กาเลโก
กาเลโก[1] | |
---|---|
กาเลโกใหญ่สีน้ำตาล (Otolemur crassicaudatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
อันดับย่อย: | Strepsirrhini |
วงศ์ใหญ่: | Lorisoidea |
วงศ์: | Galagidae Gray, 1825 |
สกุลต้นแบบ | |
Galago | |
Genera | |
กาเลโก (อังกฤษ: galago /ɡəˈleɪɡoʊ/) หรือ กาลาโก หรือที่เรียกว่า บุชเบบี้ เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก จัดอยู่ในอันดับไพรเมตหรือลิง เป็นสัตว์หากินกลางคืน[2]ที่พบในทวีปแอฟริกา
พฤติกรรมในกลุ่ม
[แก้]โดยทั่วไป กาเลโกมักใช้ชีวิตตามลำพัง และในกลุ่ม ซึ่งทั้งสองพฤติกรรมนี้ สามารถพบเห็นได้เวลากาเลโกเล่นกัน สัตว์ในวงศ์นี้ มักห้อยโหนไปมาจากกิ่งไม้ ปีนป่ายต้นไม้ หรือโยนขว้างสิ่งของ การละเล่น ได้แก่ การเล่นต่อสู้ การเล่นเสริมสวย และการวิ่งเล่นตามกัน โดยเมื่อเวลาสองตัววิ่งเล่นไล่ตามกัน ทั้งสองมักจะกระโดดและวิ่งไล่กันตามต้นไม้ ตัวที่มีอายุแก่กว่าตัวอื่น มักจะชอบนอนพักตามลำพัง ในขณะที่ตัวที่ยังอายุน้อย มักจะชอบเล่นกันอยู่ในฝูง [3] พฤติกรรมนี้ สามารถพบเจอได้ในสปีชีส์ Galago garnetti ซึ่งตัวที่เป็นแม่มักจะปล่อยลูกอ่อนหลาย ๆ ตัว ทิ้งไว้ตามลำพังเป็นระยะยาวนาน และมักจะไม่ห้ามลูกอ่อนของตน ถ้าลูกอ่อนจะหนีจากตนไป ตรงกันข้ามกันกับลูก ๆ ซึ่ง พยายามจะตามติดแม่ของตนอย่างใกล้ชิด และจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสื่อสารกับแม่ก่อน[4]
พฤติกรรมการเสริมสวย มีความสำคัญยิ่งกับชีวิตประจำวันของกาเลโก โดยส่วนใหญ่มักจะเสริมสวยตนเอง ก่อนการพักผ่อนและขณะการพักผ่อน การเสริมสวย เป็นพฤติกรรมของตัวผู้เท่านั้น โดยตัวเมียมักจะไม่ยอมให้ตัวผู้เสริมสวยมัน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 123–127. ISBN 0-801-88221-4.
- ↑ "African Wildlife Foundation". Awf.org. 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
- ↑ 3.0 3.1 Witt, Cornelia (September 1982). "Preliminary observations on the social behaviour of the greater galago, Galago agisymbanus Coquerel, 1859, in captivity". Anthropologischer Anzeiger: 193–203.
- ↑ Ehrlich, Annette; MacBride, Lynn (1990). "Mother-Infant Interactions in Captive Thick-Tailed Galagos (Galago garnetti)". Journal of Mammalogy. 71: 198–204. doi:10.2307/1382168.