เสียมราฐ (เมือง)
เสียมราฐ សៀមរាប | |
---|---|
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา: พระวิหารวัดโบร์, ใจกลางเมือง, พระตำหนักพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุ, ย่านถนนคนเดินในเมืองเสียมราฐ, สะพานศาลาทรงเขมร สังกัดศาลากำเริง, วัดพระพรหมรัตน์ , วัดตำหนัก (เสียมราฐ) | |
สมญา: Temple Town [1] | |
พิกัด: 13°21′44″N 103°51′35″E / 13.36222°N 103.85972°E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
จังหวัด | เสียมราฐ |
ก่อตั้ง | 802 |
อย่างเป็นอย่างการ | 1907 |
การปกครอง | |
• หัวหน้าเขตและผู้ว่าราชการ | Khim Bunsong (พรรคประชาชนกัมพูชา) |
• รองผู้ว่าราชการ | Kim Chay Hieng (พรรคประชาชนกัมพูชา) |
ความสูง | 18 เมตร (59 ฟุต) |
ประชากร (2008)[2] | |
• ทั้งหมด | 230,714 คน |
เขตเวลา | UTC 7 (กัมพูชา) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ |
เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เซียมเรียบ (เขมร: សៀមរាប) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน[3] เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพูชา
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]เมืองพระนคร
[แก้]เมืองพระนคร (เขมร: ក្រុងអង្គរ) ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมร ซึ่งเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะถูกทัพสยามรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนต้องมีการอพยพยกย้ายไปตั้งนครหลวงแห่งใหม่ กุญแจสำคัญในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้คือ การที่กษัตริย์เขมรสามารถวางระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงพากันมาอยู่อาศัยทำกิน ทำให้อำนาจและมีบารมีของกษัตริย์หลายรัชสมัยมีความมั่นคงและแผ่ขยายออกไป สิ่งที่ยืนยันความรุ่งเรืองของดินแดนเขมรและอำนาจอันไพศาลของกษัตริย์คือ หมู่เทวสถานที่สร้างขึ้นอย่างหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1992 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกยกย่องให้เมืองแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยในเขตเมืองพระนคร ประกอบด้วย โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง
นครวัด
[แก้]นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถาน เริ่มสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2[4] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดูซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ[5] นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา[6] โดยปรากฏในธงชาติกัมพูชาและเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงยุครุ่งเรืองของอาณาจักรขะแมร์โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก[7]
นครธม
[แก้]นครธม (เขมร: អង្គរធំ) ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของนครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ
ภูมิอากาศ
[แก้]เมืองเสียมราฐตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เป็นเมืองที่ร้อนตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดไม่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสในทุกเดือน เสียมราฐมีฤดูฝนที่ยาวมากซึ่งเริ่มในเดือนเมษายนและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ฤดูแล้งครอบคลุมสี่เดือนที่เหลือ เมืองมีฝนตกประมาณ 1500 มิลลิเมตรต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองเสียมราฐ (ปี 1997-2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 35.0 (95) |
36.7 (98.1) |
38.9 (102) |
39.4 (102.9) |
40.6 (105.1) |
38.9 (102) |
35.6 (96.1) |
35.0 (95) |
34.4 (93.9) |
33.9 (93) |
34.4 (93.9) |
34.4 (93.9) |
40.6 (105.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.7 (89.1) |
33.5 (92.3) |
34.9 (94.8) |
35.8 (96.4) |
34.8 (94.6) |
33.6 (92.5) |
32.9 (91.2) |
32.4 (90.3) |
31.7 (89.1) |
31.5 (88.7) |
31.2 (88.2) |
30.6 (87.1) |
32.9 (91.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 26.0 (78.8) |
27.8 (82) |
29.5 (85.1) |
30.5 (86.9) |
29.9 (85.8) |
29.2 (84.6) |
28.9 (84) |
28.8 (83.8) |
28.1 (82.6) |
28.0 (82.4) |
26.9 (80.4) |
25.6 (78.1) |
28.3 (82.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.4 (68.7) |
22.4 (72.3) |
24.1 (75.4) |
25.4 (77.7) |
25.4 (77.7) |
25.1 (77.2) |
24.9 (76.8) |
25.1 (77.2) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
22.6 (72.7) |
20.7 (69.3) |
23.8 (74.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 9.4 (48.9) |
12.8 (55) |
15.0 (59) |
17.8 (64) |
18.9 (66) |
17.8 (64) |
18.9 (66) |
18.9 (66) |
20.0 (68) |
17.2 (63) |
12.2 (54) |
10.0 (50) |
9.4 (48.9) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 3.7 (0.146) |
4.7 (0.185) |
29.0 (1.142) |
57.3 (2.256) |
149.7 (5.894) |
214.1 (8.429) |
192.6 (7.583) |
208.9 (8.224) |
287.7 (11.327) |
199.6 (7.858) |
51.3 (2.02) |
7.3 (0.287) |
1,405.9 (55.35) |
ความชื้นร้อยละ | 59 | 59 | 58 | 59 | 66 | 70 | 71 | 73 | 75 | 75 | 68 | 64 | 66.4 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 1.5 | 0.7 | 3.2 | 7.6 | 17.0 | 18.0 | 17.6 | 17.6 | 17.4 | 15.4 | 6.4 | 2.0 | 124.4 |
แหล่งที่มา: Deutscher Wetterdienst[8] |
การเดินทาง
[แก้]เมืองนี้อยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ 7 กิโลเมตร และสามารถเดินทางไปได้ด้วยเที่ยวบินตรงจากเมืองในเอเชีย จากกรุงพนมเปญ หรือจากชายแดนไทย นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยเรือผ่านโตนเลสาป และรถบัสจากพนมเปญและพระตะบอง หรือเดินทางจากกรุงเทพฯไปเสียมราฐผ่านอำเภออรัญประเทศเข้าด่านปอยเปต แล้วเดินทางจากปอตเปตไปยังเสียมราฐ[9]
เมืองพี่น้อง
[แก้]- พุกาม พม่า[10]
- ฟงแตนโบล ฝรั่งเศส, ตั้งแต่ 11 มิถุนายน 2000
- ซังท์โกอาร์ เยอรมนี, ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม 2015
- โคตะ ไอจิ ญี่ปุ่น[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Glasser, Miranda (14 September 2012). "Temple Town, Cambodia's new ladyboy capital". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
- ↑ "Chapter 2: Spatial Distribution and Density of Population" (PDF). Statistics Japan.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2007-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ประจำเมืองเสียมราฐ
- ↑ Higham, C. (2014). Early Mainland Southeast Asia. Bangkok: River Books Co., Ltd. pp. 372, 378–379. ISBN 978-616-7339-44-3.
- ↑ Ashley M. Richter (8 September 2009). "Recycling Monuments: The Hinduism/Buddhism Switch at Angkor". CyArk. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
- ↑ "Government ::Cambodia". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
- ↑ "Cambodia's Angkor Wat Breaking Records for Visitors Again | News from Tourism Cambodia". Tourism of Cambodia.
- ↑ "Klimatafel von Siemreap-Angkor / Kambodscha" (PDF). Baseline climate means (1961-1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
- ↑ "Cambodia eyes new airport for Siem Reap". สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
- ↑ "?". Myanmar.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22.
- ↑ "Local Government International Exchange: Sister city information Database". Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว Siem Reap จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ประจำเมืองเสียมราฐ เก็บถาวร 2007-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน