |
แผนที่แสดงตำแหน่งของแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ | |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
แคว้น | อังกฤษ |
ภาค | นอร์ทเวสต์อิงแลนด์ |
เทศมณฑลทางพิธีการ | เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ |
ก่อตั้ง | คริสต์ศตวรรษที่ 1 |
ได้สถานะเมือง | ค.ศ. 1301 |
ได้สถานะนคร | 29 มีนาคม ค.ศ. 1853 |
การปกครอง | |
• สภาปกครอง | สภานครแมนเชสเตอร์ |
พื้นที่ | |
• นคร | 44.7 ตร.กม. (17.3 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 243.4 ตร.กม. (94.0 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 38 เมตร (125 ฟุต) |
ประชากร (กลางปี ค.ศ. 2016) | |
• นคร | 541,300 คน |
• ความหนาแน่น | 12,000 คน/ตร.กม. (31,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 2,553,379 คน |
• รวมปริมณฑล | 2,794,000 คน |
• เชื้อชาติ |
|
เดมะนิม | แมนคูเนียน (Mancunian) |
เขตเวลา | เวลามาตรฐานกรีนิช |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC 1 (เวลาฤดูร้อนบริเตน) |
เขตรหัสไปรษณีย์ | M, WA (บางส่วน) |
เขตรหัสโทรศัพท์ | 0161 |
รหัส ISO 3166 | GB-MAN |
เว็บไซต์ | manchester.gov.uk |
แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: Manchester, )[1] เป็นนครและโบโรมหานคร ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีประชากรในปี ค.ศ. 2013 จำนวน 514,417 คน[2] ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมากถึง 2.55 ล้านคน[3] แมนเชสเตอร์ติดต่อกับที่ราบเชชเชอร์ทางทิศใต้ ติดต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ตัวเมืองของแมนเชสเตอร์นั้นมีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยมีสภานครแมนเชสเตอร์ เป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น
บันทึกประวัติศาสตร์ของแมนเชสเตอร์เริ่มต้นจากการตั้งถิ่นฐานและการก่อสร้างป้อมปราการในยุคโรมัน ชื่อว่า มามูคิอุม หรือ แมนคูเนียม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 79 ปีหลังคริสตกาล บริเวณเนินเขาใกล้จุดบรรจบของแม่น้ำเมดล็อกกับแม่น้ำเออร์เวลล์ ซึ่งอยู่ในเทศมณฑลแลงคาเชอร์ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางตอนใต้ของแม่น้ำเมอร์ซีย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเชสเชียร์ในช่วงศตวรรษที่ 20[4] ตลอดเวลาในยุคกลาง แมนเชสเตอร์ยังคงเป็นเมืองแมนเนอร์เล็ก ๆ แต่เริ่มขยายตัวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์เมื่อราวย่างเข้าศตวรรษที่ 19 ความเจริญรุ่งเรืองจากการผลิตสิ่งทอในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการพัฒนาของเมืองอย่างรวดเร็ว[5] และส่งผลให้แมนเชสเตอร์กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก[6]
แมนเชสเตอร์ได้รับฐานะนครเมื่อปี ค.ศ. 1853 ซึ่งเป็นนครของอังกฤษแห่งในรอบสามร้อยปี คลองเดินเรือสมุทรแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นคลองเดินเรือที่ยาวที่สุดในโลกในขณะนั้น เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1894 ทำให้มีท่าเรือแมนเชสเตอร์ เชื่อมต่อเมืองไปยังทะเลเป็นระยะทาง 36 ไมล์ (58 กิโลเมตร) ไปทางทิศตะวันตก ความเจริญมั่งคั่งได้ซบเซาลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการเลิกสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต (en:deindustrialisation) แต่การลงทุนได้กลับมาเริ่มต้นจากเหตุระเบิดในแมนเชสเตอร์ ค.ศ. 1996 ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูเมืองครั้งใหญ่
