ข้ามไปเนื้อหา

CPO-STV

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเปรียบเทียบผลลัพธ์คู่ด้วยการถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: Comparison of Pairs of Outcomes by the Single Transferable Vote, ย่อ: CPO-STV) คือ ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของผู้แทนอย่างเป็นสัดส่วน โดยถือเป็นระบบการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ที่ละเอียดและซับซ้อนขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบเดิม โดยการเพิ่มองค์ประกอบของวิธีกงดอร์แซซึ่งใช้ในการลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งหาผู้แทนแบบเขตละหนึ่งคนเข้าไปในระบบการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ในระบบการเลือกตั้งนี้ใช้สำหรับการหาผู้ชนะการเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งคน และผู้ลงคะแนนจะต้องให้คะแนนตามลำดับความชอบ ในปัจจุบัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ระบบนี้ยังไม่ได้รับมาใช้ในการเลือกตั้งจริง

CPO-STV มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ (tactical voting) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ซึ่งผู้สมัครสามารถทำให้ตกรอบแรกได้ถึงแม้ว่าหากผู้สมัครรายนั้นหากได้อยู่แข่งขันต่อจะเป็นผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง SPO-STV ใช้การเปรียบเทียบผลลัพธ์การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ซึ่งตามขั้นตอนแล้วใช้เพื่อที่จะกำหนดว่าผลลัพธ์ใดจะเหมาะสมที่สุดตามลำดับความชอบของผู้ลงคะแนน หากเมื่อใช้ในการเลือกตั้งผู้สมัครคนเดียวนั้น CPO-STV จะเทียบเท่ากับวิธีกงดอร์แซ คล้ายคลึงกับการที่ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นเมื่อใช้หาผู้ชนะการเลือกตั้งรายเดียวจะเทียบเท่ากับการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที ระบบการลงคะแนนนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนิโกเลาส์ ไทด์แมน

การลงคะแนน

[แก้]

ผู้ลงคะแนนแต่ละรายจะต้องลงคะแนนให้ผู้สมัครตามลำดับความชอบ ตัวอย่างเช่น

  1. แอนเดรีย
  2. คาร์เตอร์
  3. แบรด
  4. ดีไลลา
  5. สกอตต์

ในการเลือกตั้งจะต้องมีกฎของระบบ CPO-STV ว่าผู้ลงคะแนนจะต้องจัดลำดับผู้สมัครทุกรายจนครบหรือไม่ และผู้ลงคะแนนสามารถให้จัดลำดับเดียวกันซ้ำให้กับผู้สมัครมากกว่าหนึ่งรายได้หรือไม่

ขั้นตอน

[แก้]

กำหนดโควตา

[แก้]

ทั้งโควตาแฮร์และดรูปอาจนำมาใช้ในการเลือกตั้งในระบบนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ไทด์แมนได้แนะนำให้ใช้โควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ ซึ่งโควตานี้เป็นจำนวนตรรกยะซึ่งเท่ากับจำนวนคะแนนดีทั้งหมดหารด้วยจำนวนที่นั่งที่เลือกตั้งทั้งหมดบวกหนึ่ง ซึ่งสูตรคำนวนเป็นดังนี้

การหาผู้ชนะ

[แก้]

CPO-STV ใช้การเปรียบเทียบทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งกับอีกผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการหาชุดของผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนสูงที่สุด กล่าวคือเป็นแบบหนึ่งของวิธีกงดอร์แซ โดยปกติแล้วจะมีผลลัพธ์หนึ่งที่จะสามารถเอาชนะในทุกการแข่งขันได้ และจะได้รับเลือกเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งโดยปริยาย

เมื่อใช้การเปรียบเทียบสองผลลัพธ์เข้าด้วยกันจะต้องใช้วิธีพิเศษในการให้คะแนนแต่ละผลลัพธ์ และเพื่อจะกำหนดว่าผลลัพธ์ไหนเป็นผู้ชนะ ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทั้งสองแบบนั้นใช้วิธีการดังนี้

