โบอิง 747-400
โบอิง 747-400 | |
---|---|
โบอิง 747-400 ของบริติชแอร์เวย์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานลำตัวกว้าง |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
สถานะ | ออกจากการผลิต, ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | ลุฟต์ฮันซา |
จำนวนที่ผลิต | 694 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | รุ่นผู้โดยสาร: ค.ศ. 1988-2005 รุ่นขนส่งสินค้า: ค.ศ. 1993-2009 รุ่น Combi: ค.ศ. 1989-2002 |
เริ่มใช้งาน | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 โดยนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ |
เที่ยวบินแรก | 29 เมษายน ค.ศ. 1988 |
พัฒนาจาก | โบอิง 747-300 |
สายการผลิต | โบอิง YAL-1 โบอิง ดรีมลิฟเตอร์ |
พัฒนาเป็น | โบอิง 747-8 |
โบอิง 747-400 เป็นเครื่องบินรุ่นรองล่าสุดของ โบอิง 747 ถูกแทนที่โดยโบอิง 747-8 ที่ปรับปรุงแล้ว ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง และเคยเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดจนกระทั่งการให้บริการของแอร์บัส เอ 380
โบอิงเปิดตัว 747-400 อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1985 โดยเครื่องบินลำแรกสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1988 และเริ่มทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1988 จนกระทั่งในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1989 จึงได้มีการส่งมอบ 747-400 ลำแรกให้กับนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์[1] ทั้งนี้การผลิตเครื่องบินรุ่น 747-400 สิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2007 พร้อมกับการยกเลิกคำสั่งซื้อของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ (ซึ่งเปลี่ยนเป็นโบอิง777-300อีอาร์แทน) เครื่องลำสุดท้ายส่งมอบให้กับไชนาแอร์ไลน์ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005
รุ่น
[แก้]747-400
[แก้]747-400 ขยายความกว้างของปีกอีก 2 เมตร (6 ฟุต) รวมถึงติดตั้งวิงเล็ตอีก 2 เมตร (6 ฟุต) เมื่อเทียบกับรุ่น -300 และยังขยายความยาวพื้นที่ของชั้นสองเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้แม้ว่าความยาวของปีกจะเพิ่ม แต่น้ำหนักของปีกลดลง เนื่องจากใช้วัสดุคอมโพสิตและอะลูมิเนียมอัลลอย
การผลิตของ 747-400 สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2007[2] โดยผู้สั่งซื้อลำสุดท้ายเป็นของไชน่าแอร์ไลน์เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และส่งมอบเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007
747-400F
[แก้]747-400เอฟ (Freighter; F) เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า ซึ่งใช้ลำตัวเครื่องจาก 747-200F และแตกต่างจาก -400 ที่เป็นเครื่องบินโดยสาร ตรงที่ความยาวของชั้นสองสั้นกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยเริ่มทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และเริ่มให้บริการครั้งแรกโดยคาร์โกลักซ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 และมีลูกค้าหลักอย่างโคเรียนแอร์, คาร์โกลักซ์, ไชน่าแอร์ไลน์, โพลาร์แอร์คาร์โก, นิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์ และแอตลาสแอร์