ในปี ค.ศ. 2014 เครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครโลก (en:Globalization and World Cities Research Network) ได้จัดแมนเชสเตอร์เป็นนครโลกระดับบีตา และทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ หากไม่นับลอนดอน[7] แมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนมากที่สุดอันดับสามในสหราชอาณาจักร รองจากลอนดอน และเอดินบะระ[8] และได้การยอมรับจากหลายฝ่ายว่าเป็นเมืองรองของสหราชอาณาจักร[9][10] แมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงจากการกีฬา ขนส่ง ดนตรี ธุรกิจขนาดใหญ่ ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม สื่อ และอุตสาหกรรม มีสถานีรถไฟแมนเชสเตอร์ลิเวอร์พูลโรดเป็นสถานีรถไฟขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองแห่งแรกของโลก และมีนักวิทยาศาสตร์ในเมืองที่แยกอะตอมได้เป็นครั้งแรก และพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (en:Manchester Small-Scale Experimental Machine) เครื่องแรกของโลก
ชื่อเมือง
[แก้]ชื่อแมนเชสเตอร์มาจากชื่อในภาษาละติน คือ Mamucium หรือ Mancunium ซึ่งยังคงเป็นคำที่ใช้เรียกชาวเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ คือ แมนคูเนียน (Mancunians, /mæŋkˈjuːnɪənz/) มีการสันนิษฐานว่าเป็นการถอดคำเดิมในภาษาไบรโตนิกเป็นอักษรละติน ซึ่งอาจมาจากคำว่า mamm- ("เต้านม" หมายถึง "เนินรูปเต้านม") หรืออาจมาจากคำว่า mamma ("แม่" หมายถึง เทพธิดาแห่งแม่น้ำเมดล็อก) โดยความหมายทั้งสองปรากฏในภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาไบรโตนิก นั่นคือ คำว่า mam หมายถึง "เต้านม" ในภาษาไอริช และหมายถึง "แม่" ในภาษาเวลส์[11] และมีการเติมคำปัจจัย -chester ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า คือ ceaster ("ป้อมปราการ; เมืองที่มีกำแพงป้องกัน")[12]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้น
[แก้]แมนเชสเตอร์ไม่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก มีเพียงการค้นพบชุมชนกสิกรรมขนาดใหญ่ระหว่างการก่อสร้างลานวิ่งที่สองของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์[13]
มีการตั้งรกรากในแมนเชสเตอร์แล้วในยุคโรมันเป็นอย่างช้า[14] นายพลโรมัน ไนอุส ยูลิอุส อากริโคลา (Gnaeus Julius Agricola) ได้ก่อสร้างป้อมที่มีชื่อว่า มามูคิอุม ราว 70 ปีหลังคริสตกาล ที่บริเวณเนินเขา ซึ่งแม่น้ำเมดลอกและแม่น้ำเออร์เวลล์ มาบรรจบกัน ฐานของป้อมรุ่นสุดท้ายยังคงปรากฏอยู่ที่คาสเซิลฟิลด์ ชาวโรมันถอนตัวออกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 และการตั้งถิ่นฐานได้ย้ายไปยังจุดที่แม่น้ำเออร์เวลล์และแม่น้ำเอิร์กบรรจบกันตั้งแต่ก่อนชัยชนะของชาวนอร์แมนที่อังกฤษในปีพ.ศ. 1609[15]
โทมัส เดอลาแวร์ เจ้าคฤหาสน์ ได้ก่อตั้งโบสถ์ของวิทยาลัยขึ้นสำหรับตำบลในปีพ.ศ. 1964 โดยปัจจุบันเป็นมหาวิหารแมนเชสเตอร์ และสถานที่วิทยาลัยได้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเชแทมและโรงเรียนดนตรีเชเทม[13][15]
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 แมนเชสเตอร์มีช่างทอผ้าชาวฟลามส์ไหลบ่ามาจำนวนมาก โดยมักถือว่าเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอในภูมิภาค[16] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของการผลิตและค้าขายขนแกะและลินิน
เริ่มมีการใช้ฝ้ายปริมาณมากในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มต้นที่ผ้าฝ้ายผสมลินินเนื้อหยาบ แต่เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ก็เริ่มมีการผลิตและก็ได้เป็นวัสดุสำคัญแทนที่ขนสัตว์[15] แม่น้ำเออร์เวลล์และเมอร์ซีย์สามารถแล่นเรือผ่านได้ในปี พ.ศ. 2279 เปิดเส้นทางจากแมนเชสเตอร์ไปยังท่าเรือนฝั่งเมอร์ซีย์ คลองบริดจ์วอเทอร์ (Bridgewater canal) เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2304 นำถ่านหินจากเหมืองที่เวอร์สลีย์มายังใจกลางแมนเชสเตอร์ คลองนี้ขยายต่อไปยังเมอร์ซีย์ในปีพ.ศ. 2319 การแข่งขันและประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถ่านหินและค่าขนส่งฝ้ายดิบลดลงถึงครึ่งหนึ่ง[15][13] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นตลาดสำคัญของสิ่งทอจากเมืองรอบๆ[15] ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า เปิดขึ้นในปีพ.ศ. 2272[17] และคลังสินค้าจำนวนมาก ช่วยพัฒนาการพานิชย์ของเมือง ในปีพ.ศ. 2323 ริชาร์ด อาร์กไรท์ (Richard Arkwright) เริ่มก่อสร้างโรงฝ้ายแห่งแรกของแมนเชสเตอร์[13][17]
