โพคาฮอนทัส (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2538)
โพคาฮอนทัส | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ |
|
เขียนบท |
|
เนื้อเรื่อง |
|
สร้างจาก | โพคาฮอนทัส |
อำนวยการสร้าง | จิม เพนเทคอสต์ |
นักแสดงนำ |
|
ตัดต่อ | เอช. ลี ปีเตอร์สัน |
ดนตรีประกอบ | อลัน เมนเคน |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | บวยนาวิสพิกเชอดิสทริบิวชัน[a] |
วันฉาย |
|
ความยาว | 81 นาที[2] |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
ทำเงิน | 346.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] |
โพคาฮอนทัส (อังกฤษ: Pocahontas) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแนวดนตรีประวัติศาสตร์อเมริกันปี 1995 ดัดแปลงมาจากชีวิตของโพคาฮอนทัส หญิงชาวพาวฮาทัน และการมาถึงของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษจากบริษัทเวอร์จิเนีย ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงการพบกันระหว่างโพคาฮอนทัสกับจอห์น สมิธ และการช่วยชีวิตเขาไว้ในตำนาน ภาพยนตร์เรื่องนี้ผลิตโดยวอลต์ดิสนีย์ฟีเจอร์แอนิเมชัน และออกฉายโดยวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยไมก์ กาเบรียล และเอริก โกลด์เบิร์ก (ซึ่งเป็นผลงานกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของเขา) และอำนวยการสร้างโดยจิม เพนเทคอสต์ จากบทภาพยนตร์ที่เขียนโดยคาร์ล บินเดอร์, ซูซานนาห์ แกรนต์ และฟิลิป ลาเซ็บนิก ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดยไอรีน เบดาร์ด และเมล กิบสัน พากย์เสียงเป็นโพคาฮอนทัสและสมิธตามลำดับ พร้อมด้วยเดวิด อ็อกเดน สเตียร์ส, รัสเซล มีนส์, คริสเตียน เบล, มิเชลล์ เซนต์จอห์น, เจมส์ อพามุต ฟอลล์, บิลลี คอนโนลลี, โจ เบเกอร์, กอร์ดอน ทูโตซิส และลินดา ฮันต์ ในบทบาทสมทบ ดนตรีประกอบประพันธ์โดยอลัน เมนเคน ซึ่งเขียนเพลงประกอบภาพยนตร์ร่วมกับสตีเฟน ชวาร์ตซ์ ผู้แต่งเนื้อเพลงด้วย
หลังจากเปิดตัวในฐานะผู้กำกับด้วยเรื่อง หนูหริ่งหนูหรั่งปฏิบัติการแดนจิงโจ้ (1990) กาเบรียลก็ได้คิดไอเดียเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้า โกลด์เบิร์กเพิ่งจะเสร็จสิ้นงานในตำแหน่งผู้ควบคุมดูแลแอนิเมเตอร์ของจินนีในเรื่อง อะลาดิน (1992) ได้ร่วมเป็นผู้กำกับร่วมกับกาเบรียล โครงการนี้เข้าสู่การพัฒนาพร้อมกับเรื่อง เดอะไลอ้อนคิง (1994) และดึงดูดนักแอนิเมเตอร์ชั้นนำของดิสนีย์ได้เกือบทุกคน ในขณะเดียวกัน เจฟฟรีย์ แคตเซนเบิร์ก ประธานดิสนีย์สตูดิโอได้ตัดสินใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ควรเป็นมหากาพย์ความรักที่เปี่ยมอารมณ์ในแนวทางเดียวกับโฉมงามกับเจ้าชายอสูร (1991) โดยหวังว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับโฉมงามกับเจ้าชายอสูร ผู้เขียนบทภาพยนตร์อย่างบินเดอร์ แกรนต์ และลาเซ็บนิกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระกับประวัติศาสตร์เพื่อพยายามทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับของผู้ชม