ทั้งนี้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้สั่งซื้อ 747-400F ไป 7 ลำ และดัดแปลงใหม่เป็นเครื่องบิน Airborne Laser โดยติดตั้งเครื่องยิงแสงเลเซอร์ไว้ที่ปลายจมูกเครื่องบิน และให้ชื่อเรียกว่า โบอิง YAL-1A
747-400M
[แก้]747-400เอ็ม (Combi; C) เป็นเครื่องบินผสมระหว่างเครื่องบินโดยสาร และเครื่องบินขนส่งสินค้า โดยมีประตูขนถ่ายสินค้าที่ด้านท้ายลำตัวเครื่อง -400M เริ่มทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1989 และเริ่มให้บริการครั้งแรกโดยเคแอลเอ็ม เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1989
747-400D
[แก้]747-400ดี (Domestic; D) เป็นความต้องการพิเศษจากเจแปนแอร์ไลน์ ที่ต้องการให้บริการเที่ยวบินระยะสั้นภายในประเทศ โดยจัดผังที่นั่งใหม่ สามารถจุผู้โดยสารได้สูงสุด 568 ที่นั่งสำหรับการจัดแบบ 3 ชั้นบิน และ 660 ที่นั่งสำหรับการจัดแบบที่นั่งชั้นประหยัดเพียงอย่างเดียว โดย -400D จะไม่เพิ่มความยาวของปีกและวิงเล็ตเหมือนรุ่นอื่นๆ เพราะไม่มีความจำเป็นสำหรับเที่ยวบินระยะสั้น และมีจำนวนเที่ยวบินที่ขึ้นลงบ่อยครั้ง ทั้งนี้ -400D สามารถปรับเปลี่ยนให้รุ่นที่มีพิสัยบินระยะไกลได้เมื่อต้องการ
747-400ดี เริ่มทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1991 และเริ่มให้บริการครั้งแรกโดยเจแปนแอร์ไลน์ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1991
747-400ER
[แก้]747-400อีอาร์ (Extended range; ER) เป็นรุ่นปรับปรุงให้มีพิสัยการบินมากกว่าเดิม 805 กิโลเมตร หรือสามารถบรรทุกสินค้าได้มากกว่าเดิม 6,800 กิโลกรัม และมีการตกแต่งภายในแบบเดียวกับโบอิง 777 ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นการตกแต่งที่เป็นสัญลักษณ์ของโบอิง (Boeing Signature Interior) พร้อมเพิ่มทางเลือกการเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง 3,240 แกลลอน 1 หรือ 2 ถัง ไว้ในส่วนห้องเก็บสินค้าด้านหน้าอีกด้วย
747-400อีอาร์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งมอบครั้งแรกให้กับควอนตัสเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2002
747-400ERF
[แก้]747-400ERF เป็นรุ่นขนส่งสินค้าของ -400อีอาร์ โดยสามารถบรรทุกได้สูงสุด 112,760 กิโลกรัม (248,600 ปอนด์) มากกว่ารุ่น -400เอฟ อยู่ 9,980 กิโลกรัม (22,000 ปอนด์) ที่น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้นเท่ากัน ทั้งนี้ -400ERF มีพิสัยบินสูงสุด 9,200 กิโลเมตร ไกลกว่า -400F อยู่ประมาณ 525 กิโลเมตร ทั้งนี้รุ่นขนส่งสินค้าของ 747-8 จะสามารถบรรทุกสินค้าได้มากกว่า แต่มีพิสัยบินใกล้กว่า -400อีอาร์เอฟ
747-400BCF
[แก้]747-400บีซีเอฟ (Boeing Converted Freighter; BCF) หรือเดิมคือ 747-400เอสเอฟ (Special Freighter; SF) เป็นรุ่นที่ปรับเปลี่ยนจากเครื่องบินโดยสาร 747-400 มาเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า โดยเริ่มโครงการนี้เมื่อปี 2004 และเครื่องลำแรกที่ได้ปรับเปลี่ยนแล้วส่งมอบให้กับคาเธย์แปซิฟิกคาร์โก เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2005