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
[แก้]การปั่นฝ้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่แลงคาเชอร์ใต้และเชสเชอร์เหนือ เขตรอบนอกของแมนเชสเตอร์ และในช่วงหนึ่งแมนเชสเตอร์ได้เป็นศูนย์กลางการผลิตฝ้ายที่มีการผลิตมากที่สุด[18] และในเวลาต่อมา เป็นตลาดสินค้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก[15][19] แมนเชสเตอร์มีฉายาว่า "คอตตอโนโพลิส" และ "แวร์เฮาส์ซิตี" ในยุควิกตอเรีย[18]
แมนเชสเตอร์พัฒนาอุตสาหกรรมในหลากหลายสาขา ทำให้ได้รับยกย่องว่า ในปี พ.ศ. 2378 "แมนเชสเตอร์เป็นเมืองอุตสาหกรรมแรกและที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่มีข้อสงสัย"[19] ธุรกิจทางวิศวกรรมเริ่มแรกเกี่ยวข้องกับการค้าฝ้าย แต่ภายหลังขยายไปยังการผลิตทั่วไป อุตสาหกรรมเคมีก็เริ่มต้นจากการผลิตน้ำยาฟอกสีและย้อมสี และจึงขยายไปยังสาขาอื่น การค้าขายได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจการเงิน เช่น การธนาคารและการประกันภัย การค้าขายและประชากรที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีระบบขนส่งและจัดจำหน่าย ทำให้มีการขยายระบบคลอง และแมนเชสเตอร์กลายมาเป็นเมืองปลายทางหนึ่งในทางรถไฟโดยสารระหว่างเมืองสายแรกของโลก นั่นคือทางรถไฟลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ การแข่งขันระหว่างการขนส่งหลากหลายรูปแบบทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำ[15] ในปีพ.ศ. 2421 จีพีโอ หรือสำนักงานไปรษณีย์ ให้บริการโทรศัพท์ครั้งแรกกับบริษัทในแมนเชสเตอร์[20]
มีการขุดคลอง แมนเชสเตอร์ ชิป เคอนาล (Manchester Ship Canal) ช่วยให้เรือจากมหาสมุทรตรงเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์ได้ โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นบนชายฝั่งคลองนี้ที่แทรฟฟอร์ดพาร์ก[15] ในฐานะศูนย์กลางของระบอบทุนนิยม ก็ได้มีการจลาจลจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน แมนเชสเตอร์เป็นหัวข้อศึกษาในเรื่อง ความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ (Die Lage derarbeitenden Klasse in England) ของฟรีดริช เองเงิลส์ โดยเองเงิลส์ได้ใช้เวลาพอสมควรในและรอบๆแมนเชสเตอร์[21] จำนวนโรงปั่นฝ้ายในแมนเชสเตอร์ขึ้นถึงจุดสูงสุด 108 แห่งในปีพ.ศ. 2396[18] ในปีพ.ศ. 2456 ร้อยละ 65 ของฝ้ายในโลกผลิตขึ้นในบริเวณนี้ แต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งลดโอกาสการส่งออกในเวลาต่อมา[15]
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]บริเวณแมนเชสเตอร์มีการระดมกำลังอย่างหนัก เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แมนเชสเตอร์เป็นเป้าหมายหลักแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศเยอรมนี และการโจมตีทางอากาศได้ขยายไปยังเป้าหมายพลเรือนด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์กลางเมืองถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 376 คนและบ้านถึง 30,000 หลัง[22] มหาวิหารแมนเชสเตอร์เป็นที่หนึ่งที่โดนโจมตีอย่างหนัก โดยต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึง 20 ปี[23]
