ข้ามไปเนื้อหา

เวนิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เวนิซ)
เวนิส

Venezia
Venesia หรือ Venexia
เทศบาลเวนิส
ทัศนียภาพของเวนิส: at the top left is the Piazza San Marco, followed by a view of the city, then the Grand Canal, and (smaller) the interior of La Fenice and, finally, the Island of San Giorgio Maggiore
ทัศนียภาพของเวนิส: at the top left is the Piazza San Marco, followed by a view of the city, then the Grand Canal, and (smaller) the interior of La Fenice and, finally, the Island of San Giorgio Maggiore
ธงของเวนิส
ธง
ตราราชการของเวนิส
ตราอาร์ม
แผนที่แสดงที่ตั้งของเวนิส
แผนที่
ประเทศอิตาลี
แคว้นเวเนโต
จังหวัดนครบาลเวนิส
FrazioniChirignago, Favaro Veneto, Mestre, Marghera, Murano, Burano, Giudecca, Lido, Zelarino
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีLuigi Brugnaro (independent)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด414.57 ตร.กม. (160.07 ตร.ไมล์)
ความสูง1 เมตร (3 ฟุต)
ประชากร
 (2014)[2]
 • ทั้งหมด264,579 คน
 • ความหนาแน่น640 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมเวเนเชียน
เขตเวลาUTC 1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC 2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์30100
รหัสเขตโทรศัพท์041
นักบุญองค์อุปถัมภ์มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร
วันสมโภชนักบุญ25 เมษายน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
เวนิสและแอ่งน้ำ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Venice in spring, with the Rialto Bridge in the background.
ประเทศอิตาลี
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภททางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v, vi
อ้างอิง394
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนค.ศ. 1987 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เวนิส (อังกฤษ: Venice; /ˈvɛnɪs/ veh-niss) หรือ เวเน็ตเซีย (อิตาลี: Venezia; [veˈnɛttsja] ( ฟังเสียง); เวเนโต: Venesia หรือ Venexia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)

เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเลสาบ

ในอดีตเวนิสเคยเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเวนิสเป็นเวลาเกือบหนึ่งพันปี ตั้งแต่ ค.ศ. 810 ถึง ค.ศ. 1797 เป็นมหาอำนาจทางการเงินและการเดินเรือที่สำคัญในช่วงยุคกลางและยุคเรอเนซองส์ เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญโดยเฉพาะผ้าไหม ธัญพืช และเครื่องเทศและงานศิลปะตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ถึงปลายศตวรรษที่ 17 นครรัฐเวนิสถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศที่แท้จริงแห่งแรก เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 9 และมีความโดดเด่นมากที่สุดในศตวรรษที่ 14 ทำให้เวนิสเป็นเมืองที่ร่ำรวยตลอดในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ภูมิอากาศ

[แก้]

เวนิสมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเพราะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี มีปริมาณน้ำฝนคงที่ตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนจะอากาศจะค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 21-26 องศาเซลเซียส บางวันอาจสูงถึง 30 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นอุณหภูมิเฉลี่ย 2-8 องศาเซลเซียส บางครั้งอาจจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ข้อมูลภูมิอากาศของเวนิส (ค.ศ. 1971–2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.6
(43.9)
8.6
(47.5)
12.5
(54.5)
16.1
(61)
21.5
(70.7)
24.9
(76.8)
27.7
(81.9)
27.5
(81.5)
23.5
(74.3)
18.0
(64.4)
11.6
(52.9)
7.4
(45.3)
17.2
(63)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.3
(37.9)
4.7
(40.5)
8.3
(46.9)
12.0
(53.6)
17.1
(62.8)
20.5
(68.9)
23.0
(73.4)
22.6
(72.7)
18.9
(66)
13.8
(56.8)
7.8
(46)
4.0
(39.2)
13.0
(55.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.1
(31.8)
0.8
(33.4)
4.1
(39.4)
7.8
(46)
12.7
(54.9)
16.1
(61)
18.3
(64.9)
17.7
(63.9)
14.3
(57.7)
9.6
(49.3)
4.0
(39.2)
0.6
(33.1)
8.8
(47.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 47.0
(1.85)
48.3
(1.902)
48.8
(1.921)
70.0
(2.756)
66.0
(2.598)
78.0
(3.071)
63.9
(2.516)
64.8
(2.551)
72.0
(2.835)
73.5
(2.894)
65.5
(2.579)
50.6
(1.992)
748.4
(29.465)
ความชื้นร้อยละ 81 77 75 75 73 74 71 72 75 77 79 81 75.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 6.0 5.2 5.7 8.3 8.2 8.6 5.9 6.1 5.9 6.7 5.8 5.9 78.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 80.6 107.4 142.6 174.0 229.4 243.0 288.3 257.3 198.0 151.9 87.0 77.5 2,037.0
แหล่งที่มา: MeteoAM (sun and humidity 1961–1990)[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  2. "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  3. "Venezia/Tessera" (PDF). Italian Air Force National Meteorological Service. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
  4. "Tabella CLINO". MeteoAM. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]