ข้ามไปเนื้อหา

Ixodidae

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ixodidae
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cretaceous–present
Ixodes ricinus (engorged)
Ixodes ricinus (ดูดเลือดจนอิ่ม)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Arthropoda
ไฟลัมย่อย: เชลิเซอราตา
Chelicerata
ชั้น: แมง
Arachnida
ชั้นย่อย: Acari
Acari
อันดับ: Ixodida
Ixodida
วงศ์ใหญ่: Ixodoidea
Ixodoidea
วงศ์: Ixodidae
Ixodidae
C. L. Koch, 1844

Ixodidae เป็นวงศ์ของเห็บแข็ง (hard tick)[1] ซึ่งเป็นหนึ่งในสามวงศ์ของเห็บ ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 700 สปีชีส์ เห็บในวงศ์นี้มีแผ่นสคูเทลลัม (scutellum) ที่หลัง ซึ่งเห็บวงศ์ Argasidae (เห็บอ่อน) ไม่มี เห็บแข็งเป็นปรสิตภายนอกของโฮสต์หลายสปีชีส์ บางชนิดเป็นพาหะนำเชื้อก่อโรคในมนุษย์

ลักษณะ

[แก้]

เห็บในวงศ์นี้ต่างจากเห็บในวงศ์ Argasidae เนื่องจากมีสคูเทลลัม[2] ระยะตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัยมีคาปิตูลัม (capitulum/gnathosoma) ซึ่งประกอบเป็นส่วนปากของเห็บ ชี้มาทางด้านหน้าของลำตัว แต่เห็บในวงศ์ Argasidae มีคาปิตูลัมซ่อนอยู่ใต้ลำตัว

นอกจากนี้เห็บในวงศ์ Ixodidae ยังยังแตกต่างในด้านวงจรชีวิต โดยจะเกาะติดบนตัวโฮสต์และกัดโดยที่โฮสต์มักไม่รู้สึกตัว และจะดูดเลือดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอ้วนพี (engorged) และพร้อมเปลี่ยนตำแหน่งบนผิวหนังของโฮสต์ กระบวนการนี้อาจกินเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ บางชนิดหลุดจากตัวโฮสต์เพื่อไปลอกคราบในที่ปลอดภัย บางชนิดยังคงเกาะอยู่บนโอสต์ตัวเดิมและจะหลุดจากโฮสต์เมื่อพร้อมวางไข่

การจัดจำแนก

[แก้]

ประกอบด้วย 702 สปีชีส์ใน 17 สกุล[3] รายชื่อสกุลมีดังต่อไปนี้:[3]

สกุลที่พบจากซอลซิล

[แก้]

ความสำคัญทางการแพทย์

[แก้]

เห็บแข็งหลายชนิดมีความสำคัญทางการแพทย์เนื่องจากเป็นพาหะของโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย โปรโตซัว และไวรัส เช่น Rickettsia และ Borrelia[2] น้ำลายของเห็บเพศเมียเป็นพิษและทำให้เกิดอาการอ่อนแรงแบบเป็นจากปลายมาหาต้น (ascending paralysis) ในสัตว์และมนุษย์ เรียกว่า อัมพาตจากเห็บ (tick paralysis) เห็บที่มักเป็นสาเหตุของอัมพาตจากเห็บได้แก่ Dermacentor andersoni, Dermacentor occidentalis, Dermacentor variabilis, และ Ixodes holocyclus[4]

โรคอื่นที่นำโดยเห็บมีดังเช่น โรคไลม์ โรคติดเชื้อบาบีเซีย โรคติดเชื้อเออร์ลิเชีย โรคติดเชื้ออนาพลาสมา ไข้กระต่าย[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ixodidae". NCBI taxonomy (ภาษาอังกฤษ). Bethesda, MD: National Center for Biotechnology Information. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017. Lineage( full ) cellular organisms; Eukaryota; Opisthokonta; Metazoa; Eumetazoa; Bilateria; Protostomia; Ecdysozoa; Panarthropoda; Arthropoda; Chelicerata; Arachnida; Acari; Parasitiformes; Ixodida; Ixodoidea
  2. 2.0 2.1 D. H. Molyneux (1993). "Vectors". ใน Francis E. G. Cox (บ.ก.). Modern parasitology: a textbook of parasitology (2nd ed.). Wiley-Blackwell. pp. 53–74. ISBN 978-0-632-02585-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-06.
  3. 3.0 3.1 Alberto A. Guglielmone; Richard G. Robbing; Dmitry A. Apanaskevich; Trevor N. Petney; Agustín Estrada-Peña; Ivan G. Horak; Renfu Shao; Stephen C. Barker (2010). "The Argasidae, Ixodidae and Nuttalliellidae (Acari: Ixodida) of the world: a list of valid species names" (PDF). Zootaxa. 2528: 1–28. doi:10.11646/zootaxa.2528.1.1. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2015-06-28.
  4. Sirois, Margi (2015). Laboratory Procedures for Veterinary Technicians. St. Louis, MO: Elsevier.
  5. "CDC - Tick-Borne Diseases - NIOSH Workplace Safety and Health Topic". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-01. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ixodidae ที่วิกิสปีชีส์
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ixodidae