หลังจากสงครามสงบลง อุตสาหกรรมและการค้าฝ้ายยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และตลาดแลกเปลี่ยนได้ปิดตัวลงในพ.ศ. 2511[15] ในปีพ.ศ. 2506 ท่าเรือแมนเชสเตอร์เป็นท่าเรืออันดับสามของประเทศ[24] มีการจ้างงานกว่า 3,000 คน แต่คลองไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ได้ การจราจรจึงลดลง และท่าเรือต้องปิดในปีพ.ศ. 2525[25] อุตสาหกรรมหนักซบเซาลงตั้งแต่ช่วงหลังปีพ.ศ. 2500 และลดจำนวนลงอย่างมากหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัฐบาลของมาร์กาเรต แทตเชอร์ (ตั้งแต่พ.ศ. 2522) แมนเชสเตอร์มีงานน้อยลงถึง 150,000 งานระหว่างปีพ.ศ. 2504 และ 2526[15]
การฟื้นฟูเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 โดยมีสิ่งใหม่ๆเช่น เมโทรลิงก์ บริดจ์วอเทอร์คอนเสิร์ตฮอลล์ และแมนเชสเตอร์อีฟนิงนิวส์อารีนา การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มชื่อเสียงในต่างประเทศ[26]
เหตุการณ์ระเบิด
[แก้]วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2540 กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไออาร์เอ หรือพีไออาร์เอ) วางระเบิดขนาดใหญ่ใกล้ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 คน สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่อาคารโดยรอบ มีการจ่ายเงินประกันภัยสูงถึงกว่าสี่ร้อยล้านปอนด์[27]
จากการลงทุนหลังเหตุระเบิดและคอมมอนเวลท์เกมส์ครั้งที่ 17 ศูนย์กลางของเมืองแมนเชสเตอร์ได้มีการปฏิรูปหลายสิ่ง[26] มีหลายแห่งที่สร้างขึ้นหรือปรับปรุงใหม่ และได้กลายมาเป็นแหล่งชอปปิ้งและบันเทิงยอดนิยม แมนเชสเตอร์แอมเดลเป็นศูนย์การค้ากลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร[28]
การปกครอง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์
[แก้]แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แมนเชสเตอร์ (วิธีอ่าน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
แมนเชสเตอร์ตั้งอยู่ที่พิกัด 53°28′0″N 2°14′0″W / 53.46667°N 2.23333°W ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระยะทาง 160 ไมล์ (260 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ในพื้นที่แอ่งกระทะติดต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นเทือกเขาที่พาดตัวไปตามนอร์ทเทิร์นอิงแลนด์ และติตด่อกับที่ราบเชสเชอร์ทางทิศใต้ แมนเชสเตอร์อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลิเวอร์พูล 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) และอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเชฟฟีลด์ 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) ทำให้นครแห่งนี้อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองนคร ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแมน้ำเออร์เวลล์ ใกล้จุดบรรจบกับแม่น้ำเมดล็อกและแม่น้ำเอิร์ก และอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ คือ อยู่ระหว่าง 35 เมตร ถึง 42 เมตร (115 ฟุต ถึง 138 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล[29] แม่น้ำเมอร์ซีย์ไหลผ่านทางใต้ของแมนเชสเตอร์ ส่วนมากของเมืองชั้นใน โดยเฉพาะทางใต้ที่เป็นที่ราบ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเชิงเขาและทุ่งโล่งของเทือกเขาเพนไนนส์จากตึกสูงหลายที่ในเมือง ซึ่งมักจะปกคลุมด้วยหิมะในฤดูหนาว ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแมนเชสเตอร์มีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก ซึ่งก็คือสภาพอากาศ ความใกล้ชิดกับท่าเรือทะเลของลิเวอร์พูล การใช้พลังงานจากแม่น้ำ และแหล่งสำรองถ่านหินที่อยูใกล้เคียง[30]
ข้อมูลภูมิอากาศของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ค่าระดับ: 69 m หรือ 226 ft (1981-2010) extremes (1958-2004) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 14.3 (57.7) |
16.5 (61.7) |
21.7 (71.1) |
25.1 (77.2) |
26.7 (80.1) |
31.3 (88.3) |
32.2 (90) |
33.7 (92.7) |
28.4 (83.1) |
25.6 (78.1) |
17.7 (63.9) |
