ข้ามไปเนื้อหา

เลซีโจนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลซีโจนส์
เลซีโจนส์
ภาพปกเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64
ผู้พัฒนาเดวิด วิตเทเกอร์
ผู้จัดจำหน่ายเทอร์มินอลซอฟต์แวร์
ออกแบบเดวิด วิตเทเกอร์
แต่งเพลงเดวิด วิตเทเกอร์
เครื่องเล่นคอมโมดอร์ 64, แซดเอกซ์ สเปกตรัม, เอ็มเอสเอกซ์, ต้าถงไอน์สไตน์
วางจำหน่ายค.ศ. 1984
แนวแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

เลซีโจนส์ (อังกฤษ: Lazy Jones) เป็นเกมแพลตฟอร์มสำหรับคอมโมดอร์ 64, แซดเอกซ์ สเปกตรัม, เอ็มเอสเอกซ์ และต้าถงไอน์สไตน์ เกมนี้เขียนโดยเดวิด วิตเทเกอร์ และเผยแพร่โดยเทอร์มินอลซอฟต์แวร์ใน ค.ศ. 1984 ส่วนเวอร์ชันสเปกตรัมได้รับการพอร์ตโดยไซมอน คอบบ์

เลซีโจนส์เป็นการรวบรวมเกมย่อยสิบห้าเกม เกมดังกล่าวเกิดขึ้นภายในโรงแรมที่มีสามชั้นซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยลิฟต์ โดยตัวละครเอกเป็นพนักงานโรงแรมที่ขี้เกียจซึ่งไม่สนใจงานของเขามากนัก แต่ชอบแอบเข้าไปในห้องต่าง ๆ เพื่อเล่นวิดีโอเกมแทน

รูปแบบการเล่น

[แก้]
ภาพจับหน้าจอเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64

หน้าจอหลักในเกมเลซีโจนส์คือภายในโรงแรม โดยที่นั่น ตัวละครเอกสามารถใช้ลิฟต์เพื่อเดินทางได้อย่างอิสระระหว่างทั้งสามชั้น แต่เขาต้องระวังศัตรู ได้แก่: ผู้จัดการโรงแรมคนปัจจุบันที่ชั้นบนสุด, ผีของผู้จัดการคนก่อนที่ชั้นล่าง และรถเข็นทำความสะอาดผีสิงที่ชั้นกลาง ส่วนบรรดาศัตรูเพียงเดินไปรอบ ๆ และไม่ไล่ตามตัวละครเอก แต่การโดนพวกมันนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต

แต่ละชั้นมีหกห้อง แบ่งเป็นฝั่งละสามห้องของลิฟต์ โดยแต่ละห้องสามารถเข้าได้ครั้งเดียว ภายในห้องส่วนใหญ่จะมีวิดีโอเกม ซึ่งตัวละครเอกจะเริ่มเล่นทันที นอกจากวิดีโอเกมแล้ว ยังมีบาร์ของโรงแรม, เตียง, ที่เก็บของทำความสะอาด และส้วม ซึ่งบาร์ดังกล่าวทำงานเหมือนกับวิดีโอเกม แต่ห้องอื่น ๆ นั้นเป็นการตกแต่งที่ไร้ประโยชน์ (จงใจเพิ่มเข้าไป เพราะวิตเทเกอร์หมดแนวคิดสำหรับเกมใหม่แล้ว)

เมื่อเยี่ยมชมทุกห้องแล้ว เกมจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่จะเร็วขึ้นในแต่ละคราว

โดยทั่วไปเกมย่อยจะเป็นเวอร์ชันฉบับง่ายของวิดีโอเกมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น สเปซอินเวเดอส์, ฟรอกเกอร์, สเนก, เอช.อี.อาร์.โอ., เบรกเอาต์ และชักกีเอก ซึ่งแผนการกับรูปแบบการเล่นของเกมเหล่านี้เรียบง่ายมาก และส่วนใหญ่แล้วผู้เล่นจะต้องหลีกเลี่ยงศัตรูที่เข้ามาให้นานพอที่จะทำคะแนนได้มาก โดยในบางเกม ผู้เล่นจะต้องยิงศัตรูเพื่อทำคะแนน