  1. กำจัดผู้สมัครทุกรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์ในชุดใดเลย ผู้สมัครทั้งหมดที่ไม่ปรากฎอยู่ในผลลัพธ์ชุดใดเลยจะตกรอบและคะแนนเสียงจะถูกถ่ายโอนไป ผู้ลงคะแนนรายใดที่สนับสนุนผู้สมัครที่ตกรอบนั้นคะแนนจะถูกโอนให้แก่ผู้สมัครในลำดับถัดไปที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์
  2. ถ่ายโอนคะแนนเกินของผู้สมัครในทั้งสองผลลัพธ์ เมื่อจำนวนคะแนนเสียงของผู้สมัครนั้นมากกว่าจำนวนโควตา คะแนนส่วนเกินจะถูกโอนออก อย่างไรก็ตามจะนับเฉพาะคะแนนเกินของผู้สมัครที่ปรากฎในผลลัพธ์ทั้งสองนี้เท่านั้น คะแนนส่วนเกินของผู้สมัครรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์คู่นี้จะไม่ถูกนับ โดยคะแนนเกินจะสามารถถ่ายโอนไปยังผู้สมัครรายที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์เท่านั้น
  3. คำนวนผลรวมคะแนน ภายหลังจากการถ่ายโอนคะแนนสิ้นสุดลง จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดที่จะผู้สมัครแต่ละรายพึงได้รับตามผลลัพธ์ทั้งสองชุดนั้นจะถูกสรุป และผลรวมคะแนนนั้นจะถือเป็นคะแนนของผลลัพธ์ชุดนั้น
  4. ประกาศผู้ชนะ ผลลัพธ์ชุดใดที่มีคะแนนสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะในเปรียบเทียบในคู่นั้นๆ

ในบางโอกาส เมื่อใดที่ทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้นั้นได้รับการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันแล้ว จะไม่มีผลลัพธ์ชุดใดเลยที่สามารถชนะผลลัพธ์ได้ครบทุกชุด ซึ่งหมายความว่า ไม่มี "ผู้ชนะแบบกงดอร์แซ" ในกรณีนี้จะต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่า วิธีการทำให้กงดอร์แซสมบูรณ์ โดยนำมาใช้เพื่อการหาชุดของผู้ชนะที่จะได้รับเลือกตั้ง โดยวิธีสมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับแบบย่อยของวิธีกงดอร์แซที่นำมาใช้ ซึ่งแบบต่างๆ ที่ซับซ้อนและแตกต่างกันนั้นรวมถึง ระบบจัดลำดับคู่ (พัฒนาโดยไทด์แมน) และวิธีชุลท์เซอ

วิธีการโอนคะแนนเกิน

[แก้]

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบดั้งเดิมนั้นแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ใช้ในการถ่ายโอนคะแนนเสียงส่วนเกิน ในระบบเก่านั้นใช้ระบบการโอนสุ่ม (วิธีของแฮร์) หรือระบบการโอนเศษ (วิธีเกรกอรี) แต่วิธีเหล่านี้นั้นค่อนข้างหยาบ และอาจทำให้เกิดการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ได้

วิธีของวอร์เรน และวิธีของมีกนั้นเป็ระบบการโอนคะแนนที่ซับซ้อนกว่า CPO-STV นั้นสามารถใช้กับวิธีเหล่านี้ได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงย่อมขึ้นอยู่กับผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเลือกระบบการลงคะแนนว่าจะใช้วิธีการคำนวนแบบใด

ตัวอย่าง

[แก้]

ในการแสดงให้เห็นซึ่งความแตกต่างระหว่างระบบ CPO-STV กับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบเดิมนั้น ในตัวอย่างสถานการณ์ต่อไปนี้แสดงถึงการเลือกตั้งในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง และตามด้วยระบบ CPO-STV ซึ่งในทั้งสองระบบนี้ใช้โควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ ซึ่งในสถานการณ์ตัวอย่างนั้นได้ขนาดโควตาที่ 25

สถานการณ์

[แก้]

สมมติให้มีการเลือกตั้งหนึ่งซึ่งจะต้องเลือกผู้แทนจำนวนสามคน โดยมีผู้สมัครรวมทั้งสิ้นห้าคน ได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ แบรด สกอตต์ และดีไลลา โดยมีผู้ลงคะแนนจำนวน 100 คน และผลการลงคะแนนตามความชอบเป็นดังนี้


ผู้ลงคะแนน 25 คน

  1. แอนเดรีย

ผู้ลงคะแนน 34 คน

  1. คาร์เตอร์
  2. แบรด
  3. ดีไลลา

ผู้ลงคะแนน 7 คน

  1. แบรด
  2. ดีไลลา

ผู้ลงคะแนน 8 คน

  1. ดีไลลา
  2. แบรด

ผู้ลงคะแนน 5 คน

  1. ดีไลลา
  2. สกอตต์

ผู้ลงคะแนน 21 คน

  1. สกอตต์
  2. ดีไลลา

การนับในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบปกติ (STV)

