โชติมาตรสัมบูรณ์
โชติมาตรสัมบูรณ์ หรือ ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (อังกฤษ: Absolute magnitude, M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา
การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือโชติมาตรปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก
อย่างไรก็ตามแม้โชติมาตรปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ดวงนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง
ค่าของโชติมาตรสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับโชติมาตรปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีโชติมาตรสัมบูรณ์ต่างกัน 1 โชติมาตร จะมีความสว่างต่างกัน เท่า
การหาค่าโชติมาตรสัมบูรณ์
[แก้]การหาค่าโชติมาตรสัมบูรณ์จากโชติมาตรปรากฏและระยะทาง
[แก้]
ใช้สูตร
เมื่อ คือระยะห่างระหว่างดาวกับโลกในหน่วยพาร์เซก
การหาค่าโชติมาตรสัมบูรณ์จากโชติมาตรปรากฏและมุมแพรัลแลกซ์
[แก้]
ใช้สูตร
เมื่อ คือมุมแพรัลแลกซ์ของดาวดวงนั้นในหน่วยพิลิปดา
- เช่น ดาวเวกา มีมุมแพรัลแลกซ์ 0.133 พิลิปดา มีโชติมาตรปรากฏ 0.03