747 LCF ดรีมลิฟเตอร์
[แก้]747 แอลซีเอฟ ดรีมลิฟเตอร์ (Large Cargo Freighter; LCF) หรือ โบอิง ดรีมลิฟเตอร์ เป็นรุ่นดัดแปลงของเครื่องบิน 747-400 เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อใช้สำหรับการขนส่งชิ้นส่วนของโบอิง 787มายังโรงงานผลิตเครื่องบินที่เอเวอร์เร็ตต์ รัฐวอชิงตัน[3] ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาการขนส่งชิ้นส่วนกว่าการขนส่งทางเรือ โดยลำตัวเครื่องบินของแอลซีเอฟจะคล้ายกับซุปเปอร์กัปปี และแอร์บัส เบลูกา ออกแบบโดยสำนักงานโบอิงที่มอสโก[4] โดยเครื่องรุ่นนี้จะให้บริการโดย เอเวอร์กรีนอินเตอร์เนชั่นเนลแอร์ไลน์ และโบอิงจะไม่ผลิตเครื่องรุ่นนี้ออกขายให้กับลูกค้ารายอื่น และโบอิงจะใช้สำหรับการขนส่งพิเศษของโบอิงเอง
ผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 มีเโบอิง 747-400 จำนวน 269 ลำให้บริการ โดยส่วนใหญ่เป็นรุ่นขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการผู้โดยสารรายใหญ่ที่สุด ได้แก่แอทลัสแอร์ (35), คาลิตาแอร์ (24), ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก้ (17), โรซิยะห์แอร์ไลน์ (9),และ ลุฟท์ฮันซ่า (8)
ผู้ให้บริการในอดีต
[แก้]รายชื่อนี้ยังรวมถึงผู้ให้บริการที่ใช้เครื่องบินชั่วคราวนอกเหนือจากผู้ให้บริการหลัก:
- แอโรลิเนียส อาร์เจนติน่า
- แอโรเซอร์
- แอร์แคนาดา
- แอร์คาร์โก้เยอรมนี
- แอร์ฟรานซ์
- แอร์อินเดีย[5]
- แอร์นามิเบีย
- แอร์นิวซีแลนด์
- แอร์แปซิฟิก
- อัลเวเฟอร์แอร์
- อาลีตาเลียคาร์โก้
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- อันแซตออสเตรเลีย
- อาเบียงกา
- บังกลาเทศพิมาน
- บลูสกายแอร์ไลน์
- บริติชแอร์เวย์
- บริติชแอร์เวย์เวิลด์คาร์โก้
- แคเนเดียนแอร์ไลน์
- คาร์โก้บีแอร์ไลน์
- คาเธ่ย์แปซิฟิก
- ไชนาแอร์ไลน์
- ค็อนดอร์
- คอร์สแอร์
- เดลตาแอร์ไลน์
- ดราก้อนแอร์คาร์โก้
- เอมิเรตส์สกาย คาร์โก
- เอทิฮัดคาร์โก้
- อีวีเอแอร์
- แอลอัล
- เอเวอร์กรีนอินเตอร์เนชั่นเนลแอร์ไลน์
- ฟลายแนส
- การูดาอินโดนีเซีย
- โกลบอลซัพพลายซิสเต็ฒ
- แกรนด์สตาร์คาร์โก้
- เกรตวอลล์แอร์ไลน์
- ไอบีเรีย
- เจดคาร์โก้อินเตอร์เนชันแนล
- เจแปนแอร์ไลน์
- เคนยาแอร์เวย์คาร์โก้
- เคแอลเอ็ม
- คูเวตแอร์เวย์
- ไลอ้อนแอร์
- ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โก้
- มาเลเซียแอร์ไลน์
- แมนดารินแอร์ไลน์
- นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์
- รอยัลแอร์มารอค
- โอเอซิสฮ่องกงแอร์ไลน์
- ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์
- ภูเก็ตแอร์
- ควอนตัส
- ซาบีนา
- ซาอุเดีย
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์
- เซาเทิร์นแอร์เวย์
- ซูรินามแอร์ไลน์
- ทีเอเอจีแองโกลาแอร์ไลน์
- แทต
- การบินไทย
- ทรานส์แอโร
- อูว์นียงเดอทรานส์เปอร์ไอรียง
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์[6]
- วาริก
- เวอร์จิน แอตแลนติก
- วามอสแอร์
- เวิลด์แอร์เวย์
- ผู้ให้บริการทางการทหาร
การส่งมอบ