[แก้]

1. ผลการนับคะแนนเป็นดังนี้

  • แอนเดรีย: 25
  • คาร์เตอร์: 34
  • แบรด: 7
  • ดีไลลา: 13
  • สกอตต์: 21

2. แอนเดรียและคาร์เตอร์ได้รับเลือกทันที และคะแนนส่วนเกินของคาร์เตอร์จะถูกโอนออกและนับคะแนนใหม่ดังนี้

  • แบรด: 16
  • ดีไลลา: 13
  • สกอตต์: 21

3. ดีไลลาได้รับคะแนนรวมน้อยที่สุดจึงตกรอบ คะแนนเสียงของดีไลลาจึงถูกถ่ายโอนออกและนับคะแนนใหม่ดังนี้

  • แบรด: 24
  • สกอตต์: 26

4. สกอตต์ได้คะแนนถึงโควตาจึงได้รับเลือกตั้งไปเป็นคนสุดท้าย

ผลลัพธ์

[แก้]

ผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ และสกอตต์

การนับในระบบ CPO-STV

[แก้]

ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้สามารถเกิดได้ถึงสิบชุด (หรือ ผู้ชนะจำนวนสิบชุด) ได้แก่

  • A. แอนเดรีย, คาร์เตอร์, ดีไลลา
  • B. แอนเดรีย, คาร์เตอร์, สกอตต์
  • C. แอนเดรีย, คาร์เตอร์, แบรด
  • D. แอนเดรีย, แบรด, ดีไลลา
  • E. แอนเดรีย, แบรด, สกอตต์
  • F. แอนเดรีย, ดีไลลา, สกอตต์
  • G. คาร์เตอร์, แบรด, ดีไลลา
  • H. คาร์เตอร์, แบรด, สกอตต์
  • I. คาร์เตอร์, ดีไลลา, สกอตต์
  • J. แบรด, ดีไลลา, สกอตต์

ในระบบ CPO-STV นั้นยังยึดถึงเกณฑ์ว่าผู้สมัครรายใดที่คะแนนในลำดับแรกมากกว่าโควตานั้นจะได้รับเลือกตั้ง แอนเดรีย และคาร์เตอร์นั้นได้คะแนนถึงโควตา ดังนั้นเพื่อเป็นการไม่ซับซ้อน ในตัวอย่างการนับคะแนนนี้จะแสดงให้เห็นเฉพาะการเปรียบเทียบชุดผลลัพธ์ซึ่งรวมผู้สมัครทั้งสองคนนี้ซึ่งเป็นผู้ชนะทั้งคู่ ดังนั้นรายผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจะลดลงเหลือเพียงแค่สามชุด ได้แก่

  • ผลลัพธ์ A: แอนเดรีย, คาร์เตอร์, ดีไลลา
  • ผลลัพธ์ B: แอนเดรีย, คาร์เตอร์, สกอตต์
  • ผลลัพธ์ C: แอนเดรีย, คาร์เตอร์, แบรด

ผลลัพธ์ทั้งหมดทีละผลลัพธ์จะนำมาเปรียบเทียบกันกับอีกผลลัพธ์หนึ่งเพื่อที่จะหาผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นจะต้องมีการเปรียบเทียบทั้งหมดสามชุด โดยชุดที่สี่นั้นจะนำมาแสดงด้วย ซึ่งคือระหว่างผลลัพธ์ A และ D ซึ่งตามหลักการแล้วชุด D นั้นไม่สามารถชนะได้ แต่นำมาแสดงเพื่ออธิบายถึงกฎของ CPO-STV ว่าเมื่อใดคะแนนเสียงส่วนเกินนั้นจะไม่ต้องทำการโอน

  • ผลลัพธ์ D: แอนเดรีย, แบรด, ดีไลลา

การเปรียบเทียบระหว่าง A กับ B

[แก้]

ผลคะแนนในลำดับแรกของผู้สมัครแต่ละรายเป็นดังนี้

  • แอนเดรีย: 25
  • คาร์เตอร์: 34
  • แบรด: 7
  • ดีไลลา: 13
  • สกอตต์: 21

แบรดนั้นไม่ปรากฎในทั้งผลลัพธ์ชุด A หรือ B ดังนั้นเขาจึงไม่ถูกรวมในการเปรียบเทียบ โดยคะแนนเสียงของแบรดจะถูกโอนไปยังดีไลลา และนับคะแนนใหม่ดังนี้

