โรซาริโอ กัสเตยาโนส
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรซาริโอ กัสเตยาโนส ฟิเกโรอา | |
---|---|
เกิด | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1925 เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก |
เสียชีวิต | 7 สิงหาคม ค.ศ. 1974 เทลอาวีฟ, อิสราเอล | (49 ปี)
อาชีพ | กวีและนักเขียน |
สัญชาติ | เม็กซิโก |
โรซาริโอ กัสเตยาโนส ฟิเกโรอา (สเปน: Rosario Castellanos Figueroa เสียงอ่านภาษาสเปน: [roˈsaɾjo kasteˈʝanos]) (เกิด 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1925 - 7 สิงหาคม ค.ศ. 1974) เป็นกวีและนักเขียนชาวเม็กซิกัน เธอเป็นหนึ่งในกวีที่สำคัญที่สุดของประเทศเม็กซิโกในศตวรรษที่ผ่านมา ผลงานของเธอตลอดช่วงชีวิตนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาของการกดขี่ทางวัฒนธรรมและทางเพศ โดยงานเขียนของเธอมีอิทธิพลต่อทฤษฎีสตรีนิยมเม็กซิกันและการศึกษาด้านวัฒนธรรมมาโดยตลอด เธอได้เปิดโลกวรรณกรรมเม็กซิกันให้แก่ผู้หญิง รวมทั้งทิ้งของขวัญชิ้นสำคัญที่ยังคงอยู่มาจนวันนี้ แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยก็ตาม
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เกิดที่เม็กซิโกซิตีและเติบโตที่เมืองโกมิตัน ทางตอนใต้ของรัฐเชียปัส เธอมีนิสัยเก็บตัว และได้สังเกตเห็นชะตากรรมของมายา เด็กสาวพื้นเมืองที่ทำงานให้กับครอบครัวของเธอ ตามคำบอกเล่าของเธอ เธอเองเธอรู้สึกห่างเหินจากครอบครัวหลังจากหมอดูทำนายว่าไม่เธอก็น้องชายจะตายในไม่ช้าและแม่ของเธอก็กรีดร้องออกมาว่า "อย่าให้เป็นลูกชายฉันนะ!"
โชคชะตาของครอบครัวเปลี่ยนไปอย่างกะทันหันเมื่อ ลาซาโร การ์เดนัส ประธานาธิบดีของประเทศเม็กซิโกออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และนโยบายการปลดปล่อยชาวนา ซึ่งทำให้ครอบครัวของเธอต้องสูญเสียที่ดินจำนวนมาก เธอย้ายไปยังเม็กซิโกซิตีตอนอายุสิบห้าปีพร้อมกับพ่อแม่ หนึ่งปีต่อมาพ่อแม่ของเธอเสียชีวิต เธอจึงถูกทิ้งให้ดูแลตัวเอง
แม้ว่าจะยังคงมีนิสัยเก็บตัว เธอได้เข้าร่วมกลุ่มปัญญาชนชาวเม็กซิโกและอเมริกากลาง เธอได้อ่านงานเขียนมากมายและเริ่มเขียนงานของตัวเอง เธอเรียนปรัชญาและวรรณคดีที่ National Autonomous University of Mexico (UNAM) และได้เข้าเป็นอาจารย์ในที่เดียวกัน เธอได้เข้าร่วมสถาบันพื้นเมืองแห่งชาติ (National Indigenous Institute) ได้เขียนบทสำหรับการแสดงหุ่นเชิดในภูมิภาคที่ยากจนเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ สถาบันดังกล่าวก่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดี Cárdenas ผู้ยึดครองที่ดินของครอบครัว นอกจากนี้เธอยังเขียนคอลัมน์ประจำสัปดาห์สำหรับหนังสือพิมพ์ Excélsior ด้วย
เธอแต่งงานกับริการ์โด เกร์รา เตฮาดา (Ricardo Guerra Tejada) ศาสตราจารย์วิชาปรัชญาในปีค.ศ. 1958 และให้กำเนิดบุตรชายในปีค.ศ. 2504 ชื่อว่า กาบริเอล เกร์รา กัสเตยาโนส (Gabriel Guerra Castellanos) (ปัจจุบันเป็นนักรัฐศาสตร์) นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของเธอ เนื่องจากก่อนหน้านี้เธอต้องทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าหลังจากการแท้งหลายครั้ง [1] อย่างไรก็ตามเธอหย่าขาดจากสามีหลังจากแต่งงานมา 13 ปีเนื่องจากสามีนอกใจ ชีวิตส่วนตัวของเธอส่วนใหญ่หมดไปกับชีวิตคู่ที่ยากลำบากและภาวะซึมเศร้าต่อเนื่อง แต่เธอก็ได้ทุ่มเทพลังและพื้นที่งานส่วนใหญ่ ให้แก่การปกป้องสิทธิสตรี ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ของสตรีนิยมละตินอเมริกา [2] [3]
นอกเหนือจากงานวรรณกรรม เธอยังดำรงตำแหน่งข้าราชการอีกหลายตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือการได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศอิสราเอล ในปีค.ศ. 1971 เพื่อยกย่องการสร้างสรรค์วรรณคดีเม็กซิกันของเธอ
วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1974, กัสเตยาโนสเสียชีวิตจากอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจร ในเมืองเทลอาวีฟ บางคนเดาว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นในความเป็นจริงคือการฆ่าตัวตาย ยกตัวอย่างเช่นนักเขียนชาวเม็กซิกัน มาร์ธา เซรฺดา (Martha Cerda) เขียนถึงนักข่าว Lucina Kathmann ว่า “ฉันเชื่อว่าเธอฆ่าตัวตาย ถึงแม้ว่าเธอจะรู้สึกเหมือนตายไปแล้วมาระยะหนึ่งแล้วก็เถอะ"[4] อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานสนับสนุนประเด็นดังกล่าว
ผลงานและอิทธิพล
[แก้]ตลอดอาชีพนักเขียนของเธอ กัสเตยาโนสได้เขียนบทกวีและบทความมากมาย บทละครใหญ่เรื่องหนึ่ง และนวนิยายสามเรื่อง ได้แก่ กึ่งอัตชีวประวัติ Balún Canán และ Oficio de Tinieblas (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า The Book of Lamentations) ซึ่งเล่าเรื่องราวการจลาจลของชนพื้นเมือง Tzotzil ในรัฐเชียปัส โดยมีพื้นฐานมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 แม้เธอจะไม่ใช่ชาวพื้นเมืองแท้ๆ กัสเตยาโนสได้แสดงความห่วงใยและความเข้าใจชะตากรรมของชนพื้นเมืองอย่างมาก Cartas a Ricardo เป็นคอลเลกชันจดหมายที่เธอส่งให้สามี ริการ์โด เกร์รา (Ricardo Guerra) ซึ่งถูกตีพิมพ์หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เช่นเดียวกับนิยายเรื่องที่สามของเธอ Rito de iniciación ซึ่งเป็นนิยายรูปแบบนวนิยายของการศึกษา (Bildungsroman) เกี่ยวกับหญิงสาวที่ค้นพบความเป็นนักเขียนของตัวเอง ใน Cartas Ricardo มีจดหมาย 28 ฉบับที่กัสเตยาโนสส่งมาจากประเทศสเปน (ค.ศ. 1950-1951) ซึ่งเธอเดินทางไปกับเพื่อนนักกวีชื่อโดโลเรส กัสโตร (Dolores Castro)
Ciudad Real คือชุดของเรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1960 ใจความสำคัญที่กัสเตยาโนสถ่ายทอดในเรื่องสั้นเหล่านี้คือความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนผิวขาวและคนพื้นเมือง รวมทั้งยังพูดถึงความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงด้วย การสื่อสารเป็นประเด็นสำคัญในงานเขียนของกัสเตยาโนส โดย Ciudad Real แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างคนพื้นเมืองของรัฐเชียปัสเม็กซิโก และคนผิวขาวที่ไม่สามารถสื่อสารซึ่งกันและกัน และไม่ไว้ใจกันเพราะพูดคนละภาษา เนื้อเรื่องลักษณะนี้ และเรื่องราวความโดดเดี่ยวของบุคคลชายขอบมักปรากฏในงานคอลเลกชันนี้ของเธอเสมอ อย่างไรก็ตามเรื่องสั้นสุดท้ายของคอลเลคชันนี้ค่อนข้างแตกต่างจากเรื่องอื่นๆ โดยในเรื่องนี้อาร์เธอร์ ตัวละครหลักผู้รู้ทั้งภาษาสเปนและภาษาพื้นเมือง และสามารถทำลายกำแพงที่ขวางกั้นระหว่างสองกลุ่มที่แตกต่างกันตลอดทั้งนวนิยาย ในตอนท้ายอาร์เธอร์เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับธรรมชาติ (นับเป็นสิ่งที่หาได้ยากในงานของกัสเตยาโนส) และพบความสงบสุขกับตัวเองและกับโลก มันเป็นเรื่องสั้นเรื่องเดียวในคอลเลคชันนี้ที่จบอย่างมีความสุข
