เขารินจานี
เขารินจานี | |
---|---|
เขาบารูจารี | |
การปะทุเมื่อ พ.ศ. 2537 | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 3,726 เมตร (12,224 ฟุต) [1] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 3,726 เมตร (12,224 ฟุต) อันดับที่ 38 |
รายชื่อ | Island high point 8th Ultra Ribu |
พิกัด | 8°24′52″S 116°27′35″E / 8.414414°S 116.459767°E [1] |
ชื่อ | |
ชื่อท้องถิ่น | Gunung Rinjani |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | อุทยานแห่งชาติเขารินจานี เกาะลมบก อินโดนีเซีย |
เทือกเขา | หมู่เกาะซุนดาน้อย |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | มีโซโซอิกตอนปลาย |
ประเภทภูเขา | Somma |
แนวโค้งภูเขาไฟ | Sunda Arc |
การปะทุครั้งล่าสุด | 14:45, 27 กันยายน ค.ศ. 2016 (WITA) |
การพิชิต | |
เส้นทางง่ายสุด | Senaru |
เส้นทางปกติ | Sembalun |
การเข้าถึง | จำกัด |
เขารินจานี (อินโดนีเซีย: Gunung Rinjani) เป็นภูเขาไฟมีพลังบนเกาะลมบกของอินโดนีเซีย มีความสูง 3,726 เมตร (12,224 ฟุต) ทำให้เป็นภูเขาไฟที่สูงเป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย[2]
เขารินจานีมีแอ่งยุบปากปล่องขนาด 6 × 8.5 กิโลเมตร (3.7 × 5.3 ไมล์) อยู่ติดกับภูเขาไฟ ซึ่งบางส่วนเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่เรียกว่าเซอการาอานัก (Segara Anak) หรืออานักเลาต์ (Anak Laut, "เด็กแห่งทะเล")[3] เนื่องจากสีของน้ำเป็นสีฟ้าเหมือนน้ำทะเล ทะเลสาบแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) และคาดว่าจะมีความลึกประมาณ 200 เมตร (660 ฟุต)[4] แอ่งยุบปากปล่องยังมีน้ำพุร้อน ชนเผ่าซาซักและชาวฮินดูถือว่าทะเลสาบและภูเขาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีการทำกิจกรรมทางศาสนาเป็นครั้งคราวในพื้นที่ทั้งสอง[3] ยูเนสโกได้กำหนดให้แอ่งยุบปากปล่องภูเขาไฟรินจานีเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอุทยานธรณีโลกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561[5]
อุทยานแห่งชาติ
[แก้]ภูเขาไฟและแอ่งยุบปากปล่องได้รับการคุ้มครองโดยอุทยานแห่งชาติเขารินจานีซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2540 การท่องเที่ยวได้รับความนิยมมากขึ้น[6] โดยนักเดินป่าสามารถเยี่ยมชมขอบ ทางเดินเข้าไปในแคลดีรา หรือแม้กระทั่งปีนขึ้นไปยังจุดสูงสุดจากเส้นทางที่ยากลำบาก[7] อย่างไรก็ตามก็เคยมีผู้เสียชีวิต[8][9] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 เส้นทางไปยอดถูกปิดเนื่องจากกิจกรรมภูเขาไฟในเวลานั้นและเปิดอีกครั้งในเวลาต่อมาเมื่อกิจกรรมลดลง ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 ถึงและรวมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 การเข้าถึงเขารินจานีถูกจำกัดอีกครั้งเนื่องจากกิจกรรมภูเขาไฟ
อุทยานแห่งนี้เป็นที่นิยมสำหรับการปีนเขาและการเดินป่าและเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญ ตัวอุทยานแห่งชาติแห่งนี้มีเนื้อที่ 41,330 เฮกตาร์ (413.3 ตารางกิโลเมตร) ภายในเขตอุทยานเป็นทางการและยังมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้านนอกอีก 66,000 เฮกตาร์ (660 ตารางกิโลเมตร) ภูเขาและบริวารรวมเป็นอุทยานแห่งชาติเขารินจานี เขารินจานีได้รับรางวัล World Legacy Award จาก Conservation International and Traveller (พ.ศ. 2547) และเข้ารอบสุดท้ายรางวัล Tourism for Tomorrow Awards (พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2551) จาก World Travel Tourism Council (WTTC)
นกฮูกช็อปรินจานีได้รับการค้นพบใน พ.ศ. 2546 และหลังจากการวิจัย 10 ปีก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดเฉพาะถิ่นใหม่ (ตัวอย่างเก็บในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ถูกระบุว่าเป็นนกฮูกช็อปโมลุกกะ)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Rinjani". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.
- ↑ "Information – Rinjani". Global Vulcanism Program USGS-Smithsonian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 13 Sep 2010.
- ↑ 3.0 3.1 "Datang dan Nikmatilah Danau di Puncak Rinjani|". 18 January 2014.
- ↑ Langston-Able, Nick (2007). Playing with Fire. United Kingdom: Freak Ash Books. p. 184. ISBN 9780955340345.
- ↑ "Unesco designates Mount Rinjani as global geopark". Antara News. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
- ↑ "Pure elation on reaching Rinjani's summit at dawn". Rinjani Dawn Adventures. 11 November 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Langston-Able, Nick (2007). Playing with Fire: Adventures in Indonesia. Freakash. pp. 142–170. ISBN 978-0-9553403-4-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.
- ↑ "Main Object on Mount Rinjani".
- ↑ "Seven Die on Mt. Rinjani". Rinjani Dawn Adventures. rinjanidawnadventures.com. 10 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Spesies Baru Burung Hantu Ditemukan di Lombok". 14 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.