ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนบางกะปิ

พิกัด: 13°46′12″N 100°39′09″E / 13.770045°N 100.652523°E / 13.770045; 100.652523
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนบางกะปิ
Bangkapi School
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°46′12″N 100°39′09″E / 13.770045°N 100.652523°E / 13.770045; 100.652523
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ป.
BP
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สพฐ.
คำขวัญปญฺญา นรานํ รตนํ
(ปัญญาเป็นรัตนของนรชน)
สถาปนา25 มีนาคม พ.ศ. 2498; 69 ปีก่อน (2498-03-25)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1010206001
ผู้อำนวยการนายประจักษ์ ประจิมทิศ
จำนวนนักเรียน3,265 คน
พื้นที่49 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา
สี  เหลือง   น้ำเงิน
เพลงมาร์ชโสนบาน
ดอกไม้ประจำโรงเรียนโสน
เว็บไซต์www.bangkapi.ac.th

โรงเรียนบางกะปิ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายแห่งแรกของเขตบางกะปิ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ แบบสหศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนบางกะปิ ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 ซึ่งตรงข้ามกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า บนพื้นที่ 49 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา จำนวนนักเรียนประมาณ 3,265 คน ครู-อาจารย์ 157 คน

ประวัติ

[แก้]

อำเภอบางกะปิ ในอดีตเป็นอำเภอชั้นนอกของจังหวัดพระนครแต่เดิมเป็นท้องถิ่นเกษตรกรรม ไม่มีโรงเรียนมัธยมสามัญถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนจากชั้นนอกพระนครเมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้วจะต้องไปเรียนต่ออำเภอในพระนคร ทำให้นักเรียนสายสามัญกระจุกตัวแต่โรงเรียนในเขตพระนครมากเกินไป กระทรวงศึกษาธิการจึงให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางกะปิขึ้น เปิดสอนเป็นวันแรกวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดศรีบุญเรืองเป็นที่เรียนชั่วคราวจนกระทั่ง วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน จึงย้ายมาเรียน ณ สถานที่ปัจจุบัน (ที่ดินบางส่วนถูกตัดออกไปทำถนน จึงเหลือเพียง 49 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา ในปัจจุบัน ซึ่งกรมสามัญศึกษารับโอนมาจากการเคหะแห่งชาติ ตามโฉนดที่ดินที่ 15172 เล่มที่ 1516 ขึ้นทะเบียนราชพัสดุที่ 061260) ชั้นที่เปิดสอนครั้งแรก คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนชายหญิงรวม 81 คน ครู 3 คน มีนายสวัสดิ์ ผลโภคเป็นครูใหญ่คนแรก มีอาคารเรียน 1 หลัง บ้านพักครู 1 หลัง ห้องสุขา 3 ห้อง ปีแรก ๆ ที่เปิดทำการสอนชาวบ้านยังทำนารอบ ๆ โรงเรียน การเดินทางจึงต้องอาศัยการเดินเท้าไปตามคันนาเพราะไม่มีถนน