  • แอนเดรีย: 25
  • คาร์เตอร์: 34
  • ดีไลลา: 20
  • สกอตต์: 21

คาร์เตอร์ได้รับคะแนนเกินจำนวนโควตา และยังปรากฎในทั้งสองชุดผลลัพธ์ ดังนั้นคะแนนส่วนเกินจะถูกถ่ายโอนไปยังดีไลลา และนับคะแนนใหม่ดังนี้

  • แอนเดรีย: 25
  • คาร์เตอร์: 25
  • ดีไลลา: 29
  • สกอตต์: 21

ดังนั้นเมื่อนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกันในแต่ละชุดผลลัพธ์ จะได้ดังนี้

ผู้สมัคร ผลลัพธ์ A ผลลัพธ์ B
แอนเดรีย 25 25
คาร์เตอร์ 25 25
ดีไลลา 29 -
สกอตต์ - 21
รวม 79 71

ดังนั้น ผลลัพธ์ A เอาชนะผลลัพธ์ B

การเปรียบเทียบระหว่าง B กับ C

[แก้]

ผู้สมัครที่อยู่ในชุดผลลัพธ์อย่างน้อยหนึ่งชุดได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ แบรด และสกอตต์ ดังนั้นดีไลลาจึงไม่ถูกนำมารวม คะแนนเสียงของดีไลลาจึงถูกถ่ายโอนให้แก่แบรดจำนวนแปดคะแนนและสกอตต์จำนวนห้าคะแนน คะแนนส่วนเกินของคาร์เตอร์นั้นถูกถ่ายโอนให้กับแบรด คะแนนสุดท้ายได้ดังนี้

ผู้สมัคร ผลลัพธ์ B ผลลัพธ์ C
แอนเดรีย 25 25
คาร์เตอร์ 25 25
แบรด - 24
สกอตต์ 26 -
รวม 76 74

ดังนั้น ผลลัพธ์ B เอาชนะผลลัพธ์ C

การเปรียบเทียบระหว่าง A กับ D

[แก้]

ผู้สมัครรายที่ปรากฎในชุดผลลัพธ์อย่างน้อยหนึ่งชุดได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ แบรด และดีไลลา เนื่องจากสกอตต์จะไม่ถูกนำมานับ และคะแนนถูกถ่ายโอนให้กับดีไลดาและนับคะแนนใหม่ดังนี้

  • แอนเดรีย: 25
  • คาร์เตอร์: 34
  • แบรด: 7
  • ดีไลลา: 34

คาร์เตอร์มีคะแนนเกินโควตา อย่างไรก็ตามในกรณีนี้เขาไม่ได้ปรากฎในทั้งสองชุดผลลัพธ์ดังนั้นคะแนนส่วนเกินจะไม่สามารถถ่ายโอนได้ โดยเมื่อนับคะแนนรวมเป็นดังนี้

ผู้สมัคร ผลลัพธ์ A ผลลัพธ์ D
แอนเดรีย 25 25
คาร์เตอร์ 34 -
แบรด - 7
ดีไลลา 34 34
รวม 93 66

ดังนั้น ผลลัพธ์ A เอาชนะผลลัพธ์ D

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]

ตามที่ปรากฎข้างต้น ผลลัพธ์ A สามารถเอาชนะได้ทั้งผลลัพธ์ B และ C จึงสามารถกล่าวได้ว่าเนื่องจากแอนเดรียและคาร์เตอร์นั้นทั้งคู่ได้คะแนนเสียงถึงจำนวนโควตาแต่แรกจึงเป็นการชัดเจนแต่แรกว่าผลลัพธ์ชุด A จะสามารถเอาชนะผลลัพธ์อื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากผลลัพธ์ A สามารถเอาชนะผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ในชุดอื่นๆ ทั้งหมด จึงเป็นผู้ชนะ ผู้ชนะการเลือกตั้งทั้งสามที่นั่งจึงได้แก่: แอนเดรีย แบรด และดีไลลา

ผลการเลือกตั้งสามารถสรุปในรูปแบบของเมตริกซ์แบบกงดอร์แซ ซึ่งเมตริกซ์นี้รวมเฉพาะการเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์ A B กับ C เท่านั้น

ผลลัพธ์ A ผลลัพธ์ B ผลลัพธ์ C
ผลลัพธ์ A [B] 71
[A] 79
[C] 66
[A] 84
ผลลัพธ์ B [A] 79
[B] 71
[C] 74
[B] 76
ผลลัพธ์ C [A] 84
[C] 66
[B] 76
[C] 74

เปรียบเทียบระหว่าง CPO-STV กับ STV

[แก้]

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นโดยชัดถึงความแตกต่างระหว่างระบบ CPO-STV กับ STV แบบดั้งเดิม โดย CPO-STV จะได้ผู้ชนะคือ แอนเดรีย คาร์เตอร์ และดีไลลา ซึ่งในการเลือกตั้งเดียวกันแต่ใช้กฎการนับคะแนนแบบ STV เดิมนั้นจะได้ผู้ชนะคือ แอนเดรีย คาร์เตอร์ และสกอตต์ โดยความแตกต่างระหว่างระบบ CPO-STV กับ STV แบบดั้งเดิมนั้นคล้ายคลึงกับความแตกต่างระหว่างวิธีกงดอร์แซและการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที

สาเหตุที่ดีไลลาจะไม่ชนะการเลือกตั้งในระบบ STV แบบดั้งเดิมนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนซี่งดีไลลาถูกกำจัดออกจากการนับคะแนน เนื่องจากถูกกำจัดออกแล้วดีไลลาจึงไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากการถ่ายโอนคะแนนเสียงซึ่งอาจจะได้รับในช่วงหลัง ในระบบ STV แบบดั้งเดิมนั้นลำดับในการกำจัดผู้สมัครในการนับคะแนนนั้นมีผลในการได้มาซึ่งผู้ชนะอย่างมาก ซึ่งผู้สนับสนุนระบบ CPO-STV อภิปรายถึงขั้นตอนซึ่งผู้สมัครจะถูกกำจัดออกในการเลือกตั้งนั้นเป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุผลและไม่ควรจะมีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้ง ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหานี้จึงเป็นที่มาของการคิดค้นระบบ CPO-STR ขึ้น

ผลกระทบขอการกำจัดผู้สมัครตามลำดับนั้นตามจริงคือจำนวนของคะแนนความชอบในลำดับแรกของผู้สมัครนั้นมีความสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้สมัครที่มีคะแนนความชอบในลำดับแรกน้อย แต่มีคะแนนความชอบในลำดับที่สองหรือสามจำนวนมากนั้นจะยากที่จะได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากผู้สมัครเหล่านี้มักจะถูกกำจัดในรอบแรกๆ ก่อนที่จะได้รับโอนคะแนนในลำดับสอง ซึ่งในระบบ STV ดั้งเดิมนั้นถูกวิจารณ์ว่าไม่ยุติธรรมต่อผู้สมัครสายกลางซึ่งมักจะได้คะแนนลำดับแรกน้อยแต่คะแนนลำดับสองจำนวนมาก ระบบการเลือกตั้งอื่นๆ ที่ถูกเสนอมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้จากระบบ STV เดิมได้แก่ ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงของชุลท์เซอ และระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบจัดลำดับ

ผลกระทบ

[แก้]

ความเป็นไปได้ในการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์

[แก้]

เนื่องจากระบบ CPO-STV นั้นเป็นกรณีเดียวกับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งระบบสัดส่วน จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ได้น้อยว่าระบบการเลือกตั้งแบบมีผู้ชนะคนเดียวแบบอื่นๆ อาทิเช่น ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และ[[การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที]

อย่่างไรก็ตาม ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงทุกรูปแบบนั้นยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการลงคะแนนเสียงเชิงกลยุทธ์ได้เนื่องจากลักษณะของระบบนั้นขาดความเป็นทางเดียว (monotonicity) ซึ่งหมายความว่าในบางครั้งอาจเป็นไปได้ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครได้โดยการจัดลำดับ ต่ำกว่า ลำดับที่ตั้งใจเลือกจริว หรือเพื่อที่จะทำลายผู้สมัครโดยการจัดลำดับ สูงกว่า ในขณะที่ CPO-STV ไม่เชิงจะแก้ไขปัญหานี้ได้สมบูรณ์แต่สามารถลดปัญหานี้ได้มาก โดยการทำให้มีโอกาสที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้กลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้น้อยลง

ผลกระทบต่อผู้สมัครและฝ่ายการเมือง

[แก้]

ข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Tideman, Nicolaus (Winter 1995). "The Single Transferable Vote". Journal of Economic Perspectives. 9 (1): 27–38. doi:10.1257/jep.9.1.27. JSTOR 2138352.
  • Tideman, Nicolaus; Richardson, Daniel (April 2000). "Better Voting Methods Through Technology: The Refinement–Manageability Trade-Off in the Single Transferable Vote". Public Choice. 103 (1/2): 13–34. doi:10.1023/A:1005082925477. ISSN 0048-5829.