ข้ามไปเนื้อหา

แอโครแคนโทซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอโครแคนโทซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Aptian-Albian, 116–110Ma
โครงกระดูก (NCSM 14345) ที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาตินอร์ทแคโรไลนา.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Theropoda
วงศ์ใหญ่: Allosauroidea
วงศ์: Carcharodontosauridae
สกุล: Acrocanthosaurus
Stovall & Langston, 1950
ชนิดต้นแบบ
Acrocanthosaurus atokensis
Stovall & Langston, 1950
ชื่อพ้อง
  • "Acracanthus" Langston vide Czaplewski, Cifelli, & Langston, W.R., 1994 (nomen nudum)

แอโครแคนโทซอรัส (อังกฤษ: acrocanthosaurus (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌækrɵˌkænθɵˈsɔrəs/) ) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ในตระกูล อัลโลซอร์ (allosauroids) มีชีวิตอยู่ระหว่าง 112-125 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ฟอสซิลของมันมันยังคงพบส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐโอคลาโฮมาและรัฐเท็กซัส แต่ก็มีการบันทึกว่าถูกค้นพบใน ทางตะวันออกในรัฐแมริแลนด์

ขนาดของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์ ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่โตมาก

แอโครแคนโทซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีความยาวโดยประมาณ 11.5 เมตร (38ฟุต)[1] และมีน้ำหนักประมาณ 6.8 ตัน แต่มันก็มีขนาดเล็กกว่าญาติขนาดใหญ่เช่น จิกเเกนโนโตซอรัสที่มีความยาว13เมตร (42ฟุต) ฟอสซิลของแอโครแคนโทซอรัส ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบวัดจากปลายจมูกถึงพวยปลายหางมีความยาว11.5เมตร (38ฟุต) น้ำหนักประมาณ 6800 กิโลกรัม (6.8ตัน) กะโหลกของแอโครแคนโทซอรัส มีลักษณะคล้ายกับ ไดโนเสาร์ในตระกูลอัลโลซอร์ อื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มีรูปร่างยาวและแคบ ลักษณะเด่นที่สุดของ แอโครแคนโทซอรัส คือ แถวของแผงกระดูกสูงที่ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังส่วนคอ สะโพกและหางส่วนบน คล้ายกับของ สไปโนซอรัส แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยหน้าที่ของมันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน นอกจากลักษณะกระดูกสันหลัง แอโครแคนโทซอรัส มีโครงกระดูกแบบตระกูลอัลโลซอร์ทั่วไปที่หางมีความยาวและหนัก ศีรษระ มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย แต่ละมือมี 3นิ้ว แขนมีขนาดสั้นแต่แข็งแรงกว่าของไทรันโนซอรัส กระดูกขาหลังของแอโครแคนโทซอรัส มีความแข็งแรงกว่า อัลโลซอรัส ญาติขนาดเล็กกว่าของมัน

แอโครแคนโทซอรัส ถูกออกแบบมาเพื่อล่าเหยื่อที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่เช่น ทีนอนโตซอรัส หรือแม้แต่ซอโรพอดขนาดใหญ่อย่างซอโรโพไซดอน ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่มีความสูง 17 เมตร (56ฟุต) มีความยาวถึง 34เมตร (112ฟุต) ต่างจากไทรันโนซอรัสที่มักจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็ก โดยมันเป็นเทอโรพอดเพียงไม่กี่ขนิดที่สามารถล่าเหยือขนาดใหญ่เช่นนี้ได้

ภาพสามมิติของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2639725/