เฉิน หลง
เฉิน หลง 谌龙 | |
---|---|
ข้อมูลส่วนตัว | |
ชื่อเล่น | กำแพงเมืองจีน |
ประเทศ | จีน |
เกิด | เขตชาชื่อ มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน | 18 มกราคม ค.ศ. 1989
ส่วนสูง | 1.87 เมตร (6 ฟุต 2 นิ้ว) |
น้ำหนัก | 75 กก. |
ปีที่แข่งขัน | 2007 – 2021 |
มือที่ถนัด | ขวา |
ชายเดี่ยว | |
สถิติการแข่งขัน | ชนะ 446 ครั้ง, แพ้ 115 ครั้ง |
อันดับโลกสูงสุด | 1 (25 ธันวาคม ค.ศ. 2014) |
BWF profile |
เฉิน หลง (จีน: 谌龙; พินอิน: Chén Lóng; 18 มกราคม ค.ศ. 1989) เป็นอดีตนักแบดมินตันมืออาชีพชาวจีน เขาชนะเลิศโอลิมปิกประจำปี 2016 ชนะเลิศระดับโลก 2 ครั้ง และชนะเลิศในเอเชีย
เขามีชื่อเสียงจากความอดทน ความสามารถด้านการรุก และการป้องกันที่เด็ดเดี่ยว ทำให้แฟนคลับต่างเรียกเขาด้วยความชื่นชอบเป็น "กำแพงเมืองจีน"[1] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักแบดมินตันชายเดี่ยวที่ดีที่สุด[2][3]
เฉินเป็นอดีตมือวางอันดับ 1 ของโลก โดยอยู่ในตำแหน่งนั้นในสาขาชายเดี่ยวเป็นเวลา 76 สัปดาห์ติดต่อกันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2016
ประวัติ
[แก้]เฉินหลงเกิดในปี ค.ศ. 1989 ที่เขตชาชื่อ จิงโจว มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1996 เมื่อเฉินอายุ 7 ขวบ พ่อและแม่ของเขาส่งไปเรียนโรงเรียนกีฬา เมื่อปี ค.ศ. 2000 เฉินได้ย้ายไปที่เซี่ยเหมิน, มณฑลฝูเจี้ยน และได้เข้าร่วมทีมกีฬาเซี่ยเหมิน ในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักกีฬาเยาวชนทีมชาติจีน และต่อมาในปี ค.ศ. 2006 เขาได้รับเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมจีนเข้าร่วมการแข่งรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย 2007 และเขาสามารถคว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยวได้สำเร็จ ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2007 โดยเฉินสามารถเอาชนะ เค็นอิชิ ทะโงะ จากประเทศญี่ปุ่น ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-0 เกม (21-16, 21-14) [4][5]
ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2010 เฉินได้เหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมชายในเอเชียนเกมส์ ที่กว่างโจว เมื่อเดือนธันวาคม ในการแข่งขันไชนาซุปเปอร์ซีรีส์ 2010 โดยเฉินเป็นฝ่ายเอาชนะ เป้า ชุนไหล เพื่อนร่วมทีม จากประเทศจีน ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (9-21, 21-14, 21-16)[6]
ในปี ค.ศ. 2011 ในการแข่งขันเจแปนซุปเปอร์ซีรีส์ 2011 โดยเฉินสามารถเอาชนะ ลีชองเหว่ย มือวางอันดับ 1 ของโลก จากประเทศมาเลเซีย ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 (21-8, 21-10, 21-19) ทำให้เฉินคว้าแชมป์รายการนี้
ในปี ค.ศ. 2012 เฉินได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และเขาสามารถคว้าอันดับที่ 3 ในประเภทชายเดี่ยว โดยเอาชนะ อี ฮย็อน-อิล จากประเทศเกาหลีใต้ ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (21-12, 15-21, 21-15)[7]
ความสำเร็จ
[แก้]ชนะเลิศ (21)
[แก้]ปี | รายการ | คู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ | ผลคะแนน |