  • พ.ศ. 2499 จำนวนนักเรียน 155 คน ครู 8 คน เป็นโรงเรียน 1 ใน 4 โรงเรียนในเขตพระนคร-ธนบุรีที่รับเลือกตามโครงการทดลองและปรับปรุงโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2500 เป็นโรงเรียนทดลองและปรับปรุงการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาพุทธศักราช 2503
  • พ.ศ. 2502 เริ่มเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ. 2513 เริ่มใช้หลักสูตรโรงเรียนมัธยมแบบประสม (Comprehensive School) โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
  • พ.ศ. 2524 ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นในส่วนกลาง ครั้งที่ 1
  • พ.ศ. 2526 ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นในส่วนกลาง ครั้งที่ 2 และได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน
  • พ.ศ. 2527 จัดตั้งหน่วยการศึกษานอกโรงเรียนประเภทบุคคลภายนอก
  • พ.ศ. 2528 จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนบางกะปิ
  • พ.ศ. 2530 ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นในส่วนกลาง ครั้งที่ 3
  • พ.ศ. 2531 ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นในส่วนกลาง ครั้งที่ 4 เป็นโรงเรียนตัวอย่างในการปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมระบบงานนิเทศงานวิชาการรุ่นที่ 2 ของกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2533 เป็นโรงเรียนแม่แบบงานแนะแนวของกรมสามัญศึกษา รุ่นที่ 1
  • พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนในโครงการส่งเสริมพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (สพพ.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของกรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนศูนย์กีฬามวยสากลสมัครเล่นมาตรฐาน นวกาญจนา ปีนี้เองจำนวนนักเรียนโรงเรียนบางกะปิมีมากถึง 5,000 คน โดยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ผ่านการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ET) เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ได้คะแนนสูงสุดของประเทศในวิชาคณิตศาสตร์และนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ถึง 82 คน
  • พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และเริ่มจัดตั้งโรงเรียนบางกะปิสาขา (โรงเรียนบางกะปิสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์)
  • พ.ศ. 2538 เป็นศูนย์นิเทศวิชาภาษาฝรั่งเศส เป็นศูนย์นิเทศงานห้องสมุดของกรมสามัญศึกษาและเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาอุตสาหกรรม โรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 2
  • พ.ศ. 2540 ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดตั้งระบบ INTERNET ที่ www.bangkapi.ac.th และโครงการพระราชดำริ "โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง" (Sister Schools Project School Twinning)
  • พ.ศ. 2541 เป็นโรงเรียนประธานสหวิทยาเขตเสรีไทยและเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 2 และมีนักเรียนจำนวน 1,000 คน ร่วมการแสดงในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13
  • พ.ศ. 2542 เปิดอาคาร 45 ปี
  • พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณปรับปรุงสนามฟุตบอลและเปิดห้องเรียนสีเขียว
  • พ.ศ. 2544 ปรับปรุงลานกีฬาอเนกประสงค์
  • พ.ศ. 2545 ปรับปรุงลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์รอบสระน้ำหอพระ ห้องประชุมอาคารสวัสดิ์ ผลโภค ห้องเกียรติยศ ห้องสมุด สร้างทางเชื่อมระหว่างอาคาร ปรับปรุงถังน้ำดื่มและอ่างล้างหน้า
  • พ.ศ. 2546 สร้างถนนอาคารเชื่อมต่อทุกอาคารและทุกบริเวณ สร้างผนังปิดใต้ถุนอาคารทุกอาคาร สร้างอุทยานการศึกษา สร้างโรงอาหารขนาดใหญ่เชื่อมต่ออาคาร 45 ปี และปรับปรุงห้องอาหารครู สร้างอาคารเรียนเกษตรกรรม เรือนเพาะชำ เรือนเพาะเห็ด สร้างเรือนไทยเป็นศูนย์วัฒนธรรม ปรับปรุงช่องลมช่องแสงสว่างอาคารเรียน 4 ห้อง ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่รอบสนามกีฬา ปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์บ่อน้ำบริเวณเรือนเกษตร ปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์บ้านพักครู บ้านพักคนงาน ได้รับรางวัลระดับสหวิทยาเขตโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2547 ปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วมบริเวณโรงฝึกงาน ได้รับรางวัลเหรียญพระราชทาน “พฤกษานครา” แมกไม้มิ่งเมืองจากกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนดีเด่นในการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในสถานศึกษาจากเครือข่ายนิสิตนักศึกษาป้องกันโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ปรับพื้นที่คอนกรีตหลังบ้านพักภารโรงและทำท่อระบายน้ำทิ้งรวมระบายน้ำทิ้งใต้ดิน
  • พ.ศ. 2548 ปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนอาคาร 45 ปี ได้รับการประเมินมาตรฐานการศึกษาจากองค์กรมหาชน (สมศ.) เป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการ (แหล่งความรู้) ของเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และลงนามความร่วมมือโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องระหว่างโรงเรียนบางกะปิกับโรงเรียนมัธยมศึกษาศตวรรษแห่งเมืองต้าลี่ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2549 สร้างเสาธง ปรับปรุงห้องแนะแนวพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จัดห้องศิลปะศึกษาเพื่อแสดงผลงานนักเรียน ปรับห้องประชุมโสน2 เป็นห้องโสตทัศนศึกษา จัดทำป้ายพระบรมราโชวาทข้างอาคาร 1 จัดทำป้ายเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ (ร.9) หน้าอาคารสวัสดิ์ ผลโภค ปรับห้องพักผู้ปกครองพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จัดทำที่นั่งริมสนามบริเวณหน้าเสาธงและปรับภูมิทัศน์ในบริเวณโรงเรียน
  • พ.ศ. 2550 จัดทำห้องพักรับผู้ปกครอง จัดทำห้องออกกำลังกาย 23 ม.ค.51 - 1 ก.พ.51 ต้อนรับครู-น.ร.โรงเรียนมัธยมศึกษาศตวรรษใหม่ แห่งเมืองตาลี่ สาธารณรัฐประชาชนจีน 21-27 ก.พ.51 ต้อนรับครู-น.ร.ชาวอินเดีย โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจของสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการ “ศูนย์วิชาภาษาจีน” การจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียน
  • พ.ศ. 2551 โครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี "โรงเรียนพี่-โรงเรียนน้อง" โรงเรียนบางกะปิ-โรงเรียนบ้านนาบง โรงเรียนบ้านนาคอก จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    • โครงการสอนภาษาโดยเจ้าของภาษา (ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเสศ ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน)
    • โครงการความร่มมือพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2552 ปรับปรุงสนามฟุตบอล สร้างห้องศูนย์สื่อ ICT ทุกกลุ่มสาระ ปรับปรุง ทาสี อาคารสวัสดิ์ ผลโภค ปรับปรุงสนามฟุตบอล
  • พ.ศ. 2553 เตรียมความพร้อมเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าอาคาร 3 และร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน Energy Mind Award 2010
  • พ.ศ. 2554 เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสู่สากล (World Class Standard School) เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Inspiring to ASEAN 2015) และทำ MOU กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ปรับปรุงทาสีอาคาร ทำบันทึกข้อตกลงทางการ (MOU) ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยกับโรงเรียนมัธยมจี๋เหม่ โรงเรียนมัธยมลิ่วจงและมหาวิทยาลัยจี๋เหม่ ณ เมืองเซียะเหมิน มณฑลฟูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2555 สร้างหลังคาอเนกประสงค์และเสนอครูเข้ารับการคัดเลือกรางวัลหนึ่งแสนครูดี

