เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี
| ||||||||||||||
|
เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี (ประสูติ 12 มีนาคม พ.ศ. 2506-) พระราชธิดาพระองค์กลางในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ชาห์และจักรพรรดินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี และประเทศอิหร่าน
พระประวัติ
[แก้]เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี เป็นพระราชธิดาพระองค์กลางในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี โดยเจ้าหญิงฟาราห์นาซมีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐาอย่างละ 1 พระองค์ ได้แก่ มกุฎราชกุมารไซรัสเรซา, เจ้าชายอาลีเรซาที่สอง และเจ้าหญิงไลลา นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระเชษฐภคิณีต่างพระมารดาคือ เจ้าหญิงชาห์นาซ
เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวีทรงได้ทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทอดพระเนตรการพัฒนาของประเทศทั้งสอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2520[1][2]
การศึกษา
[แก้]เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพิเศษนีอาวารานในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน โรงเรียนอีเธล วอล์กเกอร์ ในเมืองซิมส์เบอร์รี รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยอเมริกันไคโร กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981-1982 พระองค์ได้ศึกษาต่อในวิทยาลัยเบนนิงตัน ในเมืองเบนนิงตัน รัฐเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เจ้าได้รับปริญญาด้านสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาโคลัมเบีย ใน ค.ศ. 1986 และปริญญาสาขาจิตวิทยาเด็กจากมหาวิทลัยเดียวกันในปี ค.ศ. 1990
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ The Los Angeles Times ปี ค.ศ. 2004 กล่าวว่า เจ้าหญิงฟาราห์นาซทรงต้องการทำงานองค์กรระดับประเทศหรือยูนิเซฟ แต่ภายหลังได้รับการปฏิเสธ
ปัจจุบันเจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี ทรงประทับอยู่ในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[3]
เกร็ดข้อมูล
[แก้]- ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 มีการตั้งพระสาทิสลักษณ์ของเจ้าหญิงฟาราห์นาซเป็นฉากหลังในคอนเสิร์ตของกูกูส (Googoosh) นักร้องอิหร่าน ที่แมดิสันสแควร์การ์เดน มหานครนิวยอร์ก เมื่อการแสดงจบ จึงมีการสัมภาษณ์พระราชวงศ์อิหร่านที่เสด็จลี้ภัยในอเมริกาโดยนักข่าวนิวยอร์กเอง
- เมื่อพิธีสวมมงกุฎพระราชบิดาของพระองค์ในปี ค.ศ. 1967 โดยขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระชนมายุได้เพียง 4 ชันษา ใส่เพชรประดับมงกุฎสำหรับทำเป็น Van Cleef & Arpels
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชพิธีสถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
- ↑ "Shah's daughter laid to rest". BBC News. 2001-06-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bruges, Jean-Jacques de, "Shahbanou Farah", Point de Vue, 31 August-6 September 2005, Issue 2980
- "Shah's Daughter Could Not Stand Exile," BBC News, 12 June 2001[1]
- "Victory of Light Over Darkness is Near in Iran", Iran Press Service, 27 July 2001[2] เก็บถาวร 2011-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Bahrampour, Tara, "Singer Revives Memories of Lost Youth and Lost Country", The New York Times, 28 August 2000
- Krebs, Albin and Robert McG. Thomas, "Notes on People: Pahlevis [sic] Inquire About New England School", The New York Times, 16 November 1981, page B5
- Krebs, Albin and Robert McG. Thomas, "Notes on People: A Daughter of Shah Auditing College Classes", The New York Times, 28 November 1981, page 39
- "Princesse Farahnaz: Les 20 Ans", Point de Vue, March 1983
- Marcisz, Christopher, "Son of Shah Advocates Democracy for Iran", Berkshire Eagle, 21 April 2004
- O'Connor, Anne-Marie, "Style & Substance: A Widow's Look at a Shah's Legacy", The Los Angeles Times, 10 March 2004, page E1
- Cunningham, Bill, "Spring Sightings", The New York Times, 28 March 2004, page 9
- Beaumont, Peter, "Water Resource Development in Iran", The Geographic Journal, Vol. 140, No. 3 (October 1974), pages 418-431