15.1 (59.2) |
33.7 (92.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 7.3 (45.1) |
7.6 (45.7) |
10.0 (50) |
12.6 (54.7) |
16.1 (61) |
18.6 (65.5) |
20.6 (69.1) |
20.3 (68.5) |
17.6 (63.7) |
13.9 (57) |
10.0 (50) |
7.4 (45.3) |
13.5 (56.3) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 4.5 (40.1) |
4.6 (40.3) |
6.7 (44.1) |
8.8 (47.8) |
11.9 (53.4) |
14.6 (58.3) |
16.6 (61.9) |
16.4 (61.5) |
14.0 (57.2) |
10.7 (51.3) |
7.1 (44.8) |
4.6 (40.3) |
10.0 (50) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.7 (35.1) |
1.6 (34.9) |
3.3 (37.9) |
4.9 (40.8) |
7.7 (45.9) |
10.5 (50.9) |
12.6 (54.7) |
12.4 (54.3) |
10.3 (50.5) |
7.4 (45.3) |
4.2 (39.6) |
1.8 (35.2) |
6.6 (43.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -12.0 (10.4) |
-13.1 (8.4) |
-9.7 (14.5) |
-4.9 (23.2) |
-1.7 (28.9) |
0.8 (33.4) |
5.4 (41.7) |
3.6 (38.5) |
0.8 (33.4) |
-4.7 (23.5) |
-7.5 (18.5) |
-13.5 (7.7) |
−13.5 (7.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 72.3 (2.846) |
51.4 (2.024) |
61.2 (2.409) |
54.0 (2.126) |
56.8 (2.236) |
66.1 (2.602) |
63.9 (2.516) |
77.0 (3.031) |
71.5 (2.815) |
92.5 (3.642) |
81.5 (3.209) |
80.7 (3.177) |
828.8 (32.63) |
ความชื้นร้อยละ | 87 | 86 | 85 | 85 | 85 | 87 | 88 | 89 | 89 | 89 | 88 | 87 | 88 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 13.1 | 9.7 | 12.3 | 11.2 | 10.4 | 11.1 | 10.9 | 12.0 | 11.1 | 13.6 | 14.1 | 13.5 | 142.9 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 6 | 5 | 3 | 2 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 | 3 | 20 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 52.5 | 73.9 | 99.0 | 146.9 | 188.3 | 172.5 | 179.7 | 166.3 | 131.2 | 99.3 | 59.5 | 47.1 | 1,416.2 |
แหล่งที่มา 1: Met Office[31] NOAA (relative humidity and snow days 1961-1990)[32] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: KNMI[33] |
ประชากรศาสตร์
[แก้]เปรียบเทียบข้อมูลประชากร[34][35] | |||
---|---|---|---|
สำมะโนประชากร 2544 | แมนเชสเตอร์ | มหานครแมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) |
อังกฤษ |
ประชากรทั้งหมด | 441,200 | 2,547,700 | 49,138,831 |
เกิดในต่างประเทศ | 15.0% | 7.2% | 9.2% |
ผิวขาว | 81.0% | 91.0% | 91.0% |
เอเชีย | 9.1% | 5.7% | 4.6% |
ผิวดำ | 4.5% | 1.2% | 2.3% |
อายุ 75 ปีขึ้นไป | 6.4% | 7.0% | 7.5% |
คริสต์ | 62.4% | 74% | 72% |
มุสลิม | 9.1% | 5.0% | 3.1% |
จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีพ.ศ. 2544 แมนเชสเตอร์มีประชากร 392,819 คน ลดลงจากปีพ.ศ. 2534 9.2 เปอร์เซนต์ ในจำนวนนี้ ประมาณ 8.3 หมื่นคนอายุต่ำกว่า 16 ปี 2.85 แสนคนอายุระหว่าง 16-74 ปี และ 2.5 หมื่นคนอายุ 75 ปีขึ้นไป[36]
75.9 เปอร์เซนต์ของประชากรแมนเชสเตอร์ระบุว่าตนเกิดในสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีอัตราการจ้างงานต่อประชากรต่ำเป็นลำดับสองของสหราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่า มีประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวนมาก[36] จากการประมาณการกลางปี พ.ศ. 2549 แมนเชสเตอร์มีประชากรประมาณ 4.52 แสนคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือ[37] ในประวัติศาสตร์ ประชากรของแมนเชสเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงยุควิกตอเรีย โดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 766,311 ในปีพ.ศ. 2474 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น[38]
เศรษฐกิจ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานที่สำคัญ
