ไมอา ซูทอโร-อิง
ไมอา ซูทอโร-อิง | |
---|---|
เกิด | ไมอา แคแซนดรา ซูทอโร 15 สิงหาคม ค.ศ. 1970 จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย |
การศึกษา | วิทยาลัยบาร์นาร์ด (ศศ.บ.) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (ศศ.ม.) มหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา (ปร.ด.) |
พรรคการเมือง | เดโมแครต |
คู่สมรส | คอนราด อิง (สมรส 2003) |
บุตร | ซูไฮลา, ซาวีตา |
บิดามารดา | โลโล ซูโตโร แอนน์ ดันแฮม |
ญาติ | บารัก โอบามา (พี่ชายต่างพ่อ) |
ลายมือชื่อ | |
ไมอา แคแซนดรา ซูทอโร-อิง (อักษรโรมัน: Maya Kasandra Soetoro-Ng; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1970) เป็นสตรีลูกครึ่งอเมริกัน-อินโดนีเซีย และเป็นน้องสาวร่วมมารดากับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 เดิมประกอบกิจเป็นครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา[1] ปัจจุบันทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย และเป็นผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือชุมชนและการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมโลกของสถาบันสปาร์ก เอ็ม. มัตสึนางะเพื่อสันติภาพและแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Spark M. Matsunaga Institute for Peace & Conflict Resolution) ตั้งอยู่ในวิทยาลัยสังคมและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา
ประวัติ
[แก้]ไมอาเกิดที่โรงพยาบาลเซนต์กาโรลุส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคาทอลิกในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[2] เป็นบุตรสาวของแอนน์ ดันแฮม นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวอเมริกัน กับโลโล ซูโตโร นักธุรกิจชาวอินโดนีเซีย และเป็นน้องสาวต่างบิดาของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 เธอกล่าวว่าชื่อตั้งตามมายา แองเจอโล (Maya Angelou) กวีหญิงชาวอเมริกัน[3]
ทั้งบารักและไมอาใช้ชีวิตไปมาระหว่างฮาวายกับอินโดนีเซียหลายปี ก่อนที่แม่จะตัดสินใจเลือกไปใช้ชีวิตที่อินโดนีเซียกับเธอ[1] แต่หลังการหย่าร้างของพ่อแม่ โลโลสมรสใหม่ ไมอาจึงมีน้องต่างแม่อีกสองคนคือ ยูซุฟ อาจี ซูโตโร (เกิด ค.ศ. 1981) และราฮายู นูร์ไมดา ซูโตโร (เกิด ค.ศ. 1984)[4]
ขณะที่ยังอยู่ในอินโดนีเซีย เธอเรียนในรูปแบบการจัดการศึกษาในครอบครัวโดยมีมารดาเป็นผู้สอน และเคยเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติจาการ์ตาช่วง ค.ศ. 1981–1984[5] ต่อมาเธอย้ายกลับไปฮาวายและเข้าเรียนที่โรงเรียนปูนาโฮอูในโฮโนลูลูที่เดียวกับบารักพี่ชาย[6] จนสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1988[7]
เธอสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตจากวิทยาลัยบาร์นาร์ดแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[8] สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตด้านการศึกษาภาษา และอักษรศาสตรมหาบัณฑิตด้านการศึกษาระดับมัธยมจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก[9] และในปี ค.ศ. 2006 ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตด้านการศึกษานานาชาติเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา[10]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ไมอาสมรสกับคอนราด อิง (จีน: 吴加儒) ชาวแคนาดาเชื้อสายจีนจากเมืองเบอร์ลิงตัน รัฐออนแทริโอ[11][12] เมื่อ ค.ศ. 2003[13] สามีมีพื้นเพเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ปัจจุบันถือสัญชาติอเมริกัน[14] เขาเคยเป็นผู้อำนวยการศูนย์สมิทโซเนียนเอเชียแปซิฟิกอเมริกา และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สถาบันออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยฮาวาย[15] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ดอรีสดุ๊กแชงกรีลาเพื่อศิลปะและวัฒนธรรมอิสลามในฮาวาย (Doris Duke Shangri La Center for Islamic Arts and Culture in Hawaii) เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ทั้งสองมีบุตรสาวสองคนคือซูไฮลา[15] และซาวีตา
ไมอานิยามตนเองว่าเป็นชาวพุทธปรัชญา (philosophically Buddhist)[16] เธอพูดภาษาอินโดนีเซีย,[17] สเปน[18] และอังกฤษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMayaNYT
- ↑ "Obama Family Tree". dgmweb.net.
- ↑ Clark, Paul C. (กันยายน 25, 2008). "Obama's Better Half Appeals To Women". Rhinoceros Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 22, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 28, 2008.
- ↑ Habib, Ridlwan (พฤศจิกายน 5, 2008). "Keluarga Besar Lolo Soetoro, Kerabat Dekat Calon Presiden Amerika/Lolo Soetoro's Extended Family, Close Relatives to American Presidential Nominee". Jawa Pos Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2009.
- ↑ Nakaso, Dan (September 12, 2008). "Obama's mother's work focus of UH seminar". Honolulu Advertiser. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
- ↑ "Half sister launches Hawaii family support for Obama". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
- ↑ Carlyn Tani (Spring 2007). "A kid called Barry: Barack Obama '79". Punahou Bulletin. Punahou School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2008. สืบค้นเมื่อ March 12, 2009.
- ↑ "On NPR, Susan Stamberg '59 interviews Maya Soetoro-Ng '93". สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
- ↑ "Barack Obama and Joe Biden: The Change We Need". Konrad's Blog. barackobama.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ January 20, 2009.
- ↑ "Convention 2008: Siblings Of Barack And Michelle Obama To Speak Tonight". Democratic National Convention 2008. August 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2008. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
- ↑ Nolan, Daniel (June 11, 2008). "Obama's Burlington connection". The Hamilton Spectator.[ลิงก์เสีย] (ต้องรับบริการ)
- ↑ Misner, Jason (June 20, 2008). "Barack Obama was here". Burlington Post. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
- ↑ Nolan, Daniel (June 11, 2008). "Relative: Obama's got 'a good handle on Canada'". The Hamilton Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
- ↑ Cooper, Tom (January 20, 2009). "Keep watch for Obama". The Hamilton Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
- ↑ 15.0 15.1 Fornek, Scott (กันยายน 9, 2007). "'He helped me find my voice'". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 22, 2009.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNY Times Magazine
- ↑ Green, Stephanie; Glover, Elizabeth (August 10, 2009). "Sister and niece act". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ September 6, 2009.
- ↑ Goodman, Ellen (January 25, 2008). "Transcending race and identity". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ August 31, 2009.
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่April 2022
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- พุทธศาสนิกชนชาวอเมริกัน
- ครูชาวอเมริกัน
- นักเขียนชาวอเมริกัน
- บุคคลจากจาการ์ตา
- บุคคลจากโฮโนลูลู
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ
- ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอินโดนีเซีย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก