สะพานวิศุกรรมนฤมาณ
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ | |
---|---|
เส้นทาง | ถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย |
ข้าม | คลองผดุงกรุงเกษม |
ที่ตั้ง | แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ตั้งชื่อตาม | พระวิศวกรรม |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานคนเดิน |
ท้ายน้ำ | สะพานคนเดิน |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานแบบโค้ง |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ทางเดิน | 2 |
จำนวนตอม่อ | 3 |
ประวัติ | |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานวิศุกรรมนฤมาณ |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0005607 |
ที่ตั้ง | |
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ หรือ สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ [ชื่อที่สะกดตามป้ายชื่อบนสะพาน] สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานเชื่อมระหว่างถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย สะพานวิศุกรรมนฤมาณเป็นหนึ่งในห้าสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และได้ชื่อที่คล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยพระราชเลขานุการซึ่งเชี่ยวชาญภาษามคธ มีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทพยดาทรงสร้าง" ซึ่งในส่วนของสะพานวิศุกรรมนฤมาณนั้นมีความหมายว่า "สะพานที่พระวิสสุกรรมทรงสร้าง"
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ เดิมเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ มีราวสะพานเป็นรูปกรงเหล็กหล่อ ต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้างกว่าเดิม ลักษณะราวสะพานเป็นรูปกรงคอนกรีตโปร่ง มีโค้งออกด้านข้าง ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2510[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""สะพานเทวดานฤมิตร" ปราการป้องกันพระนคร". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานวิศุกรรมนฤมาณ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′59″N 100°30′24″E / 13.766499°N 100.506725°E
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณวังลดาวัลย์ |
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ |
ท้ายน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดมกุฏกษัตริยาราม |