ข้ามไปเนื้อหา

โคซินกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจิ้ง เฉิงกง
鄭成功
ภาพวาด The Portrait of Koxinga กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17
เหยียนผิงหวัง
ครองราชย์พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 1655 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 1662
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปเจิ้ง จิง
Zheng Xi (ในฐานะเจ้าแห่ง Tungtu)
ประสูติ27 สิงหาคม ค.ศ. 1624
ฮิราโดะ แคว้นฮิเซ็ง ประเทศญี่ปุ่น
เจิ้ง เซิน
สวรรคต23 มิถุนายน ค.ศ. 1662(1662-06-23) (37 ปี)
อานผิง ราชอาณาจักรตงหนิง
ฝังพระศพสุสานเจิ้ง เฉิงกง (鄭成功墓; ปัจจุบันอยู่ที่หนานอาน เฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน)
คู่อภิเษกต๋ง โหย่ว เฉาอู่หวัง[1]
พระราชบุตรเจิ้ง จิงและบุตรชาย 9 คน
บุตรสาว 4 คน
พระสมัญญานาม
เฉาอู่หวัง (潮武王)
ราชวงศ์โคซินกา
ราชวงศ์ตงหนิง
พระราชบิดาเจิ้ง จือหลง
พระราชมารดาทางาวะ มัตสึ
โคซินกา
อักษรจีนตัวเต็ม國姓爺
เป่อ่วยยีภาษาฮกเกี้ยนKok-sèng-iâ
Kok-sìⁿ-iâ
ความหมายตามตัวอักษรเจ้าแห่งราชสกุล
เจิ้ง เฉิงกง
อักษรจีนตัวเต็ม成功
เป่อ่วยยีภาษาฮกเกี้ยนTīⁿ Sêng-kong
เจิ่ง เซิน
อักษรจีนตัวเต็ม
เป่อ่วยยีภาษาฮกเกี้ยนTīⁿ Sim

เจิ้ง เฉิงกง เหยียนผิงหวัง (จีน: 鄭成功; พินอิน: Zhèng Chénggōng; เป่อ่วยยี: Tīⁿ Sêng-kong; 27 สิงหาคม ค.ศ. 1624 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 1662) รู้จักกันในต่างประเทศเป็น โคซินกา (อังกฤษ: Koxinga; จีน: 國姓爺; พินอิน: Guóxìngyé; เป่อ่วยยี: Kok-sèng-iâ) เป็นนายพลราชวงศ์หมิงใต้ผู้ต้านทานการพิชิตหมิงของชิงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยต่อสู้ในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

ใน ค.ศ. 1661 โคซินกาเอาชนะด่านหน้าดัตช์ในไต้หวัน[2][3] และสถาปนาเขตปกครองของเจิ้งในนามราชวงศ์หมิงเมื่อ ค.ศ. 1661 ถึง 1683

ชีวประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

เจิ้ง เฉิงกงเกิดเมื่อ ค.ศ. 1624 ที่ฮิราโดะ แคว้นฮิเซ็ง ประเทศญี่ปุ่น จากเจิ้ง จือหลง[4] พ่อค้าชาวจีน[5] กับสตรีชาวญี่ปุ่น[6] ที่รู้จักเฉพาะนามสกุล "ทางาวะ"[7] ซึ่งอาจเป็นทางาวะ มัตสึ[8] เขาเติบโตที่นั่นจนกระทั่งอายุ 7 ขวบด้วยชื่อญี่ปุ่นว่า ฟูกูมัตสึ (福松)[9][10] แล้วย้ายไปมณฑลฝูเจี้ยนในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิง[11]

ใน ค.ศ. 1638 เจิ้งกลายเป็น ซิ่วไฉ (秀才, แปลว่า "ผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จ") ในการสอบขุนนาง และกลายเป็นหนึ่งในสิบสอง หลิ่นช่านเชิง (廩膳生) แห่งหนานอาน ต่อมาใน ค.ศ. 1641 โคซินกาแต่งงานกับหลานสาวของ Dong Yangxian ผู้เป็น จิ้นชื่อ จากฮุ่ยอาน จากนั้นใน ค.ศ. 1644 โคซินกาศึกษาที่กั๋วจื่อเจี้ยน (มหาวิทยาลัยจักรวรรดิ) โดยพบกับนักวิชาการ เฉียน เชียนอี้ และกลายเป็นลูกศิษย์ของเขา[12][13]

ภายใต้จักรพรรดิหลงอู่

[แก้]

เสียชีวิต

[แก้]

หลังเอาชนะพวกดัตช์ในไต้หวันเพียงไม่กี่เดือน โคซินกาเสียชีวิตจากโรคที่ไม่ระบุรายละเอียดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1662 ด้วยอายุ 37 ปี บันทึกร่วมสมัยระบุว่า โรคลมแดดและอาการหนาวสั่นเป็นสาเหตุ และนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่สงสัยว่าโรคมาลาเรียเป็นสาเหตุ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงระบุว่าเขาเสียชีวิตอย่างบ้าคลั่งกะทันหันเมื่อขุนนางของเขาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งให้ประหารชีวิตเจิ้ง จิง บุตรชายของตนที่ไปมีความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยงเด็กของตนและตั้งครรภ์บุตรกับเธอ[14] เจิ้ง จิงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในฐานะเหยียนผิงหวัง รอเบิร์ตส์ แอนโทนี นักประวัติศาสตร์ รายงานว่า "การเสียชีวิตของเจิ้ง เฉิงกงเป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมถอยในโชคชะฅาของครอบครัว"[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wills (1974), p. 28 และ Keene (1950), p. 46 ยอมรับว่านามสกุลภรรยาของเจิ้งคือ "ต่ง" () Clements (2004), p. 92 อย่างไรก็ตาม มีผู้อ้างว่าเธอมีชื่อว่า "Deng Cuiying". Chang (1995), p. 740 ระบุตนเองเป็น "Tung Ts'ui-ying" ซึ่งแปลงด้วยอักษรพินอินเป็น "Dong Cuiying"
  2. the London Times (26 November 1858). "The Pirates of the Chinese Seas". The New York Times.
  3. Andrade (2008).
  4. The China Review, Or, Notes and Queries on the Far East. "China Mail" Office. 1884. pp. 346–.
  5. THe Orient. Orient Publishing Company. 1950. p. 20.
  6. Marius B. Jansen (1992). China in the Tokugawa World. Harvard University Press. p. 26. ISBN 978-0-674-11753-2.
  7. Croizier (1977), p. 11; Keene (1950), p. 45.
  8. Andrade (2005), § 7.
  9. "1.鄭成功の足跡と鄭成功が結ぶ友好国" (ภาษาญี่ปุ่น). Tei-Sei-Kou Memorial Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2015. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  10. Ryōtarō Shiba (2007). The Tatar Whirlwind: A Novel of Seventeenth-century East Asia. Floating World Editions. p. 426. ISBN 978-1-891640-46-9.
  11. Andrade 2005.
  12. Croizier (1977), p. 12.
  13. Carioti, "The Zhengs' Maritime Power in the International Context of the 17th Century Far East Seas: The Rise of a 'Centralised Piratical Organisation' and Its Gradual Development into an Informal 'State'", p. 41, n. 29.
  14. Lian, Heng (1920). 臺灣通史 [The General History of Taiwan] (ภาษาจีน). OCLC 123362609.
  15. Antony, Robert (2003). Like Froth Floating on the Sea: The World of Pirates and Seafarers in Late Imperial South China. Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley. pp. 32–33. ISBN 9781557290786.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]