ข้ามไปเนื้อหา

เธาลาคีรี

พิกัด: 28°41′54″N 83°29′15″E / 28.69833°N 83.48750°E / 28.69833; 83.48750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เธาลาคีรี
มุมมองของเธาลาคีรี I จากทางใต้
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
8,167 เมตร (26,795 ฟุต)
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
3,357 เมตร (11,014 ฟุต) [1]
รายชื่อแปดพัน
อัลตรา
พิกัด28°41′54″N 83°29′15″E / 28.69833°N 83.48750°E / 28.69833; 83.48750
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เธาลาคีรีตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
เธาลาคีรี
เธาลาคีรี
เทือกเขาเธาลาคีรีหิมัล
การพิชิต
พิชิตครั้งแรก13 พฤษภาคม 1960 โดย ควร์ท ดีมแบร์เกอร์ และคณะ
เส้นทางง่ายสุดตะวันออกเฉียงเหนือ

เธาลาคีรี (อักษรโรมัน: Dhaulagiri) เป็นภูเขาในประเทศเนปาลมีความสูง 8,167 เมตร หนึ่งในยอดเขาแปดพันเมตร และสูงที่สุดเป็นอันดับเจ็ดของโลก ถือเป็นเป็นภูเขาที่สูงที่สุดที่ตั้งอยู่ในพรมแดนของประเทศเดียว พิชิตสำเร็จครั้งแรกในวันที่ 13 พฤษภาคม 1960 โดยคณะนักไต่เขาชาวสวิส, ออสเตรีย และเนปาล เขาอันนาปุราณะ I (สูง 8,091 m (26,545 ft)) ตั้งอยู่ห่างไป 34 km (21 mi) ทางตะวันออกของเธาลาคีรี ชื่อเขา "เธาลาคีริ" (धौलागिरी) เป็นชื่อภาษาเนปาล มีที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า ธวล (धवल) แปลว่าสีขาว, ความงาม[2] และคีรี (गिरि) แปลว่าภูเขา[3]

ในปี 1808 การคำนวณสำรวจพื้นที่พบว่าเธาลาคีรีเป็นเขาที่สูงที่สุดที่ยังไม่ได้สำรวจ[4][5] จนถึงปี 1838 ซึ่งเขากังเจนจุงคาขึ้นอันดับหนึ่งแทน และตามด้วยเขาเอเวอเรสต์ในปี 1858

เธาลาคีรี I ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาเธาลาคีรี มีความสูงชันจากพื้นที่ลุ่มเบื้องล่างด้วยความสูง 7,000 m (22,970 ft) จากที่ลุ่มแม่น้พกาลีคัณฑกีเบื้องล่างซึ่งห่างไป 30 กิโลเมตรทางใต้ ส่วนฝั่งใต้มีความสูงชันที่ 4,000 m (13,120 ft) ชั้นหินที่พบบนยอดของเธาลาคีรีมีลักษณะเช่นเดียวกับของเขาเอเวอเรสต์ กล่าวคือประกอบด้วยหินปูนและโดโลไมต์ซึ่งเกิดจากการก่อตัวใต้มหาสมุทร ในขณะที่ยอดเขาแปดพันอื่น ๆ ในเทือกเขาหิมาลัยเป็นหินแกรนิตที่ก่อตัวขึ้นใต้พื้นโลก[6]

เธาลาคีรีเป็นเขาแปดพันลำดับก่อนสุดท้ายที่ถูกพิชิต และเป็นยอดเขาแปดพันแห่งสุดท้ายในเนปาลที่ถูกพิชิต ทุกเส้นทางในการพิชิตเขาล้วนมีความอันตราย การไต่ขึ้นส่วนใหญ่ใช้เส้นทางทางตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับการพิชิตครั้งแรก ข้อมูล ณ ปี 2007 มีผู้พิชิตเขาเธาลาคีรีสำเร็จ 358 คน และเสียชีวิต 58 คน หมายความว่ามีอัตราการเสียชีวิตในการพิชิตอยู่ที่ 16.2%[7] ระหว่างปี 1950 ถึง 2006 นักพิชิตเขา 2.88% จาก 2,016 คนที่ไต่เขาเหนือกว่าเบสแคมป์ของเธาลาคีรี I เสียชีวิต สูงกว่าอัตราเสียชีวิตเฉลี่ยของบรรดาเขาแปดพันในแเนปาลซึ่งอยู่ที่ 1.63%[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Dhaulāgiri, Nepal". Peakbagger.com.
  2. Monier-Williams, op. cit. p. 513
  3. Monier-Williams, op. cit. p. 355
  4. Waller
  5. Colebrooke 1818.
  6. "The Eight-Thousanders". www.earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2024-01-12.
  7. "Dhaulagiri I". 8000ers.com. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  8. Salisbury, Richard; Hawley, Elizabeth (September 2007). "The Himalaya by the Numbers, a statistical analysis of mountaineering in the Nepal Himalaya" (PDF). สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]