แต่ละเกมย่อยมีเวลาจำกัด ในเกมย่อยบางเกมมีความเป็นไปได้ที่จะ "ตาย" ซึ่งจะจบเกมย่อยก่อนเวลาอันควร ในขณะที่เกมอื่นๆ จะจบลงหลังจากหมดเวลาที่กำหนดเท่านั้น แต่สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเกม ในขณะที่ "ความตาย" ในเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64 อาจทำให้ตัวละครในเกมกลับไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนหน้าจอ แต่ในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์ การตายแบบเดียวกันส่งผลให้เกมย่อยสิ้นสุดก่อนเวลาอันควร

โดยวิดีโอเกมทั้งสิบสี่เกมมีดังนี้:

  • ไนน์ตีไนน์เรดบอลลูน: ลูกโป่งสีแดงลอยไปที่ด้านบนของหน้าจออย่างต่อเนื่อง ผู้เล่นจะต้องจับลูกโป่งสองลูกเพื่อบินขึ้นไปเพื่อที่จะจูบผู้หญิงคนหนึ่ง จากนั้น เขาก็ต้องจับลูกโป่งหนึ่งลูกแล้วลอยกลับลงไปจูบผู้หญิงอีกคน โดยมีธนูคันหนึ่งพยายามยิงลูกธนูเพื่อเจาะลูกโป่งของผู้เล่น
  • เอกกีชัก: เกมเลียนแบบชักกีเอกที่ทำให้ดูง่ายขึ้น
  • เจย์วอล์ก: เกมเลียนแบบฟรอกเกอร์ที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องข้ามถนนโดยไม่ชนรถยนต์คันใดเลยเพื่อที่จะได้จูบผู้หญิงคนหนึ่ง จากนั้น เขาก็ข้ามถนนกลับไปจูบผู้หญิงอีกคน
  • เลเซอร์โจนส์: เกมเลียนแบบสเปซอินเวเดอส์ที่บรรดาเอเลียนไม่ยิงกลับมา
  • เอาต์แลนด์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ไม่ซับซ้อนมาก โดยมียานอวกาศลงมาจากท้องฟ้าและผู้เล่นจะยิงพวกมันเพื่อทำคะแนน
  • เรสคิว: เกมเลียนแบบเอช.อี.อาร์.โอ.ที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องช่วยบรรดาชายที่ติดอยู่ในถ้ำโดยไม่ต้องสัมผัสผนังถ้ำ
  • สคูต: เกมทักษะที่ผู้เล่นจะต้องบังคับเรือโฮเวอร์คราฟท์บางอย่างในถ้ำ
  • สตาร์ดัสต์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ผู้เล่นสามารถยิงบรรดาละอองอวกาศที่เป็นรูปทรงกลม
  • เดอะฮิลส์อาร์อะไลฟ์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่คล้ายกับเอาต์แลนด์มาก เว้นเสียแต่ว่าคราวนี้ยานอวกาศจะบินในแนวนอน
  • เดอะรีเฟลกซ์: บรรดากระดูกลอยลงมาจากด้านบนของหน้าจอ และผู้เล่นจะต้องเด้งพวกมันกลับขึ้นไป
  • เดอะวอล: เกมเลียนแบบสเนกที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องบังคับทิศทางของกำแพงสวนที่กำลังงอกขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ชนตัวเอง, ขอบเขตของฉาก หรือพืชใด ๆ
  • ไวลด์เวเฟอส์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ผู้เล่นสามารถยิงสิ่งที่เป็นแผ่นบาง ๆ ที่หมุนได้

