เอเค-74
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
เอเค-74 | |
---|---|
ปืนไรเฟิลจู่โจม เอเค-74 รุ่นแรก พร้อมซองกระสุนแบบ bakelite | |
ชนิด | ปืนเล็กยาวจู่โจม Carbine (AKS-74U) อาวุธป้องกันประจำบุคคล (AKS-74U) |
แหล่งกำเนิด | สหภาพโซเวียต รัสเซีย |
บทบาท | |
ประจำการ | ค.ศ.1974–ปัจจุบัน[1] |
ผู้ใช้งาน | See Users |
สงคราม | สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน Lord's Resistance Army insurgency Sri Lankan Civil War สงครามอ่าวเปอร์เซีย Georgian Civil War[2] Transnistria War Tajikistani Civil War East Prigorodny Conflict Burundian Civil War สงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่ง สงครามเชชเนียครั้งที่สอง สงครามในอัฟกานิสถาน สงครามอิรัก สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย สงครามกลางเมืองลิเบีย สงครามในดอนบัสส์ สงครามกลางเมืองซีเรีย สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–2560) สงครามกลางเมืองเยเมน Saudi Arabian-led intervention in Yemen Saudi–Yemeni border conflict (2015–present) 2016 Nagorno-Karabakh clashes |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | มีฮาอิล คาลาชนิคอฟ |
ช่วงการออกแบบ | AK-74: 1974 AK-74M: 1991 |
บริษัทผู้ผลิต | Kalashnikov Concern (formerly Izhmash) |
ช่วงการผลิต | AK-74: 1974–1991 AK-74M: 1991–present |
จำนวนที่ผลิต | 5,000,000 [3] |
แบบอื่น | See Variants |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | AK-74: 3.07 kg (6.8 lb) AKS-74: 2.97 kg (6.5 lb) AKS-74U: 2.7 kg (6.0 lb) AK-74M: 3.4 kg (7.5 lb)[4] without magazine 30-round magazine: 0.23 kg (0.51 lb) 6H5 bayonet: 0.32 kg (0.71 lb) |
ความยาว | AK-74: 943 mm (37.1 in) AKS-74 (stock extended): 943 mm (37.1 in) AKS-74 (stock folded): 690 mm (27.2 in) AKS-74U (stock extended): 735 mm (28.9 in) AKS-74U (stock folded): 490 mm (19.3 in) AK-74M (stock extended): 943 mm (37.1 in) AK-74M (stock folded): 700 mm (27.6 in) |
ความยาวลำกล้อง | AK-74, AKS-74, AK-74M: 415 mm (16.3 in) AKS-74U: 206.5 mm (8.1 in) |
ความกว้าง | AK-74M: 70 mm (2.8 in) |
ความสูง | AK-74M: 195 mm (7.7 in) |
กระสุน | 5.45×39mm |
การทำงาน | Gas-operated, rotating bolt |
อัตราการยิง | Cyclic: 600–650 rounds/min[5] Practical: Automatic: 100 rounds/min[6] Semi-auto: 40 rounds/min[6] |
ความเร็วปากกระบอก | 880–900 m/s (2,887–2,953 ft/s) (AK-74, AKS-74, AK-74M)[6][5] 735 m/s (2,411 ft/s) (AKS-74U) |
ระยะหวังผล | 500 m (550 yd) ((AK-74, AKS-74, AK-74M point target) 800 m (870 yd) ((AK-74, AKS-74, AK-74M area target)[6] 300–400 m (330–440 yd) (AKS-74U)[7] |
พิสัยไกลสุด | 3,150 m (3,440 yd) |
ระบบป้อนกระสุน | 30-round or 45-round RPK-74 detachable box magazine or 60-round casket magazine |
ศูนย์เล็ง | Adjustable iron sights, front post and rear notch on a scaled tangent |