---|---|---|---|
2015 | ออสเตรเลียโอเพน | Viktor Axelsen | 21-12, 14-21, 21-18 |
2015 | มาเลเซียโอเพน | หลิน ตัน | 20-22, 21-13, 21-11 |
2015 | ออลอิงแลนด์โอเพน | แจน โอ นอร์เกนซี | 15–21, 21-17, 21-15 |
2014 | ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ | แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ | 21–16, 21–10 |
2014 | เดนมาร์กโอเพน | ซน วัน-โฮ | 21-19, 24-22 |
2014 | แบดมินตันชิงแชมป์โลก | ลีชองเหว่ย | 21-19, 21-19 |
2014 | โคเรียโอเพน | ลีชองเหว่ย | 21-14, 21-15 |
2013 | ไชนาโอเพน | หวัง เจิงหมิง | 19–21, 21–8, 21-14 |
2013 | เดนมาร์กโอเพน | ลีชองเหว่ย | 24–22, 21–19 |
2013 | ออลอิงแลนด์โอเพน | ลีชองเหว่ย | 21–17, 21-18 |
2013 | เยอรมันโอเพน | ทอมมี ซูเกียร์โต | 21–17, 21–11 |
2012 | ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ | ตู้ เผิงอวี่ | 21–12, 21–13 |
2012 | ฮ่องกงโอเพน | ลีชองเหว่ย | 21–19, 21–17 |
2012 | ไชนาโอเพน | หวัง เจิงหมิง | 21–19, 21–18 |
2012 | ไชนามาสเตอรส์ | หู ยฺวิน | 21–11, 21–13 |
2011 | เดนมาร์กโอเพน | ลีชองเหว่ย | 21–15, 21–18 |
2011 | เจแปนโอเพน | ลีชองเหว่ย | 21–8, 10–21, 21–19 |
2011 | ไชนามาสเตอรส์ | เฉิน จิน | 21–16, 22–20 |
2011 | ไทยแลนด์โอเพน | อี ฮย็อน-อิล | 21–8, 21–19 |
2010 | ไชนาโอเพน | เป้า ชุนไหล | 9–21, 21–14, 21–16 |
2010 | บิตเบอร์เกอร์โอเพน | แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ | 21–3, 12–21, 21–9 |
2009 | ฟิลิปปินส์โอเพน | หู ยฺวิน | 21–13, 21–6 |
การแข่งขันระดับเยาวชน | |||
2007 | แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก | เค็นอิชิ ทะโงะ | 21–16, 21–14 |
2007 | แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย | โมห์ด อารีฟ์ ลาติฟ์ | 18–21, 21–18, 22–20 |
- รายการระดับซุปเปอร์ซีรีส์
- รายการระดับกรังด์ปรีซ์โกลด์ และกรังด์ปรีซ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Biswas, Sudipta (21 May 2023). "Chen Long, an underappreciated genius, bids farewell". SPORTSTAR.
- ↑ Goh, ZK. "Chinese legend and 2016 Olympic champion Chen Long announces retirement from badminton". olympics.com. olympics. สืบค้นเมื่อ 5 May 2024.
- ↑ Sukumar, Dev. "Chen Long Consistency Personified". bwfbadminton. สืบค้นเมื่อ 5 May 2024.
- ↑ "马来西亚羽毛球公开赛谌龙夺冠 荆州再添一位世界冠军". 《江汉商报》. 2009-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
- ↑ tournamentsoftware.com KLRC World Junior Championships 2007
- ↑ 中国公开赛谌龙逆转鲍春来问鼎 首次加冕超级赛冠军《华奥星空》2010-12-05
- ↑ "谌龙2-0击败泰国名将拒绝遭爆冷 昂首挺进淘汰赛". 东方网. 2012-07-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เฉิน หลง ที่ BWF.tournamentsoftware.com (ในภาษาอังกฤษ)
- เฉิน หลง ที่ BWFbadminton.com (ในภาษาอังกฤษ)
- Chen Long at BadmintonLink.com ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 2015-05-14)
- เฉิน หลง ที่ Olympedia
- เฉิน หลง ที่ Olympics.com