โปเก
โปเกอาฮี ทำจากปลาทูน่าครีบเหลือง ซอสถั่วเหลือง เกลือสมุทร ต้นหอม หัวหอมหวาน และลิมู | |
ประเภท | ยำ |
---|---|
มื้อ | อาหารเรียกน้ำย่อย |
แหล่งกำเนิด | ฮาวายโบราณ[1][2] |
ภูมิภาค | ฮาวาย[1][2] |
ส่วนผสมหลัก | ปลาทูน่าครีบเหลือง, เกลือสมุทร, ซอสถั่วเหลือง, อินาโมนา, น้ำมันงา, ลิมู, พริก |
โปเก (ฮาวาย: poke; แปลว่า แล่บาง ๆ, หั่นตามขวางเป็นชิ้น ๆ)[3][4] คือยำปลาดิบหั่นลูกเต๋าที่เสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยหรืออาหารจานหลัก และเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองฮาวายที่สำคัญ โปเกรูปแบบดั้งเดิมได้แก่รูปแบบที่ใส่ อากู (ปลาโอแถบ), อาฮี (ปลาทูน่าครีบเหลือง) หรือ เฮเอ (หมึกสาย) ในเวลาต่อมาจึงมีการใส่ปลาแซลมอนดิบหรือสัตว์น้ำเปลือกแข็งชนิดต่าง ๆ ผสมเครื่องปรุงรสทั่วไปของโปเก[5]
ประวัติ
[แก้]โปเกรูปแบบดั้งเดิมของฮาวายมีส่วนผสมเป็นปลาที่ถูกขอดเกล็ด ควักไส้ และเลาะก้างออก เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องปรุงรสดั้งเดิม เช่น เกลือสมุทร อินาโมนา (ผลโพธิสัตว์คั่วบด) ลิมู (สาหร่ายทะเล) เป็นต้น[6] ตามข้อมูลของเรเชิล ลอดัน นักประวัติศาสตร์อาหาร โปเกรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1970 ในช่วงนั้นนิยมใช้เนื้อปลาดิบแล่ เสิร์ฟพร้อมเกลือฮาวาย ลิมู และอินาโมนา โปเกรูปแบบนี้ยังคงพบได้ทั่วไปในหมู่เกาะฮาวาย[2]
ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 2012 โปเกเริ่มเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐแผ่นดินใหญ่[7] ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 จนถึงกลาง ค.ศ. 2016 "จำนวนร้านอาหารฮาวายในโฟร์สแควร์ซึ่งรวมถึงร้านที่เสิร์ฟโปเก" เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 342 ร้าน เป็น 700 ร้าน[7] ร้านอาหารเหล่านี้ได้สร้างสรรค์โปเกทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ ตัวอย่างส่วนผสมและเครื่องปรุงรสโปเกรูปแบบใหม่ได้แก่ อาโวคาโด มะม่วงสุก สับปะรด แคร์รอต มะเขือเทศ แตงกวา ฆาลาเปญโญดอง เห็ด ถั่วแระ ถั่วงอก เต้าหู้ คีนวา หอมเจียว ผักชี วากาเมะ ฟูริตาเกะ โทบิโกะ (ไข่ปลาบิน) มายองเนส ซอสพนซุ ซอสเทริยากิ และซอสศรีราชา โปเกในสหรัฐแผ่นดินใหญ่ต่างจากโปเกดั้งเดิมของฮาวายตรงที่ไม่มีการหมักเนื้อปลาเตรียมไว้ก่อน แต่จะนำมาเคล้ากับเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ต่อเมื่อมีลูกค้าสั่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Matt Dean Pettit (10 April 2018). The Great Shellfish Cookbook: From Sea to Table: More than 100 Recipes to Cook at Home. Appetite by Random House. p. 161. ISBN 978-0-14-753058-5.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Laudan, Rachel (1996). The Food of Paradise: Exploring Hawaii's Culinary Heritage. University of Hawaii Press. pp. 37–38. ISBN 9780824817787. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
- ↑ Martha Cheng (24 January 2017). The Poke Cookbook: The Freshest Way to Eat Fish. Potter/Ten Speed/Harmony/Rodale. pp. 7–8. ISBN 978-0-451-49807-6.
- ↑ Mary Kawena Pukui and Samuel Hoyt Elbert (2003). "poke." in Hawaiian Dictionary. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii Press.
- ↑ Talwar, Kalei (17 July 2009). "Make Hawaii-style ahi poke wherever you are. Here's a recipe". Hawaii Magazine. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24.
- ↑ "Hawaiian Ahi Tuna Poke Recipe and History, How To Make Poke, Whats Cooking America". whatscookingamerica.net. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24.
- ↑ 7.0 7.1 Vince Dixon, Data Dive: Tracking the Poke Trend: Proof that the Hawaiian dish is here to stay, Eater (September 14, 2016).