โรงแรมแคปซูล
โรงแรมแคปซูล (ญี่ปุ่น: カプセルホテル โรมาจิ: kapuseru hoteru) หรือในประเทศทางตะวันตกเรียกว่า "pod hotel"[1] เป็นโรงแรมประเภทหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นโดยมี "ห้อง" (แคปซูล) ขนาดเล็กมากจำนวนมาก ซึ่งตั้งใจให้บริการที่พักค้างคืนพื้นฐานราคาถูกแก่แขกที่ไม่ต้องการบริการอย่างที่โรงแรมตามปกติเสนอ
โรงแรมแคปซูลแห่งแรก คือ แคปซูลอินน์โอซากา ออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียง Kisho Kurokawa[2][3] ตั้งอยู่ในเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2522
ลักษณะ
[แก้]ห้องพักเป็นห้องประมาณความยาวและความกว้างของเตียงเดี่ยว ที่มีความสูงเพียงพอสำหรับแขกของโรงแรมที่จะคลานเข้าไปและนั่งบนเตียง ผนังห้องอาจทำจากไม้, โลหะ หรือวัสดุแข็ง แต่มักจะเป็นไฟเบอร์กลาส หรือพลาสติก สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องโดยทั่วไป ได้แก่ โทรทัศน์ขนาดเล็ก, เครื่องปรับอากาศ แผงควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ และปลั๊กไฟ แคปซูลถูกวางซ้อนกันแบบด้านชนด้านสูงสองหน่วย พร้อมบันไดสำหรับเข้าถึงห้องที่อยู่ด้านบน คล้ายกับเตียงสองชั้น ปลายเปิดของแคปซูลสามารถปิดได้ด้วยผ้าม่านหรือประตูทึบเพื่อความเป็นส่วนตัว และสามารถล็อกได้จากด้านในเท่านั้น[4]
เช่นเดียวกับโฮสเทล โรงแรมแคปซูลมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายเช่น พื้นที่ส่วนกลาง, ห้องน้ำรวม, ห้องอาบน้ำ, อินเทอร์เน็ตไร้สาย และห้องรับประทานอาหาร ในญี่ปุ่นโรงแรมแคปซูลอาจมีห้องอาบน้ำรวม และห้องซาวน่า โรงแรมบางแห่งยังมีร้านอาหาร, บาร์ของว่าง หรือบาร์ (หรืออย่างน้อยเป็น เครื่องจำหน่ายอาหาร), สระว่ายน้ำ และสถานบันเทิงอื่น ๆ อาจมีห้องนั่งเล่นพร้อมเก้าอี้หุ้มนวมเพื่อนั่งพักผ่อน พร้อมกับหนังสือ และหนังสือพิมพ์[5]
โรงแรมแคปซูลมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 50 แคปซูลถึง 700 แคปซูลและมักจะให้ความสำคัญกับผู้ชายเป็นหลัก[6] โรงแรมแคปซูลบางแห่งเสนอส่วนแยกต่างหากสำหรับแขกผู้เข้าพักชายและหญิง หรือแม้กระทั่งชั้นแยก และลิฟท์แยกต่างหาก เสื้อผ้าและรองเท้าจะได้รับการเปลี่ยนเป็นชุดยูกาตะและรองเท้าแตะที่ทางเข้า และอาจมีผ้าขนหนูและเสื้อคลุมอาบน้ำให้ด้วย กระเป๋า และสิ่งของมีค่ามักจะถูกเก็บไว้ในตู้เก็บของ หรือในตู้นิรภัยในห้อง (ถ้ามี)[4] ผู้เข้าพักจะถูกขอให้ไม่สูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารในแคปซูล[7]
ฐานลูกค้า
[แก้]ประโยชน์ของโรงแรมเหล่านี้คือความสะดวกสบายและราคาต่ำ โดยปกติประมาณ 2,000-4,000 เยน (ประมาณ 18–36 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อคืน
ในประเทศญี่ปุ่นโรงแรมแคปซูลถูกใช้ในอีกทางหนึ่ง โดยชาวญี่ปุ่นที่อาจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่าจะกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย หรือพลาดรถไฟขบวนสุดท้ายของวันเพื่อกลับบ้าน[8] ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยของญี่ปุ่น คนงานที่ว่างงานหรือทำงานรายชั่วโมง ซึ่งกลายเป็นคนไร้บ้านในช่วงวิกฤต จะเหมาเช่าแคปซูลชั่วคราวเป็นรายเดือน ในปี พ.ศ. 2553 ลูกค้าเหล่านี้คิดเป็น 30% ของผู้เข้าพักที่โรงแรมแคปซูล Shinjuku 510 ในโตเกียว[9]
คำวิจารณ์และข้อเสีย
[แก้]เนื่องจากพื้นที่ภายในขนาดเล็ก ฟอร์บส์แนะนำว่าแขกที่มีอาการกลัวที่แคบไม่ควรใช้โรงแรมแคปซูล[4]
โรงแรมแคปซูลบางแห่งอาจไม่มีเครื่องปรับอากาศภายในแคปซูล ทำให้การไหลเวียนของอากาศไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปิดม่านส่วนตัว หรือปิดประตู นอกจากนี้เนื่องจากผู้เข้าพักอยู่ใกล้กัน โดยกั้นด้วยเพียงผนังพลาสติกบาง ๆ จึงทำให้มีเสียงรบกวนจากแขกคนอื่น ๆ เช่นการกระแทกเข้ากับผนัง[4]
เนื่องจากโรงแรมแคปซูลบางแห่ง ได้รับการออกแบบมาสำหรับการเข้าพักหนึ่งคืน ผู้ใช้บริการที่ต้องการพักมากกว่าหนึ่งวัน จะต้องเช็คเอาท์และเช็คอินใหม่ทุกวัน[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pod Hotels: Small, Stylish, and Cheap". Fodors.com. December 31, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2015. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
- ↑ "Capsule Inn Osaka" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 24 December 2010.
- ↑ "Kotobuki Corporation History" (ภาษาญี่ปุ่น). Kotobuki Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-24. สืบค้นเมื่อ 24 December 2010.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Morrison, Geoffrey (24 July 2016). "What It's Like To Stay At A Japanese Capsule Hotel". Forbes. สืบค้นเมื่อ 29 December 2018.
- ↑ Schreiber, Mark (January 16, 2001). "Back to the future of a 'hotel for 2001'", The Japan Times, pp. 7–8.
- ↑ "Accommodation in Japan". Japan-guide.com. 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 2012-11-30.
- ↑ Solomon, Leonard (1997). Japan in a Nutshell. Top Hat Press, 115–166. ISBN 0-912509-06-6.
- ↑ Wardell, Steven (October 1994). "Capsule cure". Atlantic Monthly. 274 (4):42–47.
- ↑ Tabuchi, Hiroko. "For Some in Japan, Home Is a Tiny Plastic Bunk", The New York Times, 2010-01-01. Retrieved on 2010-01-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Capsule hotels