ข้ามไปเนื้อหา

ไพบูลย์ คุ้มฉายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพบูลย์ คุ้มฉายา
ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2557
องคมนตรีไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(7 ปี 343 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(2 ปี 97 วัน)[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าชัยเกษม นิติสิริ
ถัดไปสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(2 ปี 85 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
คู่สมรสพจณี คุ้มฉายา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกไทย
กองทัพไทย
ประจำการกองทัพบก พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2557
กองทัพไทย พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
ยศ พลเอก

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น ต๊อก เป็นนักการเมืองและนายทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[2]นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี[3] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,อดีตรองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม[4]รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[5][6] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก, ประธานกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ, หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 1, อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และอดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[7] กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[8]และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์[9]

ประวัติ

[แก้]

ไพบูลย์ คุ้มฉายา หรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า บิ๊กต๊อก เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายลออกับ นางจันทร์ คุ้มฉายา มีน้องชายชื่อ นายทรงบท คุ้มฉายา ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านดอน [10]

ไพบูลย์ คุ้มฉายา สมรสกับ พจณี คุ้มฉายา โดยมีบุตรี 1 คน คือ นางสาว อิงฆ์พลัฏฐ์ คุ้มฉายา[11]

การรับราชการ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ไพบูลย์จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนอู่ทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และจบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม

การเมือง

[แก้]

ไพบูลย์ คุ้มฉายา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา[17] และเป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อีกหน้าที่หนึ่ง ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจำนวน 4 รายได้แก่ นายจิตรนรา นวรัตน์ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายพิศิษฐ์ วิริยสกุล นายสุนทร สุนทรธาราวงศ์[18] และแต่งตั้ง อภิชัย หงษ์ทอง ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[19]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2559

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก
  2. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งงตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม
  5. รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
  6. รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
  7. กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  8. กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  9. กรมทหารราบที่ 21 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-15.
  11. 'บิ๊กต๊อก'ควงภรรยาพร้อมลูกสาว หย่อนบัตรลงคะแนน'ประชามติ'
  12. ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  13. รองแม่ทัพภาคที่ 1
  14. แม่ทัพภาคที่ 1
  15. ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  16. รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  18. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
  19. ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๗ มกราคม ๒๕๓๑
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
ก่อนหน้า ไพบูลย์ คุ้มฉายา ถัดไป
ชัยเกษม นิติสิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
วิษณุ เครืองาม
(รักษาการ)