โพคาฮอนทัสฉายรอบปฐมทัศน์ที่เซ็นทรัลพาร์กเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1995 และออกฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยได้รับทั้งเสียงตอบรับที่หลากหลายจากนักวิจารณ์และผู้ชม ซึ่งได้ชื่นชมทั้งแอนิเมชัน การแสดงเสียง และดนตรี แต่วิจารณ์เรื่องราวว่าขาดการเน้นโทนเรื่อง ความไม่แม่นยำทางประวัติศาสตร์ และการใช้สิทธิ์ทางศิลปะของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ขัดแย้งกัน โพคาฮอนทัสทำรายได้มากกว่า 346 ล้านดอลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์สองรางวัลในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสำหรับเมนเคน และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสำหรับ "Colors of the Wind" ตามคำกล่าวของนักวิจารณ์ การพรรณนาถึงโพคาฮอนทัสในฐานะนางเอกผู้มีพลังอำนาจมีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่องอื่น ๆ เช่น มู่หลาน (1998) และผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (2013)[4] ภาพยนตร์เรื่องนี้ตามมาด้วยภาคต่อด้วยภาพยนตร์แผ่นในปี 1998 ชื่อว่า โพคาฮอนทัส 2 : ตำนานใหม่แห่งความรัก
นักพากย์เสียง
[แก้]- ไอรีน เบดาร์ด รับบทเป็น โพคาฮอนทัส, ลูกสาวของหัวหน้าเผ่าพาวฮาทัน เธอเป็นคนชอบผจญภัยมาก และไม่ทำตามคำสั่งของพ่อที่ห้ามไม่ให้พบกับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษอย่างเคร่งครัด และเธอก็ตกหลุมรักกัปตันจอห์น สมิธ
- จูดี คูน รับบทเป็น เสียงร้องของโพคาฮอนทัส
- เมล กิบสัน รับบทเป็น จอห์น สมิธ, โพคาฮอนทัสเป็นที่สนใจของใครหลายคน เขาเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานเพียงคนเดียวในเจมส์ทาวน์ที่เต็มใจเป็นมิตรกับชาวพื้นเมือง เนื่องจากเขารักโพคาฮอนทัส จึงทำให้เขาเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อวัฒนธรรมอื่น ๆ
- เดวิด อ็อกเดน สเตียร์ส รับบทเป็น ผู้ว่าการแรตคลิฟฟ์, ผู้ว่าการผู้โลภและเย่อหยิ่งของผู้ตั้งถิ่นฐานซึ่งเป็นผู้นำคณะสำรวจไปยังเวอร์จิเนียเพื่อค้นหาทองคำและสมบัติอื่น ๆ ที่เขาต้องการเก็บไว้เป็นของตัวเอง
- สเตียร์สยังให้เสียงพากย์เป็นวิกกินส์ คนรับใช้ของแรตคลิฟฟ์อีกด้วย ต่างจากแรตคลิฟฟ์ วิกกินส์เป็นคนอ่อนโยนและมีจิตใจดี แต่เขากลับต้องติดอยู่กับการรับใช้ชายเลว ๆ คนหนึ่ง
- จอห์น คาสเซอร์ รับบทเป็น มีโก, แร็กคูนเลี้ยงแสนซนของโพคาฮอนทัสที่เป็นมิตรกับจอห์น สมิธ และชอบกินอาหาร
- รัสเซล มีนส์ รับบทเป็น หัวหน้าเผ่าพาวฮาทัน, พ่อของโพคาฮอนทัสและหัวหน้าเผ่าพาวฮาทันซึ่งตอนแรกไม่ไว้ใจผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษ แต่ในที่สุดก็ได้เรียนรู้ที่จะสร้างสันติกับพวกเขาผ่านทางลูกสาวของเขา
- จิม คัมมิงส์ ให้เสียงร้องของหัวหน้าเผ่าพาวฮาทัน
- คริสเตียน เบล รับบทเป็น โทมัส, เพื่อนที่ซื่อสัตย์ของจอห์น สมิธ ซึ่งเหมือนกับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษคนอื่น ๆ ที่ได้รับคำสั่งจากแรตคลิฟฟ์ให้ยิงชาวพื้นเมืองทันทีที่พบเห็น แต่สุดท้ายเขาก็ขัดคำสั่งของแรตคลิฟฟ์
- บิลลี คอนโนลลี รับบทเป็น เบน, และโจ เบเกอร์ รับบทเป็น ลอน สองผู้ตั้งถิ่นฐานและเป็นเพื่อนของจอห์น สมิธ
- ลินดา ฮันต์ รับบทเป็น คุณยายวิลโลว์, ต้นหลิวที่สามารถพูดได้และทำหน้าที่เป็นผู้นำทางให้กับโพคาฮอนทัสในยามที่ไม่แน่นอน
- แดนนี แมน รับบทเป็น เพอร์ซี, สุนัขปั๊กผู้เย่อหยิ่งและขี้โมโหของผู้ว่าการแรตคลิฟฟ์ ซึ่งตอนแรกมีความรู้สึกเป็นศัตรูกับมีโก แต่สุดท้ายก็กลายมาเป็นเพื่อนกับเขาและทิ้งเจ้าของไป
- แฟรงก์ เวลเกอร์ รับบทเป็น ฟลิต, ฮัมมิงเบิร์ดเลี้ยงของโพคาฮอนทัสผู้กระตือรือร้นที่ชอบโคคัมมากกว่าจอห์น สมิธ แต่สุดท้ายก็ได้เป็นเพื่อนกับจอห์น สมิธ