เอเค-74 (รัสเซีย: Автомат Калашникова образца 1974 года หรือ "Kalashnikov automatic rifle model 1974") เป็นปืนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนปี 2515 โดยนักออกแบบชาวรัสเซีย มีฮาอิล คาลาชนิคอฟเพื่อทดแทน AKM (เป็นรุ่นต่อยอดของ AK-47) ซึ่งใช้กระสุนที่เล็กขนาด 5.45×39mm โดยหวังมาทดแทน 7.62×39mm ซึงเป็นกระสุนที่นิยมใช้ปืนรุ่นก่อนหน้านี้
ปืนนี้เปิดตัวสู่สายตาโลกครั้งแรกใน พ.ศ. 2517 ช่วงสงครามในอัฟกานิสถาน เหล่าหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานรวมไปถึงหน่วยสืบราชการลับปากีสถานต่างกล่าวตรงว่าถ้าสามารถยึดปืนกระบอกมาส่งให้ซีไอเอจะได้รางวัลตอบแทนเป็นเงิน 5,000 ดอลลาร์ แต่ปืนเอเค-74 กระบอกแรกถูกยึดโดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า มูจาฮิดีน ในช่วงสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน ปัจจุบันปืนนี้กระจายทั่วไปในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ยังมีรุ่นที่ถูกคัดลอกสร้างในประเทศบัลแกเรีย (เช่น เอเค-74, AKS-74 and AKS-74U), ในอดีตเยอรมันตะวันออก (เช่น MPi-เอเค-74N, MPi-AKS-74N, MPi-AKS-74NK) รวมไปถึงประเทศที่เคยได้รับการสนุบสนุนจากสหภาพโซเวียต เช่น ประเทศในเอเชียกลาง มองโกเลีย เกาหลีเหนือ และเวียดนาม เป็นต้น
ปัจจุบันเป็นปืนประจำกายหลักของกองทัพรัสเซีย ซึ่งในปี พ.ศ. 2554 ได้เปิดตัว AK-12 เพื่อทดแทนปืนเอเค-74M ที่ใช้อยู่กองทัพรัสเซียแต่เวลาก็ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2558 ก็ยังไม่มีทีทางว่าจะสมบูรณ์พร้อมใช้งานจนกระทั่งมีเปิดตัว AK-15/RPK-16 ในปีเดียวกันเอง ซึ่งเป็นการปรับคอนเซ็ปปืนให้เข้ากับความต้องการของกองทัพรัสเซียมากขึ้น โดยต้นปี พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวจะปืนชนิดนี้เขาประจำการในหน่วยปฏิบัติการพิเศษในปี พ.ศ. 2561 ให้ครบ
รายละเอียด
[แก้]การออกแบบ
[แก้]ปืน เอเค-74 แต่เดิมออกแบบไว้โดยА. D. Kryakushin's group ภายใต้การดูแลของมีฮาอิล คาลาชนิคอฟ ซึ่งปรับปรุงมาจากไรเฟิลจู่โจม AKM ขนาด 7.62×39mm โดยเพิ่มคุณลักษณะพิเศษลงไปด้วย ซึงมีการปรับปรุงกระสุนให้ขนาดเล็กลงเกิดเป็นกระสุนขนาดกลางความเร็วขนาด 5.45×39mm โดยความจริงในแรกเริม่ตามรายงานได้ตัวปืนเดิมของ AKMs มาเปลื่ยนลำกล้องให้มีขนาด 5.45×39mm ซึ่งเมื่อเปรียบกับแล้ว AKM มีระยะหวังผลต่ำรวมไปถึงความแม่นยำเมื่อเทียบกับ เอเค-74 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายหลักของผู้พัฒนา โดย เอเค-74 และ AKM สามารถใช้อะไหล่รวมกันได้ประมาณ 50 เปอร์เซนต์
ระบบศูนย์เล็ง
[แก้]คล้ายกับ AK-47/AKM เดิม แต่มีระบบรางข้างเพื่อติดอุปกรณ์เสริมต่าง (เริ่มพบได้ในเอเค-74M) เช่น กล้องเล็งจุดแดง, กล้องมองกลางคืน, กล้องช่วยเล็ง เป็นต้น
ซองกระสุน
[แก้]มีซองบรรจุ 30 / 45 (ของ RPK-74) / 50 / 60 นัด ซึ่งทำจาก Bakelite และพอลิเมอร์ (ในรุ่นเอเค-74M) และซองบรรจุกระสุนแบบกลมที่ใส่กระสุนได้ 95 นัด
รุ่นย่อยต่าง ๆ
[แก้]AKs-74
[แก้]ทุกอย่างเหมือนกันกับเอเค-74 ในรูปแบบปกติ มีเพียงพานท้ายที่สามารถพับได้เพื่อความสะดวกได้เข้าในที่กำบังหรือนั่งไปในยานลำเลียงพล
เอเค-74M (Model 1991)