กัสเตยาโนสชื่นชมนักเขียนเช่น กาบริเอลา มิสตรัล, เอมิลี ดิกคินสัน, ซีมอน เดอ โบวัวร์, เวอร์จิเนีย วูล์ฟ และ Simone Weil [5] Valium 10 บทกวีของกัสเตยาโนส เป็นบทกวีสารภาพบาปและเป็นบทกวีประเภทสตรีนิยมที่ยิ่งใหญ่ เปรียบได้กับบทกวี Daddy ของซิลเวีย แพลต (Sylvia Plath)
สวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขต Cuajimalpa de Morelos ในกรุงเม็กซิโกซิตี นั้นตั้งชื่อตามเธอ
ผลงานหนังสือ
[แก้]- Balún-Canán Fondo de Cultura Economica, 1957; 2007, ISBN [./https://en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/9789681683030 9789681683030]
- Poemas (1953–1955), Colección Metáfora, 1957
- Ciudad Real: Cuentos, 1960; Penguin Random House Grupo Editorial México, 2007, ISBN 9786071108654
- Oficio de tinieblas 1962; 2013, Grupo Planeta – México, ISBN 978-607-07-1659-1
- Álbum de familia (1971)
- Poesía no eres tú; Obra poética: 1948–1971 1972; Fondo de Cultura Economica, 2004, ISBN 9789681671174
- Mujer que sabe latín . . . 1973; Fondo de Cultura Economica, 2003, ISBN 9789681671167
- El eterno femenino: Farsa 1973; Fondo de Cultura Economica, 2012, ISBN 9786071610829
- Bella dama sin piedad y otros poemas, Fondo de Cultura Económica, 1984, ISBN 9789681617332
- Los convidados de agosto. Ediciones Era. 1964. ISBN 978-968-411-203-2.
- Declaración de fe Penguin Random House Grupo Editorial México, 2012, ISBN 9786071119339
- La muerte del tigre SEP, 198?
- Cartas a Ricardo (1994)
- Rito de iniciación 1996; 2012, Penguin Random House Grupo Editorial México, ISBN 978-607-11-1935-3
- Sobre cultura femenina. Fondo de Cultura Económica. 2005. ISBN 978-968-16-7465-6.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caballero, Oscar Bonifaz และ Myralyn Frizzelle Allgood ความทรงจำของโรซาริโอ: ความเป็นส่วนตัวในชีวิตและผลงานของโรซาริโอกาสเตลาโนส Potomac, MD: Scripta Humanistica, 1990. พิมพ์
- ↑ Cano, Gabriela “ Rosario Castellanos: Entre Preguntas Estúpidas y Virtudes Locas” Debate Feminista, vol. 6, 1992, pp. 253–259., www.jstor.org/stable/42625663
- ↑ Cárdenas, Ezequiel “ ในหน่วยความจำ: ROSARIO CASTELLANOS 2468-2517.” Letras Femeninas, vol. 1 หมายเลข 1, 1975, pp. 72–74., www.jstor.org/stable/23066473
- ↑ Cordite Poetry Review Archives เก็บถาวร 4 พฤษภาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at www.cordite.org.au
- ↑ The Oxford Encyclopedia of Women in World History.