ข้ามไปเนื้อหา

โพธิพงษ์ ล่ำซำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โพธิพงษ์ ล่ำซำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ไพฑูรย์ แก้วทอง
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการศุภชัย พานิชภักดิ์
ก่อนหน้าวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
พจน์ วิเทตยนตรกิจ
ถัดไปประวิช รัตนเพียร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2539–ปัจจุบัน)
คู่สมรสยุพา ล่ำซำ (สมรส 2505)
บุตรนวลพรรณ ล่ำซำ
วรรณพร พรประภา

โพธิพงษ์ ล่ำซำ (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน หลีกภัย อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บริหารกิจการกลุ่มประกันชีวิต-ประกันภัยของตระกูลล่ำซำ

ประวัติ

[แก้]

โพธิพงษ์ เกิดวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 สมรสกับนางยุพา ล่ำซำ เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (83 ปี) มีบุตรสาว 2 คนคือ นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย วรรณพร พรประภา สถาปนิกและภูมิสถาปนิกเจ้าของสำนักงานออกแบบ พีแลนด์สเคป (PLA) และบุตรชายคือ สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2500 และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเทมเพิล ในปี พ.ศ. 2503

การเมือง

[แก้]

นายโพธิพงษ์ เข้าสู่วงการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[2] ต่อมาได้เริ่มทำงานการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์จากการชักชวนของ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ที่เคยรู้จักมักคุ้นรู้ฝีมือกันมาก่อน สมัยที่นายพิเชษฐทำงานในกระทรวงเศรษฐกิจ และนายโพธิพงษ์อยู่ที่ สภาหอการค้า

ในที่สุดนายโพธิพงษ์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน 2 หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากสามารถประสานงานกับหอการค้าได้ทั่วประเทศ นอกจากฝีมือและเครือข่ายในการทำงาน นายโพธิพงษ์ยังเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยยอดบริจาคระดับ 10 ล้านบาท

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4]

กรรมการต่าง ๆ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  4. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า ๑ เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า ๙ เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, หน้า ๔ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