ข้ามไปเนื้อหา

โองการปีศาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โองการปีศาจ
หน้าหลังปกของ โองการปีศาจ ฉบับลักลอบแปลและเผยแพร่ในประเทศอิหร่าน
ผู้ประพันธ์ซัลมัน รัชดี
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ประเภทสัจนิยมมหัศจรรย์
พิมพ์1988
ชนิดสื่อพิมพ์
หน้า546 (พิมพ์ครั้งที่ 1)
ISBN0-670-82537-9
OCLC18558869
823/.914
LC ClassPR6068.U757 S27 1988
เรื่องก่อนหน้าShame 
เรื่องถัดไปHaroun and the Sea of Stories 

โองการปีศาจ (อังกฤษ: The Satanic Verses) เป็นนวนิยายเล่มที่สี่ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ-อินเดีย ซัลมัน รัชดี ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1988 โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากมุฮัมมัด ผู้ส่งสารพระเจ้าและศาสดาของศาสนาอิสลาม เนื้อหาของเรื่องดำเนินไปด้วยรูปแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ (magical realism) และมีภูมิหลังเป็นเหตุการณ์และบุคคลร่วมสมัย ชื่อของหนังสือเป็นการสื่อถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" ซึ่งเป็นชุดกวีนิพนธ์ในอัลกุรอานที่กล่าวถึงเทพีของชาวมักกะฮ์ยุคนอกศาสนาสามองค์ ได้แก่: อัลลาต, อัลอุซซา และ มะนาต[1] เนื้อหาส่วนที่กล่าวถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" นี้อ้างมาจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ อัลวะกีดี และ อัลตะบอรี[1]

ในสหราชอาณาจักร โองการปีศาจ ได้รับเสียงตอบรับค่อนไปทางบวก และยังได้รับเลือกเข้าสู่รางวัลบุคเคอร์ปี 1988 ในรอบสุดท้าย ก่อนจะแพ้ให้กับ Oscar and Lucinda โดย พีเทอร์ คารี และชนะ รางวัลไวท์เบรด ปี 1988 สาขานวนิยายแห่งปี[2] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงครั้งใหญ่ โดยชาวมุสลิมมองว่าเป็นหนังสือหมิ่นประมาทและล้อเลียนศาสนาอิสลาม ความโกรธเคืองในบรรดาชาวมุสลิมนี้นำไปสู่การเรียกร้องให้สังหารผู้ประพันธ์หนังสือ ซัลมัน รัชดี โดยแอแยตอลลอฮ์ รูฮอลอฮ์ ฆอเมนี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ในปี 1989 ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการพยายามลอบสังหารรัชดีหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนรัชดีได้รับการคุ้มครองภายใต้ตำรวจโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้นังนำไปสู่การโจมตีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ซึ่งรวมถึงการฆาตกรรม ฮิโตชิ อิการาชิ ผู้แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น

หนังสือถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศอินเดียภายใต้เหตุผลสร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม[3][4]

บทวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

ในภาพรวม หนังสือได้รับเสียงตอบรับในทางบวกจากนักวิจารณ์วรรณกรรม ในบทวิจารณ์การงานด้านวรรณกรรมของรัชดีในปี 2003 โดยนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง ฮาโรลด์ บลูม ระบุให้ โองการปีศาจ เป็น "ความสำเร็จทางสุนทรีย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัชดี"[5]

หลังเกิดข้อถกเถียงกรณีหนังสือ นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่คุ้นเคยดีกับหนังสือเล่มนี้และผลงานโดยรวมของรัชดี เช่น เอ็ม.ดี. เฟล็ตเชอร์ (M. D. Fletcher) มองว่าผลตอบรับในแง่ต่อต้านหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องออกไปทางประชดประชัน (ironic) เฟล็ตเชอร์เขียนไว้ว่า "นี่น่าจะเป็นเรื่องประชดที่เกี่ยวกัน (relevant irony) ที่เสียงตอบรับต่อหนังสือในทางหวังร้ายต่อรัชดีมาจากพวกที่รัชดีเขียนถึง"[6]

ข้อถกเถียง

[แก้]

หนังสือเล่มนี้ถูกต้องโทษข้อหาหมิ่นศาสนา (blasphemy) จากการอ้างถึงเนื้อหาวรรคปีศาจในอัลกุรอาน ปากีสถานประกาศให้การซื้อขายหรือมีหนังสือเล่มนี้ในครอบครองผิดกฎหมายเมื่อพฤศิกจายน 1988 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1989 ผู้ประท้วงจำนวน 10,000 คนรวมตัวกันประท้วงรัชดีและหนังสือในอิสลามาบาด มีการโจมตีศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน (American Cultural Center) เป็นผลให้มีผู้ประท้วงเสียชีวิตหกราย และมีการบุกรุกทำลายสำนักงานของอเมริกันเอกซเพรส (American Express) ความรุนแรงนี้แพร่กระจายไปถึงอินเดีย จนเป็นผลให้ทางการอินเดียสั่งให้หนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมายตามมา[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 John D. Erickson (1998). Islam and Postcolonial Narrative. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
  2. Netton, Ian Richard (1996). Text and Trauma: An East-West Primer. Richmond, UK: Routledge Curzon. ISBN 0-7007-0326-8.
  3. Manoj Mitta (25 January 2012). "Reading 'Satanic Verses' legal". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2013. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.
  4. Suroor, Hasan (3 March 2012). "You can't read this book". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  5. Harold Bloom (2003). Introduction to Bloom's Modern Critical Views: Salman Rushdie. Chelsea House Publishers.
  6. M. D. Fletcher (1994). Reading Rushdie: Perspectives on the Fiction of Salman Rushdie. Rodopi B.V, Amsterdam.
  7. "Reading 'Satanic Verses' legal". The Times of India. 25 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2013.