[แก้]ตึกและอาคารของแมนเชสเตอร์มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่รูปแบบวิกตอเรีย ไปจนถึงรูปแบบร่วมสมัย การใช้อิฐแดงอย่างแพร่หลายทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของเมือง ซึ่งสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เกิดจากสมัยที่แมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางการค้าฝ้ายที่สำคัญของโลก[13]
บริเวณนอกใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์ มีอดีตโรงงานผลิตฝ้ายจำนวนมากซึ่งบางแห่งถูกทิ้งร้างนับตั้งแต่ปิดตัวลง ในขณะที่หลายแห่งได้รับการปรับปรุงใหม่กลายเป็นอพาร์ตเมนต์และสำนักงาน
ศาลาว่าการแมนเชสเตอร์ในจัตุรัสอัลเบิร์ตถูกสร้างขึ้นในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก และถูกมองว่าเป็นอาคารรูปแบบวิกตอเรียที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ[39]
แมนเชสเตอร์มีตึกระฟ้าจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 ซึ่งตึกที่สูงที่สุดในปัจจุบัน คือ Deansgate Square South Tower มีความสูง 201 เมตร
การขนส่ง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
[แก้]แมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงมากในเรื่องชีวิตกลางคืน วัฒนธรรมคลับดีเจสมัยใหม่เริ่มขึ้นที่เมืองนี้ และคลับที่นี่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ การเริ่มต้นของดนตรีเฮาส์ แมดเชสเตอร์ซาวนด์ (Madchester sound) และดนตรีแนว Ibiza
ในเมืองมีโรงละคร ศูนย์แสดงงานศิลปะ และพิพิธภัณฑ์จำนวนมาก
ยกเว้นลอนดอนแล้ว แมนเชสเตอร์มีประชากรเกย์และเลสเบี้ยนมากที่สุดในประเทศ
ดนตรี
[แก้]แมนเชสเตอร์เป็นต้นกำเนิดของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น นิวออร์เดอร์, เดอะสมิธส์, เดอะเคมิคอลบราเทอร์ส, เอ็มพีเพิล, แบดลีดรอนบอย, โอเอซิส, เอลโบว์, ซิมพลีเรด, เทกแดต และ เดอะสโตนโรสเซส
การศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
[แก้]แมนเชสเตอร์ เป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองกีฬา มีสโมสรพรีเมียร์ลีก 2 สโมสรที่ใช้ชื่อเมืองในชื่อของสโมสร คือ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยแมนเชสเตอร์ซิตีมีสนามเหย้าคือ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ จุคนได้เกือบ 48,000 คน ส่วนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสนามเหย้าคือ โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร จุคนได้ 74,140 คน ถือเป็นสนามกีฬาในอังกฤษแห่งเดียวที่เคยได้จัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2003 และยังเป็นสนามที่จัดซูเปอร์ลีกแกรนด์ไฟนอลของรักบี้ลีก สโมสรคริกเกตแลนคาเชียร์เคาน์ตี ก็ใช้สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดเป็นกีฬาเหย้าเช่นกัน[40]
สื่อ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]- อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 2007)
- ไอดึน ประเทศตุรกี
- บิลวี ประเทศนิการากัว
- เค็มนิทซ์ ประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1983)[41]
- กอร์โดบา ประเทศสเปน
- ไฟซาลาบาด ประเทศปากีสถาน (ค.ศ. 1997)
- ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 2009)
- เรโควอต ประเทศอิสราเอล
- เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย (ค.ศ. 1962)[42]
- อู่ฮั่น ประเทศจีน (ค.ศ. 1986)
- เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