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนบางกะปิ
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายสวัสดิ์ ผลโภค พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2511
2. นางลออศรี ชุมวรชาติ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2520
3. นางดุษฎี แก้วกำเนิด พ.ศ. 2520
4. นางนิตยา จูฑามาตย์ พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2523
5. ว่าที่ ร.ต. ดร.จรัญ โสตถิพันธุ์ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2527
6. นางจันทร์เพ็ญ เจริญผลารักษ์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531
7. นายเจริญ วงษ์พันธ์ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534
8. นายบรรจบ เสริมทอง พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537
9. นางศิริลักษณ์ นันทพิศาล พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
10. นายแคล้ว ทัศนพงษ์ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543
11. นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544
12. นายอุทัย รัตนพงษ์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
13. ดร.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550
14. ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555
15. ดร.พชรพงศ์ ตรีเทพา พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2556
16. นางทิพย์รัตน์ เด่นดำรงวิทย์ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557
17. ดร.ถวิล ศรีใจงาม พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561
18. ว่าที่ร้อยตรี ดร. ทวีศักดิ์ ยศถา พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563
19. นายประจักษ์ ประจิมทิศ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

รายนามศิษย์เก่าโรงเรียนบางกะปิที่มีชื่อเสียง

[แก้]

คณะต่าง ๆ ของนักเรียนโรงเรียนบางกะปิ

[แก้]

โรงเรียนบางกะปิมีคณะนักเรียน ทั้งสิ้น 6 คณะ ดังนี้

  • คณะเฟื่องฟ้า (สีแดง)  
  • คณะยูงทอง (สีส้ม)  
  • คณะสารภี (สีเขียว)  
  • คณะอินทนิล (สีม่วง)  
  • คณะจามจุรี (สีชมพู)  
  • คณะการะเกด (สีฟ้า)  

โรงเรียนบางกะปิสาขา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°46′12″N 100°39′09″E / 13.770045°N 100.652523°E / 13.770045; 100.652523{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้