ไทร์ (ประเทศเลบานอน)
ไทร์ ศูร | |
---|---|
เมือง | |
ท่าเรือตกปลาของเมืองไทร์ | |
พิกัด: 33°16′8″N 35°12′59″E / 33.26889°N 35.21639°E | |
ประเทศ | เลบานอน |
เขตผู้ว่าการ | ใต้ |
อำเภอ | ไทร์ |
ก่อตั้ง | 2,750 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
พื้นที่ | |
• เมือง | 4 ตร.กม. (2 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 17 ตร.กม. (7 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• เมือง | 60,000 คน |
• รวมปริมณฑล | 174,000 คน |
เขตเวลา | UTC 02 (เวลายุโรปตะวนออก) |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์ | iii, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1984 (8th session) |
เลขอ้างอิง | 299 |
State Party | เลบานอน |
Region | Arab States |
ไทร์ (อังกฤษ: Tyre) หรือ ศูร (อาหรับ: صور, อักษรโรมัน: Ṣūr; ฟินิเชีย: 𐤑𐤓, อักษรโรมัน: Ṣūr; กรีก: Τύρος, Týros) เป็นเมืองในเขตผู้ว่าการใต้ ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน มีประชากรราว 117,000 คน ในปี ค.ศ. 2003[1] ไทร์ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ห่างจากเบรุตทางตอนใต้ราว 80 กิโลเมตร ชื่อของเมืองมีความหมายว่า หิน[2]
ไทร์เป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรฟินิเซีย ตั้งแต่ประมาณ 1,100-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยโบราณได้รวมเกาะซึ่งมีอ่าวจอดเรือ 2 แห่ง ปัจจุบันกลายเป็นคาบสมุทรเนื่องจากพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียทรงขยายทางข้ามเกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นเมืองศูนย์กลางการค้ามานานหลายศตวรรษ เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและมหาอำนาจทางทะเลของชาวฟินีเชีย มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าไหม มีการกล่าวถึงเมืองนี้ในคัมภีร์ไบเบิลในรัชสมัยของกษัตริย์ไฮแรม (969-936 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ถูกชนชาติต่าง ๆ เข้าครอบครองเรื่อยมาจนในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ตกเป็นของพวกมุสลิม ใน ค.ศ. 1124 พวกนักรบครูเสดได้เข้ายึดเมืองและกลายเป็นเมืองหลักของอาณาจักรเยรูซาเลม จนตกเป็นของมุสลิมอีกครั้งใน ค.ศ. 1291
ไทร์ เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศเลบานอน[3] เป็นท่าเรือที่สำคัญของประเทศ มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีเมืองโบราณมากมายหลายแห่ง รวมถึงสนามกีฬาโรมันโบราณ ที่ติดอยู่ในรายชื่อมรดกโลกของยูเนสโกในปี ค.ศ. 1979
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lebanon – city population
- ↑ (Bikai, P., "The Land of Tyre", in Joukowsky, M., The Heritage of Tyre, 1992, chapter 2, p. 13)
- ↑ Tyre City, Lebanon