โรงเรียนพรตพิทยพยัต
โรงเรียนพรตพิทยพยัต Protpittayapayat School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
4 ถนนหลวงพรตพิทยพยัต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.ย. (p.y.) |
คำขวัญ | ประพฤติเป็นตรา วิชาเป็นทรัพย์ |
สถาปนา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2492 |
ผู้ก่อตั้ง | หลวงพรตพิทยพยัต, ท่านเลี่ยม บุนนาค |
หน่วยงานกำกับ | สำนักเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต2 |
รหัส | 1000101101 |
ผู้อำนวยการ | ดร.อาภาพร วรรณสุนธยา |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น |
สี | สีม่วง สีเหลือง |
เพลง | มาร์ชพรตพิทยพยัต |
เว็บไซต์ | www.prot.ac.th |
โรงเรียนพรตพิทยพยัต (อังกฤษ: Protpittayapayat School) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ก่อตั้งโดย หลวงพรตพิทยพยัต-ท่านเลี่ยม บุนนาค ผู้อำนวยการคนแรกคือ นายเขียน ขำปัญญา โรงเรียนพรตพิทยพยัตเป็นหนึ่งใน 500 โรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล[1]
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนพรตพิทยพยัตก่อตั้งบนที่ดิน 1,041 ไร่ของของ คุณหญิงเลี่ยม บุนนาคที่ได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สร้างสถาบันทางการศึกษาขึ้นในท้องที่เขตลาดกระบังเพื่อให้เยาวชนในเขตลาดกระบังได้มีการศึกษา
เลี่ยม บุนนาค ได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน เลี่ยมจึงได้เจริญรอยตามเจตนารมณ์เดิมของเจ้าคุณทหาร คือ ต้องการให้สร้างโรงเรียนขึ้นในท้องที่นี้ ท่านได้สร้างบ้านพักไว้ 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นในท้องที่ลาดกระบัง ได้ใช้บ้านพักของท่านเลี่ยมเป็นโรงเรียนชั่วคราวและ ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ศ.ดร.หลวงพรตพิทยพยัต ได้เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2492
ปี พ.ศ. 2500 ท่านเลี่ยมได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งให้โรงเรียนพรตพิทยพยัต จำนวน 200 ไร่ (นอกนั้นให้ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ต่อมาโรงเรียนพรตพิทยพยัตได้แบ่งที่ดิน จำนวน 63 ไร่ให้แก่วิทยาลัยช่างศิลป์ โรงเรียนพรตพิทยพยัตจึงเหลือที่ดิน 137 ไร่
เกี่ยวกับโรงเรียนพรตพิทยพยัต
[แก้]- พรตพิทยพยัต เป็นนามพระราชทานซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ ศ.ดร.พรตเดชา[2]
- "พรต" หมายถึง กิจวัตร การปฏิบัติ
- "พิทย" หมายถึง ความรู้
- "พยัต" หมายถึง ผู้เรียน ผู้รู้ เฉียบแหลบ
รวมความหมายว่า "ผู้ใฝ่หาวิชา ความรู้อยู่เป็นนิจ"
- โรงเรียนพรตพิทยพยัต ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครโดยมีพื้นที่ถึง 137 ไร่
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]- ห้องเรียนพิเศษ (ม.1-ม.6)
- (Gifted) ห้องเรียนวิทย์-คณิต
- (IEP) ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive english program)
- ห้องเรียนปกติ (ม.4-ม.6)
- สายวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ
- สายวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
- สายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- สายธุรกิจการค้าสมัยใหม่
- สายการท่องเที่ยวและการบริการ
- สายวิจิตรศิลป์นิเทศสร้างสรรค์
- สายมนุษย์ศาสตร์เพื่อการสื่อสาร เน้น ภาษาไทย
- สายมนุษย์ศาสตร์เพื่อการสื่อสาร เน้น ภาษาญี่ปุ่น
- สายมนุษย์ศาสตร์เพื่อการสื่อสาร เน้น ภาษาจีน
- สายมนุษย์ศาสตร์เพื่อการสื่อสาร เน้น ภาษาฝรั่งเศษ
- สายกฎหมายและการปกครอง
- สายเศรษฐศาสตร์และการจัดการเชิงพาณิชย์
- สายกีฬานันทนาการเพื่ออาชีพ
- สายนวัตกรรมการผลิตอาหารและการจัดการ
- สายการเรียนแบบปกติ
- สายการเรียนปกติจะมีแค่เฉพาะ ม.1-ม.3
อาคารสถานที่ในโรงเรียน
[แก้]อาคารเรียนหลักในโรงเรียนพรตพิทยพยัต
[แก้]- อาคารเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
- อาคารเจ้าคุณทหาร
- อาคารหลวงพรตพิทยพยัต
- อาคารท่านเลี่ยม บุนนาค
- อาคาร 48 ปี พรตพิทยพยัต
- อาคาร 60 ปี พรตพิทยพยัต
อาคารเรียนในโรงเรียนพรตพิทยพยัต
[แก้]- อาคารงานไฟฟ้าและงานไม้
- อาคารงานเขียนแบบและงานประดิษฐ์
- อาคารงานผ้าและดนตรี
- ศาลาลูกเสือ
ศูนย์กีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม
[แก้]ศูนย์กีฬาหลวงพรตท่านเลี่ยมก่อสร้างในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้ยกที่ดิน จำนวน 33 ไร่ ให้กรมพลศึกษา จัดสร้างสนามกีฬาแบบมาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องจนแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาทโดยมอบให้โรงเรียนพรตพิทยพยัตดูแลรักษา ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย
- สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยมมีอัฒจรรย์ความจุ 3,600 ที่นั่งพร้อมยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา
- สนามกีฬาในร่มพรตพิทยพยัต 50 ปี หรือโรงยิม 50 ปีพรตพิทยพยัต ภายในสนามมีความจุถึง 1,600 ที่นั่ง สามารถใช้แข่งกีฬาฟุตซอลและบาสเกตบอล
- สระว่ายน้ำท่านเลี่ยม ภายในสระวายน้ำมีอัฒจรรย์ความจุ 600 ที่นั่งสระขนาดมาตรฐาน 50 เมตร
- สนามบาสเกตบอล มีทั้งหมดสองสนามภายในศูนย์ (ทั้งโรงเรียน 5 สนาม)
- สนามเทนนิสสุดรักถาวร มีทั้งหมด 2 สนาม
- เรือนสีส้ม ใช้เป็นที่พักนักกีฬาและที่เก็บอุปกรณ์กีฬาเทนนิส
- สนามแบดมินตัน สนามแบดมินตันมีทั้งหมด 4 สนามตั้งอยู่ภายในหอประชุมใหญ่ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นที่ประชุมนักเรียนได้ด้วยและภายในหอประชุมใหญ่ยังมีเวทีมวยมาตรฐานอีก 1 เวที
อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยม
[แก้]อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยมเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดภายในโรงเรียนเพราะภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของตัว อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยมเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านทั้งสอง ตัวอนุสาวรีย์เองนั้นวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525 แต่ตัวอุทยานก่อสร้างในยุคต่อมานำโดย นายเฉลียว พงศาปาน ผู้บริหารในยุคนั้น
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส
[แก้]ละครเพลงภาษาฝรั่งเศสของโรงเรียนพรตพิทยพยัตจัดแสดงขึ้นในทุกปีโดยกลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องแรกที่จัดแสดงคือ Roméo et Juliette ในปี พ.ศ. 2545 [3]
ปีการศึกษา | ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบการแสดง |
---|---|---|---|
2545 | Roméo et Juliette | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 3 รอบการแสดง |
แสดงในงาน “เสมา’45 : เปิดโลกการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี |
1 รอบการแสดง | ||
2546 | Notre Dame de Paris | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 4 รอบการแสดง |
2547 | Cinderella | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 6 รอบการแสดง |
2548 | Roméo et Juliette | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 7 รอบการแสดง |
2549 | Moulin Rouge | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
2550 | Le Roi Soleil | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
2551 | Les mille et une vies d’Ali Baba | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
แสดงในงาน ”วันประชาคมโลกภาษาฝรั่งเศส”
โดยแสดงภายใน ออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ถนนสาทรใต้ |
1 รอบการแสดง | ||
2552 | Le Prince d’Egypte | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
แสดงในงาน ”วันประชาคมโลกภาษาฝรั่งเศส”
โดยแสดงภายใน ออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ถนนสาทรใต้ |
1 รอบการแสดง | ||
2553 | Zorro : l’homme derrière le masque | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
แสดงในงาน ”วันประชาคมโลกภาษาฝรั่งเศส”
โดยแสดงภายใน ออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ถนนสาทรใต้ |
1 รอบการแสดง | ||
แสดงในงาน บ้านหลังที่ 6 สื่อสารทางภาษา
ในนิทรรศการและการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 60 สุดยอดเด็กไทย ก้าวใหม่ที่ไกลกว่า ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี |
1 รอบการแสดง | ||
2554 | Dracula : Entre l’amour et la mort | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
แสดงในงานเทศกาลศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน ครั้งที่ 4
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร |
1 รอบการแสดง | ||
2555 | Lido : Théâtre de l’amour | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 9 รอบการแสดง |
แสดงในงานเทศกาลศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร |
1 รอบการแสดง | ||
