เติงกู ไมมุน ตวน มัต
เติงกู ไมมุน ตวน มัต | |
---|---|
ประธานศาลสูงสุดมาเลเซีย คนที่ 10 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 พฤษภาคม 2019 | |
เสนอชื่อโดย | มาฮาตีร์ โมฮามัด |
แต่งตั้งโดย | อับดุลละฮ์แห่งปะหัง |
ก่อนหน้า | ริชาร์ด มาลันจุม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Tengku Maimun binti Tuan Mat 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 โกตาบารู รัฐกลันตัน สหภาพมลายา |
สัญชาติ | มาเลเซีย |
เชื้อชาติ | มาเลเซีย |
บุตร | 4 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมาลายา |
เติงกู ไมมุน บินตี ตวน มัต (มลายู: Tengku Maimun binti Tuan Mat; 2 กรกฎาคม 1959 -)[1] เป็นประธานศาลสูงสุดมาเลเซียคนที่สิบและคนปัจจุบัน เธอได้รับประกาศแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนี้ต่อจาก ริชาร์ด มาลันจุม ซึ่งเกษียณอายุราชการในเดือนเมษายน 2019 ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 2 พฤษภาคม 2019 เธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งยุติธรรมที่สูงที่สุดในประเทศ[2][3]
การศึกษา
[แก้]เติงกู ไมมุน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาลายา ด้วยนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) (LL.B.) ในปี 1982[4][1]
การงาน
[แก้]เติงกู ไมมุน เข้าสู่วงการยุติธรรมในปี 1982 เป็นพนักงานว่าความให้กับคณะกรรมการพัฒนากลันตันใต้ (Southern Kelantan Development Board; KESEDAR) และ สภาเทศบาลเซอเรมบัน ในเวลาต่อมา[4][1] หลังหน้าที่การงานที่ทำให้เธอมีโอกาสรับหน้าที่เป็นคณะอธิบดีอัยการ (Attorney General's Chambers) ของศาลแขวงและการสมัยประชุม (Magistrates and Sessions Courts) เติงกู ไมมุน ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการในปี 2006[5] ระหว่างกันยายน 2007 และมกราคม 2013 เธอได้รับหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลสูงมาเลเซีย ที่ซึ่งเธอว่าความอยู่ที่ศาลสูงกัวลาลัมเปอร์ และศาลสูงชะฮ์อาลัม ในเวลาจ่อมา[5]
ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาประจำศาลสหพันธรัฐมาเลเซีย เธอได้รับการขึ้นตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มาเลเซีย และดำรงตำแหน่งเป็นเวลาเกือบหกปี จากมกราคม 2013 ถึงพฤศจิกายน 2018[5] และในเดือนพฤศจิกายน 2018 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาประจำศาลสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของมาเลเซีย[6]
หลังประธานศาลสูงสุดมาเลเซียคนที่เก้า ริชาร์ด มาลันจุม ถูกยังคับเกษียณอายุราชการด้วยวัย 66 ปี ในเดือนเมษายน 2019 เติงกู ไมมุน ได้รับการประกาศให้สืบทอดตำแหน่งนี้ในเดือนพฤษภาคม 2019 ในประกาศที่ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มาฮาตีร์ โมฮามัด โดยผ่านการรับรองของยังดีเปอร์ตวนอากง ประมุขของรัฐ[2] เธอกลายมาเป็นสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ของมาเลเซียที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุดมาเลเซีย ถือเป็นปรากฏการณ์ "ครั้งแรก" อีกครั้งของประธานศาลสูงสุด เพราะมาลันจุมก็เป็นประธานศาลสูงสุดคนแรกที่มาจากรัฐบนเกาะบอร์เนียว[7][8]
ผลงานโดดเด่น
[แก้]ในปี 2013 เติงกู ไมมุน และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีกสองคน ลงเสียงเป็นเอกฉันท์ให้ตัดสินอดีตตำรวจคอมมานโดมาเลเซียสองคน มีความผิดฐานฆาตกรรมนางแบบชาวมองโกเลีย อัลตานตูยา ชารีบู[1] ต่อมาคำตัดสินนี้ถูกย้อน แต่ก็ได้รับการย้อนการย้อนคำตัดสินอีกครั้งโดยศาลสหพันธรัฐ[9]
ในปี 2016 เธอเป็นผู้พิพากษาคนเดียวในสามคนของศาลอุทธรณ์ที่คัดค้านการตัดสินประธานพรรคเดโมคราติกแอกชั่น (DAP) ในเวลานั้น การปาล สิงห์ ด้วยความผิดฐานปลุกปั่นยุยงให้มวลชนก่อการกบฎต่อรัฐ[1] After three years, the late politician was unanimously acquitted by a seven-person Federal Court panel.[10][11]
ในปี 2018 คณะผู้ตัดสินสามคนของศาลอุทธรณ์ นำโดยเติงกู ไมมุน สนับสนุนคำตัดสินของศาลสูงซึ่งพบว่าบริษัทมหาชนด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตนากาเนซันนัล มีความผิดจากการละเลยเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบสูงคาเมรอนในปี 2013 และถูกฟ้องร้องโดยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 100 คนในหุบเขาเบอร์ตัม[12] เธอตัดสินเช่นนั้นเนื่องจากมีหลักฐานยืนยันว่าบริษัทไม่สามารถดูแลเขื่อนที่ริงเลตได้[13]
เติงกู ไมมุน เป็นหนึ่งในคณะผู้พิพากษาเจ็ดคนของศาลสหพันธรัฐ ที่นำโดยประธานศาลในตอนนั้น ริชาร์ด มาลังจุม ให้ยกเลิกคำสั่งศาลให้งดกระบวนพิจารณาซึ่งศาลอุทธรณ์มีมติให้งดการพิจารณาคดีตัดสินอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก การตัดสินครั้งนี้ทำให้การดำเนินคดีความตัดสินกรณีเรื่องอื้อฉาว 1MDB เริ่มต้นขึ้นในที่สุด หลังถูกชะลอมาหลายครั้ง[14] ในวันที่ 16 มีนาคม 2022 คณะผู้พิพากษาห้าคนของศาลสหพันธรัฐ นำโดยเติงกู ไมมุม ลงมติเอกฉันท์ปฏิเาธคำยื่นอุทธรณ์ของนาจิบ ราซัก ที่ร้องขอให้มีการอ้างหลังฐานเพิ่มในกรณีสินบนของเบอร์ฮัดเอสอาร์ซี อินเทอร์เนชั่นนอล เอสดีเอ็น (SRC International Sdn Bhd) ในความพยายามที่จะล้มล้างความผิดของตน[15]
เกียรติยศ
[แก้]- มาเลเซีย :