- มิเชลล์ เซนต์จอห์น รับบทเป็น นาโกมะ, เพื่อนที่ดีที่สุดของโพคาฮอนทัสที่เป็นคนสบาย ๆ ซึ่งแตกต่างกับจิตวิญญาณผจญภัยของโพคาฮอนทัส
- เจมส์ อพามุต ฟอลล์ รับบทเป็น โคคัม, นักรบเผ่าพาวฮาทันที่แข็งแกร่งและกล้าหาญ แต่เข้มงวดและก้าวร้าว ซึ่งหัวหน้าเผ่าพาวฮาทันต้องการให้โพคาฮอนทัสแต่งงานด้วย
- กอร์ดอน ทูโตซิส รับบทเป็น เกกาตา, หมอผีแห่งเผ่าพาวฮาทัน
- จิม คัมมิงส์ เป็นผู้ให้เสียงร้องของเกกาตา
การตอบรับ
[แก้]รางวัล
[แก้]รายชื่อรางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง | |||||
---|---|---|---|---|---|
รางวัล | สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล | อ้างอิง | |
Academy Awards | Best Original Musical or Comedy Score | Music and Orchestral Score by Alan Menken; Lyrics by Stephen Schwartz |
ชนะ | [5] | |
Best Original Song | "Colors of the Wind" Music by Alan Menken; Lyrics by Stephen Schwartz |
ชนะ | |||
Annie Awards | Best Animated Feature | ชนะ | [6] | ||
Best Individual Achievement in Animation | Chris Buck (Supervising Animator for "Grandmother Willow") | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
David Pruiksma (Supervising Animator for "Flit") | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
Nik Ranieri (Supervising Animator for "Meeko") | ชนะ | ||||
Best Achievement in Music | Composer: Alan Menken; Lyricist: Stephen Schwartz |
ชนะ | |||
Best Achievement in Production Design | Rasoul Azadani (Layout Artistic Supervisor) | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
Michael Giaimo (Art Director) | ชนะ | ||||
Artios Awards | Outstanding Achievement in Animated Voice-Over Casting | Brian Chavanne and Ruth Lambert | ชนะ | [7] | |
ASCAP Film and Television Music Awards | Top Box Office Films | Stephen Schwartz | ชนะ | ||
Most Performed Songs from Motion Pictures | "Colors of the Wind" Music by Alan Menken; Lyrics by Stephen Schwartz |
ชนะ | |||
BMI Film & TV Awards | Film Music Award | Alan Menken | ชนะ | ||
Environmental Media Awards | Best Feature Film | ชนะ | [8] | ||
Golden Globe Awards | Best Original Score – Motion Picture | Alan Menken | เสนอชื่อเข้าชิง | [9] | |
Best Original Song – Motion Picture | "Colors of the Wind" Music by Alan Menken; Lyrics by Stephen Schwartz |
ชนะ | |||
Golden Reel Awards | Best Sound Editing – Music (Animated) | Kathleen Fogarty-Bennett | ชนะ | [10] | |
Golden Screen Awards | ชนะ | ||||
Grammy Awards | Best Female Pop Vocal Performance | "Colors of the Wind" – Vanessa Williams | เสนอชื่อเข้าชิง | [11] | |
Best Musical Album for Children | Pocahontas Sing-Along – Various Artists | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
Best Song Written Specifically for a Motion Picture or for Television | "Colors of the Wind" – Alan Menken and Stephen Schwartz | ชนะ | |||