[แก้]เป็นรุ่นปรับรุงโดยบริษัท Izhmash (อยู่เครือของ Kalashnikov Concern) โดยลักษณะเด่นที่พบคือ ประกับและพานท้ายถูกทดแทนได้พอลีเมอร์จากของเดิมที่เป็นไม้ มีระบบรางด้านข้างสำหรับติดอุปกรณ์เสริมพวกอุปกรณ์ช่วยเล็ง สามารถติดเครื่องยิงระเบิดขนาด 40 มม. GP-25/30/34 ไว้ใต้บริเวณประกับหน้าได้ เป็นต้น
AKs-74U
[แก้]เป็นปืนเล็กสั้นอัตโนมัติที่ได้ไอเดียมาจาก XM177 ของกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งเหมาะสำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษหรือพลร่มที่ต้องเข้าทำการรบระยะประชิด ถูกใช้มากในเหล่าพลขับรถถัง ยานเกราะต่าง ๆ รวมไปถึงนักบินเฮลิคอปเตอร์
RPK-74/74M
[แก้]เป็นปืนกลเบาที่อาศัยพื้นฐานมาจากเอเค-74/74M ซึ่งมีลำกล้องที่หนาและยาวขึ้นเพื้อรองรับการยิงสนับสนุนหมู่รบ ใช้ซองกระสุน 45 นัด
คุณสมบัติทั่วไป
[แก้]ใช้กระสุนขนาด: 5.45×39 ม.ม
ระบบปฏิบัติการ: Gas-operated, rotating bolt
อัตราการยิง
- ยิงเป็นชุด: 600-650 นัดต่อนาที
- ยิงแบบอัตโนมัติ: 100 นัดต่อนาที
- ยิงทีละนัด: 40 นัดต่อนาที
ความเร็วปากลำกล้อง : 880–900 เมตรต่อวินาที (2,887–2,953 ฟุตต่อวินาที) (เอเค-74, AKS-74, เอเค-74M) 735 เมตรต่อวินาที (2,411 ฟุตต่อวินาที) (AKS-74U)
ระยะหวังผล :
- 300–400 เมตร (330–440 หลา) (เอเค-74, AKS-74, เอเค-74M point target)
- 500 เมตร (550 หลา) (เอเค-74, AKS-74, เอเค-74M area target)
- 400 เมตร (440 หลา) (AKS-74U)
ระยะยิงไกลสุด : 3,150 เมตร (3,440 หลา)
ซองกระสุน : 30 นัด หรือ 45 นัดสำหรับ RPK-74 60 นัด casket magazine ซองกระสุนแบบกลม 95 นัด
ศูนย์เล็ง : เล็งผ่านศูนย์เล็งตาเปล่า หรือ อุปกรณ์ช่วงเล็งต่าง ๆ เช่น กล้องมองกลางคืน, กล้องเล็งจุดแดง เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://web.archive.org/web/20110804035337/http://www.izhmash.ru/eng/arc/021205.shtml Presentation of the unique Kalashnikov small arms collection in the Moscow Kremlin Museum
- ↑ Small Arms Survey (2003). "Dangerous Supply: Small Arms and Conflict in the Republic of Georgia". Small Arms Survey 2003: Development Denied. Oxford University Press. p. 197. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-29. สืบค้นเมื่อ 2018-08-29.
- ↑ "militaryparitet.com (Russian)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
- ↑ "Modern Firearms". 2010-10-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
- ↑ 5.0 5.1 "Izhmash—manufacturer's website 5.45 mm Kalashnikov assault rifles AK74M, AK105". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 https://fas.org/man/dod-101/sys/land/row/weg2001.pdf เก็บถาวร 2015-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน OPFOR Worldwide Equipment Guide, Sep 2001, DEPARTMENT OF THE ARMY, TRADOC DCSINT, Threat Support Directorate, 700 Scott Avenue, Bldg 53, FORT LEAVENWORTH, KS, 66027-1323, page 1-3
- ↑ "Автомат Калашникова АКС-74У (Kalashnikov rifle AKS-74U)" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02.