- Commander of the Order of the Defender of the Realm (PMN) – ตันศรี (2019)[16]
- Grand Commander of the Order of Loyalty to the Crown of Malaysia (SSM) – ตุน (2020)[17][18][19][20]
- รัฐกลันตัน :
- Knight Commander of the Order of the Loyalty to the Crown of Kelantan (DPSK) – ดาโต๊ะ (2006)[21][22]
- Knight Grand Commander of the Order of the Loyalty to the Crown of Kelantan (SPSK) – ดาโต๊ะ (2016)[21][23]
- รัฐปีนัง :
- Knight Commander of the Order of the Defender of State (DUPN) – ดาโต๊ะ เสรี อุตมะ (2019)[24]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เหตุฆาตกรรมชารีบูกีน อัลตานตูยา
- เหตุน้ำป่าหลากและโคลนถล่มในที่ราบสูงคาเมรอน ปี 2013
- กรณีอื้อฉาว 1MDB
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Lim, Ida (3 May 2019). "Who is Tengku Maimun, Malaysia's first female CJ?". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Tengku Maimun named new chief justice". Free Malaysia Today. 2 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ "Tengku Maimun is Malaysia's first woman CJ". The Star (Malaysia). 2 May 2019. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ 4.0 4.1 "Tengku Maimun is Malaysia's first woman CJ (updated)". The Star (Malaysia). 2 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "YA Dato' Tengku Maimun binti Tuan Mat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ "2 women among 3 judges promoted to Federal Court, says source". Free Malaysia Today. 24 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ "Richard Malanjum, the first Chief Justice from the Borneo states". Bernama. New Straits Times. 11 July 2018. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ Lim, Ida (2 May 2019). "History made as Tengku Maimun, Malaysia's first female chief justice appointed". สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ Lim, Ida (13 January 2015). "In final verdict, two ex-commandos to hang for Altantuya's murder". สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Karpal acquitted posthumously of sedition charge". Nurbaiti Hamdan. The Star (Malaysia). 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Federal Court acquits late Karpal Singh of sedition charge". New Straits Times. Bernama. 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ Karim, Khairah N. (2 November 2015). "Bertam Valley residents sue TNB for 2013 floods". สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Appeals court upholds decision on TNB's negligence in Bertam Valley floods". Malay Mail. Bernama. 11 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ Lim, Ida (27 March 2019). "Federal Court lifts stay in Najib's RM42m case". สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ Rashid, Hidir Reduan Abdul (2022-03-16). "Apex court rejects Najib's bid to adduce fresh SRC evidence". Malaysiakini.
- ↑ "CJ, AG Tommy Thomas, IGP among those awarded 'Tan Sri' in conjunction with Agong's birthday". Bernama. Malay Mail. 9 September 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2019.
- ↑ "King confers 'Tun' title to Tengku Maimun, Arshad Ayub". Bernama. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
- ↑ "Tengku Maimun, Dr Arshad Ayub dahului senarai penerima darjah kebesaran, pingat" (ภาษามาเลย์). Berita Harian. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
- ↑ "Tengku Maimun, wanita pertama Ketua Hakim Negara kini bergelar 'Tun'" (ภาษามาเลย์). Astro Awani. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
- ↑ "Tengku Maimun, Arshad Ayub dahului senarai penerima Darjah Kebesaran, Pingat sempena Keputeraan Agong" (ภาษามาเลย์). Bernama. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
- ↑ 21.0 21.1 "SEMAKAN PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT". Prime Minister's Department. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ "Abdullah heads honours list". The Star (Malaysia). 30 March 2006. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Kelantan MB heads state awards list". The Star (Malaysia). Bernama. 12 November 2016. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ Muzamir, Muhammad Yusri (12 July 2019). "Ketua Hakim Negara dahului penerima darjah kebesaran Pulau Pinang, esok" (ภาษามาเลย์). Berita Harian. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Chief Justice เก็บถาวร 2019-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เติงกู ไมมุน ตวน มัต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ตำแหน่งทางนิติศาสตร์ | ||||
สมัยก่อนหน้า ริชาร์ด มาลันจุม |
ประธานศาลสูงสุดมาเลเซีย 2019–ปัจจุบัน |
ในตำแหน่ง |