Young Artist Awards | Best Family Feature – Musical or Comedy | เสนอชื่อเข้าชิง | [12] |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ จัดจำหน่ายโดยบวยนาวิสพิกเชอดิสทริบิวชันผ่านทางแบนเนอร์ของวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Pocahontas (1995)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2022. สืบค้นเมื่อ August 24, 2022.
- ↑ "Pocahontas (1995)". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2022. สืบค้นเมื่อ September 21, 2022.
- ↑ "Pocahontas (1995) – Financial Information". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2013. สืบค้นเมื่อ April 16, 2020.
- ↑ Gilbert, Sophie (June 23, 2015). "Revisiting Pocahontas at 20". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 23, 2017.
- ↑ "The 68th Academy Awards (1996) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. October 5, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
- ↑ "23rd Annual Annie Awards". Annie Awards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2021. สืบค้นเมื่อ June 6, 2021.
- ↑ "1996 Artios Awards". Casting Society of America. October 15, 1996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
- ↑ "EMA Awards Past Recipients and Honorees". Hollywood Foreign Press Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
- ↑ "Pocahontas". Golden Globe Awards. สืบค้นเมื่อ July 5, 2021.
- ↑ Giardina, Carolyn (February 3, 2014). "Supervising Sound Editor and Designer Lon Bender Joins Formosa Group". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
- ↑ "38th Annual GRAMMY Awards". Grammy Awards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2022. สืบค้นเมื่อ May 1, 2011.
- ↑ "17th Youth in Film Awards". Young Artist Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2011. สืบค้นเมื่อ March 31, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ โพคาฮอนทัส (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2538)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pocahontas (1995 film)
- เว็บไซต์ทางการ
- Pocahontas ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Pocahontas ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- Pocahontas ที่รอตเทนโทเมโทส์
- Pocahontas: 10th Anniversary Edition DVD Review and Interview
- Disney's Pocahontas: Conversations with Native American and Euro-American Girls – Report on focus groups conducted by Amy Aidman with girls ages nine to thirteen
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2538
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- ภาพยนตร์แอนิเมชันอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ภาพยนตร์แอนิเมชันในปี พ.ศ. 2538
- ภาพยนตร์ตลกดรามาอเมริกัน
- ภาพยนตร์อเมริกันที่สร้างจากเหตุการณ์จริง
- ภาพยนตร์ดรามาเพลงอเมริกัน
- ภาพยนตร์รักดรามาอเมริกัน
- ภาพยนตร์เพลงรักอเมริกัน
- ภาพยนตร์แอนิเมชันแนวรัก
- ดิสนีย์เรอเนซองส์
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับความรักต่างเชื้อชาติ
- ภาพยนตร์ดัดแปลงเป็นการ์ตูน
- ภาพยนตร์โดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์
- ภาพยนตร์สิ่งแวดล้อม