แมนเชสเตอร์เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลที่มากที่สุดในสหราชอาณาจักรนอกกรุงลอนดอน การขยายตัวของการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่การเปิดสถานกงสุลแห่งแรกในทศวรรษที่ 1820 และตั้งแต่นั้นมามีกงสุลมากกว่า 800 คนจากทั่วทุกมุมโลกได้ประจำอยู่ในแมนเชสเตอร์ โดยแมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่ให้บริการกงสุลในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอังกฤษ[43]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Oxford Dictionaries. "Manchester เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Oxford University Press, 2013. Accessed 27 August 2013.
- ↑ "UK population estimates". Office for National Statistics. 26 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-10. สืบค้นเมื่อ 9 August 2014.
- ↑ "2011 Census – Built-up areas". ONS. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ The first to be included, Wythenshawe, was added to the city in 1931.
- ↑ Aspin, Chris (1981). The Cotton Industry. Shire Publications Ltd. p. 3. ISBN 0-85263-545-1.
- ↑ Kidd, Alan (2006). Manchester: A History. Lancaster: Carnegie Publishing. ISBN 1-85936-128-5.
• Frangopulo, Nicholas (1977). Tradition in Action. The historical evolution of the Greater Manchester County. Wakefield: EP Publishing. ISBN 0-7158-1203-3.
• "Manchester – the first industrial city". Entry on Sciencemuseum website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 17 March 2012. - ↑ "The World According to GaWC 2012". Globalization and World Cities Research Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-20. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.
- ↑ "BBC NEWS – London visited by 50% of UK's tourists". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 21 May 2013.
- ↑ "Manchester 'England's second city'", BBC, 12 กันยายน ค.ศ. 2002, เรียกดู 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2006.
- ↑ "Manchester 'close to second city'", BBC, 29 กันยายน ค.ศ. 2005, เรียกดู 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2006.
- ↑ The Antiquaries Journal (ISSN 0003-5815) 2004, vol. 84, pp. 353–357
- ↑ Mills, A.D. (2003). A Dictionary of British Place-Names. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-852758-6. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Hartwell, Clare (2001). Pevsner Architectural Guides: Manchester. London: Penguin Books. pp. 11–17, 155, 256, 267–268. ISBN 0-14-071131-7.
- ↑ Rogers, Nicholas (2003). Halloween: from Pagan Ritual to Party Night. Oxford University Press. p. 18. ISBN 0195168968.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 Kidd, Alan (2006). Manchester: A History. Lancaster, Lancashire: Carnegie Publishing Ltd. pp. 12, 15–24, 224. ISBN 1859361285. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-27. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ Pevsner, Nikolaus (1969). Lancashire, The Industrial and Commercial South. London, England: Penguin Books Ltd. p. 265. ISBN 0-14-071036-1.
- ↑ 17.0 17.1 Hylton, Stuart (2003). A History of Manchester. Phillimore & Co Ltd. pp. 1–10, 22, 25, 42, 63–67, 69. ISBN 1860772404. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 McNeil, R. & Nevell, M (2000). A Guide to the Industrial Archaeology of Greater Manchester. Association for Industrial Archaeology. ISBN 0-9528930-3-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 19.0 19.1 Hall, Peter (1998). "The first industrial city: Manchester 1760-1830". Cities in Civilization. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-84219-6.