2556 | Anastasia | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2557 | Oradour-sur-Glane | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2558 | Robin des Bois | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2559 | Le Petit Prince | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2560 | La Dame Verte | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2561 | Chenonceau : château des dames | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2562 | Notre dame : Notre Drame | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2565 | Le grand jour | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
2566 | L'amour de Rome | หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ | 10 รอบการแสดง |
เกียรติยศแผนการเรียนสายฝรั่งเศสโรงเรียนพรตพิทยพยัต เก็บถาวร 2014-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บุนนาคเกมส์
[แก้]กีฬาบุนนาคเกมส์ หรือกีฬาภายในได้มีการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของโรงเรียนแต่ในตอนนั้นยังไม่มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการจนในปี พ.ศ. 2544 นายเฉลียว พงศาปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้นได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า บุนนาคเกมส์ [4]
รายนามผู้บริหาร
[แก้]ลำดับ | ภาพ | ชื่อและนามสกุล | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | นายเขียน ขำปัญญา (5 พ.ค. 2456—24 ต.ค. 2528) |
พ.ศ. 2492 | พ.ศ. 2499 | เสียชีวิตแล้ว | |
2 | นายเสียง ผดุงชีวิต | พ.ศ. 2499 | พ.ศ. 2505 | - | |
3 | นายพยม ชุณหเสวี | พ.ศ. 2505 | พ.ศ. 2507 | - | |
4 | นายสมบูรณ์ ศิวารัตน์ | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2509 | - | |
5 | นายฉลวย กรุณามิตร | พ.ศ. 2509 | พ.ศ. 2510 | เสียชีวิตแล้ว | |
6 | นายบัญชา ตั้งใจ | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2523 | เสียชีวิตแล้ว | |
7 | นายอดิเรก รัตนธันญา | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2525 | - | |
8 | นายปรีชา สนแจ้ง | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2531 | - | |
9 | นายถนอม พิมพะนิตย์ | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2534 | - | |
10 | นายวิรัตน์ รักมาก | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2537 | - | |
11 | นายแคล้ว ทศน์พงษ์ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2539 | - | |
12 | นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2540 | - | |
13 | นางสังข์ อัตตัญญู | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2543 | - | |
14 | นายเฉลียว พงศาปาน | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2549 | - | |
15 | นายจีระศักดิ์ จันทุดม | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2550 | - | |
16 | นายวิสิทธ์ ใจเถิง | พ.ศ. 2550 |
พ.ศ. 2556 |
อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ กรุงเทพมหานคร | |
17 | นายสุรพล พาลี | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2558 | - | |
18 | นายธรรมรงค์ เสนจันทร์ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ.
2562
|
ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง | |
19 | นายประทีป ไชยเมือง | พ.ศ.2562 | พ.ศ.2565 | ||
20 | [1] เก็บถาวร 2023-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | นายดาวหยาด ขันธ์เพชร | พ.ศ.2566 | ปัจจุบัน | อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา |
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนพรตพิทยพยัต เก็บถาวร 2013-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์กลางชุมชนของนักเรียนโรงเรียนพรตพิทยพยัต เก็บถาวร 2013-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่โรงเรียนพรตพิทยพยัต
- Dek-Wit-2
- Prot Physics center by rawatrawat
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนพรตพิทยพยัต
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°43′35″N 100°47′04″E / 13.726523°N 100.784477°E
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โรงเรียนมาตรฐานสากล World-Class Standard School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ "เว็บไซต์โรงเรียนพรตพิทยพยัต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-09-26.
- ↑ "เว็บไซต์ศูนย์กลางชุมชนนักเรียนโรงเรียนพรตพิทยพยัต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-14.
- ↑ "เว็บไซต์ศูนย์กลางชุมชนนักเรียนโรงเรียนพรตพิทยพยัต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-14.