ส่วนในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์และต้าถงไอน์สไตน์ เกมเจย์วอล์กจะถูกแทนที่ด้วยเวเฟอส์ II ซึ่งผู้เล่นใช้ยานอวกาศควบคุมสองลำ (ลำหนึ่งแนวตั้งและแนวนอนอีกหนึ่งลำ) เพื่อร่วมกันชนสิ่งที่เป็นแผ่นบาง ๆ ที่หมุนอยู่

สำหรับในบาร์ของโรงแรม เลซีโจนส์ยืนอยู่หน้าบาร์ (ที่ค่อนข้างกว้าง) บาร์เทนเดอร์และลูกค้าคนอื่นเพียงคนเดียวที่เมาอย่างหมดหวังต่างก็เดินไปเดินมาในบาร์ด้วยความเร็วที่ต่างกัน ซึ่งการกดปุ่มยิงในขณะที่ยืนอยู่หน้าเครื่องดื่มและบาร์เทนเดอร์ในเวลาเดียวกันจะได้รับคะแนน ส่วนลูกค้าที่เมาจะขวางทางผู้เล่น แต่สามารถกระโดดข้ามไปได้

ทั้งนี้ เกมย่อยที่อาจ "ตาย" ก่อนเวลาอันควรได้แก่เอกกีชัก, เจย์วอล์ก, เรสคิว และเดอะวอล

ส่วนเกมย่อยที่สิ้นสุดลงเมื่อเวลาจำกัดหมดลงคือไนน์ตีไนน์เรดบอลลูน, เลเซอร์โจนส์, เอาต์แลนด์, สคูต, สตาร์ดัสต์, เดอะฮิลส์อาร์อะไลฟ์, เดอะรีเฟลกซ์, เดอะเทิร์ก, ไวลด์เวเฟอส์, ไวพ์เอาต์, เวเฟอส์ II และบาร์ของโรงแรม

แต่ในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์เกมย่อยที่จะสิ้นสุดลงเมื่อหมดเวลาจำกัดเท่านั้น ได้แก่: เอาต์แลนด์, เดอะรีเฟลกซ์, ไวลด์เวเฟอส์, เวเฟอส์ II, ไวพ์เอาต์ และบาร์

การพัฒนา

[แก้]

วิตเทเกอร์ได้พัฒนาเกมย่อยแต่ละเกมแยกกันโดยใช้ภาษาเบสิกก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเกมเหล่านั้นใช้งานได้ จากนั้นจึงแปลงแต่ละเกมเป็นโค้ดภาษาแอสเซมบลีแทบจะบรรทัดต่อบรรทัด[1]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

หนึ่งในแทร็กดนตรี (ทำนองย่อยจากเกม "สตาร์ดัสต์" ในคอมโมดอร์ 64 เหมือนกับเกม "เดอะวอล" ในเอ็มเอสเอกซ์) ได้รับการสุ่มตัวอย่างโดยซอมบีเนชัน ซึ่งเป็นโปรเจกต์อิเล็กโทรของเยอรมนีสำหรับซิงเกิล "เคิร์นคราฟท์ 400" ใน ค.ศ. 1999 ของพวกเขา[2] และต่อมา โฟลรีอัน เซ็นฟ์เทอร์ ("สพลังค์!") ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยให้แก่เดวิด วิตเทเกอร์ สำหรับการใช้ทำนองเพลงดังกล่าว[2]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 เจมส์ รอล์ฟ ได้วิจารณ์เกมนี้ในฐานะส่วนหนึ่งของซีรีส์แอ็งกรีวิดีโอเกมเนิร์ด โดยให้บทวิจารณ์ในเชิงบวกอย่างมากและกล่าวถึงเกมนี้ว่า "เป็นแนวคิดที่ปฏิวัติวงการมากสำหรับยุคนั้น" และ "ความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของคอมโมดอร์ 64"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "David Whittaker Interview". C64.COM. สืบค้นเมื่อ 2015-06-26.
  2. 2.0 2.1 "OK COMPUTER!". NME. 2001-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2001. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
  3. Commodore 64 - Angry Video Game Nerd (AVGN) (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ 2021-09-28

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]