- ↑ "Events in Telecommunications History". BT Archives. 1878. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
- ↑ "Marx-Engels Internet Archive – Biography of Engels" (ภาษาอังกฤษ). Marx/Engels Biography Archive. 1893. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- ↑ Hardy, Clive (2005). "The blitz". Manchester at War (ภาษาอังกฤษ) ((2nd edition) ed.). First Edition. pp. 75–99. ISBN 1-84547-096-6.
- ↑ "Manchester Cathedral – Historical Timeline" (ภาษาอังกฤษ). Manchester Cathedral Online. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- ↑
• Pevsner, Nikolaus (1969). Lancashire, The Industrial and Commercial South (ภาษาอังกฤษ). London, England: Penguin Books Ltd. p. 267. ISBN 0140710361. Parkinson-Bailey, John J (2000). Manchester: an Architectural History (ภาษาอังกฤษ). Manchester: Manchester University Press. p. 127. ISBN 0719056063. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-27. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21. - ↑ "Manchester Ship Canal and The Docks" (ภาษาอังกฤษ). Salford City Council. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-06.
- ↑ 26.0 26.1 Hartwell, Clare (2001). Pevsner Architectural Guides: Manchester. London: Penguin Books. ISBN 0-14-071131-7.
Parkinson-Bailey, John J (2000). Manchester: an Architectural History. Manchester: Manchester University Press. ISBN 0-7190-5606-3.
Hartwell, Clare; Hyde, Matthew; Pevsner, Nikolaus (2004). Lancashire: Manchester and the South-East. New Haven & London: Yale University Press. ISBN 0-300-10583-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2012. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013. - ↑ "Panorama – The cost of terrorism" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-07-09.
- ↑ "Manchester Arndale – UK's largest in-town shopping centre" (ภาษาอังกฤษ). Prudential plc. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-09-06.
- ↑ Kidd, Alan (2006). Manchester: A History. Lancaster: Carnegie Publishing. p. 11. ISBN 1-85936-128-5.
- ↑ "The Manchester Coalfields" (PDF). Museum of Science and Industry in Manchester. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
- ↑ "Manchester 1981-2010 Averages". Met Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
- ↑ "Manchester Ringway 1961-1990". NOAA. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
- ↑ "Manchester ringway extreme values". KNMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
- ↑ United Kingdom Census 2001 (2007-01-17). "2001 Census; Key facts sheets". manchester.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ United Kingdom Census 2001 (2001). "Manchester (Local Authority)". neighbourhood.statistics.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 36.0 36.1 "Manchester profile of 2001 census". Office for National Statistics. 2003. สืบค้นเมื่อ 2006-10-25.
- ↑ "Mid-year estimates for 2006". Office of National Statistics. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
- ↑ Shapely, Peter (March 2002). "The press and the system built developments of inner-city Manchester" (PDF). Manchester Region History Review. Manchester: Manchester Centre for Regional History. 16: 30–39. ISSN 0952-4320. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2007-11-22.
- ↑ Robinson, John Martin (1986). The Architecture of Northern England. Macmillan. p. 153. ISBN 9780333373965.
- ↑ "Football fever". Visit Manchester web pages. Visit Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 6 October 2008.
• "Sporting heritage". Visit Manchester web pages. Visit Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-17. สืบค้นเมื่อ 6 October 2008. - ↑ ในสมัยที่มีการตกลงเป็นเมืองแฝด เมืองนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันออกและใช้ชื่อว่าคาร์ลมาร์กซ์สตัดท์ (Karl-Marx-Stadt)
- ↑ ในสมัยที่มีการตกลงเป็นเมืองแฝด เมืองนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตและใช้ชื่อว่าเลนินกราด (Leningrad)
- ↑ Fox, David (2007). Manchester Consuls. Lancaster: Carnegie Publishing. pp. vii–ix. ISBN 978-1-85936-155-9.
"Manchester Consular Association". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019.
"List of Consulates, Consulate Generals and High Commissioners". MCA (subsidiary of Sheffield University). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2013. สืบค้นเมื่อ 5 January 2007.