[แก้]รุ่น | รวม | 2009 | 2008 | 2007 | 2006 | 2005 | 2004 | 2003 | 2002 | 2001 | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | 1994 | 1993 | 1992 | 1991 | 1990 | 1989 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
747-400 | 442 | 2 | 3 | 6 | 5 | 19 | 9 | 34 | 43 | 30 | 18 | 16 | 32 | 42 | 47 | 48 | 54 | 34 | ||||
747-400D | 19 | 2 | 1 | 6 | 8 | 2 | ||||||||||||||||
747-400ER | 6 | 3 | 3 | |||||||||||||||||||
747-400ERF | 40 | 6 | 6 | 8 | 6 | 2 | 5 | 4 | 3 | |||||||||||||
747-400F | 126 | 2 | 8 | 8 | 8 | 9 | 7 | 6 | 15 | 12 | 15 | 10 | 8 | 4 | 3 | 5 | 4 | 2 | ||||
747-400M | 61 | 1 | 1 | 3 | 2 | 5 | 5 | 2 | 3 | 6 | 6 | 12 | 8 | 7 | ||||||||
รวม | 694 | 8 | 14 | 16 | 14 | 13 | 15 | 19 | 27 | 31 | 25 | 47 | 53 | 39 | 26 | 25 | 40 | 56 | 61 | 62 | 62 | 41 |
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | 747-400 | 747-400ER |
---|---|---|
นักบิน | 2 | |
ความจุผู้โดยสาร | 416 (จัดแบบ 3 ชั้นบิน) | |
ความยาว | 70.6 เมตร (231 ฟุต 10 นิ้ว) | |
ความกว้างของปีก | 64.4 เมตร (211 ฟุต 5 นิ้ว) | |
ความสูง | 19.4 เมตร (63 ฟุต 8 นิ้ว) | |
น้ำหนักบรรทุกเปล่า | 178,756 กิโลกรัม (393,263 ปอนด์) |
164,382 กิโลกรัม (361,640 ปอนด์) |
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น | 396,890 กิโลกรัม (875,000 ปอนด์) |
412,775 กิโลกรัม (910,000 ปอนด์) |
ความเร็วปกติ | 0.85 มัค (491 น็อต, 910 กม./ชม.) |
0.855 มัค (493 น็อต, 913 กม./ชม.) |
ความเร็วสูงสุด | 0.92 มัค (1,000 กม./ชม.) | |
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ | 13,450 กิโลเมตร (7,260 ไมล์ทะเล) |
14,205 กิโลเมตร (7,670 ไมล์ทะเล) |
ปริมาณเชื้อเพลิงสูงสุด | 216,840 ลิตร (57,285 แกลลอน) | 241,140 ลิตร (63,705 แกลลอน) |
ปริมาณเชื้อเพลิง/พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ | 16.1 ลิตร/กิโลเมตร | 17.0 ลิตร/กิโลเมตร |
เครื่องยนต์ (4x) | PW 4062 GE CF6-80C2B5F RR RB211-524H |
PW 4062 GE CF6-80C2B5F |
แรงผลักดัน (4x) | 63,300 ปอนด์ฟอร์ซ PW 62,100 ปอนด์ฟอร์ซ GE 59,500 ปอนด์ฟอร์ซ RR |
63,300 ปอนด์ฟอร์ซ PW 62,100 ปอนด์ฟอร์ซ GE |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลของรุ่น 747
- ↑ ข่าวการยกเลิกการผลิต 747-400 จาก Seattlepi.com เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2550
- ↑ โบอิงขนส่งปีกของ 787 โดย 747LCF จากเว็บไซต์โบอิง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
- ↑ การพัฒนาของโบอิง 747LCF จากเว็บไซ์โบอิง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
- ↑ simpleflying.com - End Of The Road: Air India's Boeing 747s Deregistered By Regulator 28 April 2022
- ↑ "United Airlines Fleet". สืบค้นเมื่อ September 14, 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Schmidt, Ron. "Airborne Laser (ABL)". www.thelivingmoon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ October 10, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูล 747-400 ในเว็บไซต์โบอิง (อังกฤษ)