ข้ามไปเนื้อหา

เกลือหิมาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกลือหิมาลัยที่ขายในประเทศบราซิล

เกลือหิมาลัย (อังกฤษ: Himalayan salt) เป็นเกลือเม็ด (เฮไลต์) ที่สกัดจากแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน บางประเภทมีผิวสีชมพูเนื่องจากแร่ธาตุรอง (trace mineral) ที่ประสมอยู่ มักใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารแทนเกลือแกงประเภทอื่น และยังใช้ในการประกอบอาหาร การนำเสนออาหาร การประดับตกแต่ง และการทำสปา แต่มักได้รับการอ้างว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้[1]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เกลือหิมาลัยสกัดจากเทือกเขาเกลือ (Salt Range)[2] ซึ่งเป็นชายขอบทางทิศใต้ของแนวชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (fold and thrust belt) อันอยู่เบื้องใต้ที่ราบสูง Pothohar ในตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ประเทศปากีสถาน เกลือหิมาลัยนั้นกำเนิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผลึกแร่เฮไลต์ถูกเกลือโพแทชเข้าแทรกซึม แล้วถูกทับถมอยู่ด้านบนด้วยแร่มาร์ลที่มียิปซัม ก่อนถูกเสียดแทรกเป็นชั้น ๆ ด้วยยิปซัมและโดโลไมต์ที่มีหินน้ำมันปนอยู่เป็นชั้นบาง ๆ โดยสั่งสมพอกพูนอยู่เช่นนี้ในช่วง 600–540 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับยุคอีดีแอคารันไปจนถึงต้นยุคแคมเบรียน จนเกิดเป็นเทือกเขาเกลือที่ใช้สกัดเกลือ[3][4][5]

ประวัติ

[แก้]

ตำนานพื้นถิ่นว่า กองทัพของอะเล็กซานเดอร์มหาราช (ครองราชย์ 332–323 ปีก่อนคริสตกาล) ค้นพบเกลือหิมาลัย[6] แต่หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแรกสุดเกี่ยวกับการสกัดเกลือนั้นระบุว่า ตระกูล Janjua ในปากีสถานค้นพบเกลือนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1200[7] เกลือนี้สกัดกันชุกชุมในเขตเหมืองเกลือ Khewra ที่นคร Khewra ของแคว้นปัญจาบ ซึ่งเป็นเขตเหมืองบริเวณเชิงเขาในเทือกเขาเกลือระหว่างแม่น้ำสินธุกับที่ราบปัญจาบ[2][8][9] โดยมักส่งออกปริมาณมาก ๆ แล้วไปผ่านกรรมวิธีอื่น ๆ ในต่างประเทศเพื่อส่งให้ตลาดของผู้บริโภคต่อไป[6]

ส่วนประกอบทางแร่

[แก้]

เกลือหิมาลัยเป็นเกลือแกงประเภทหนึ่ง การวิเคราะห์ตัวอย่างเกลือจำนวนหนึ่งจากเขต Khewra พบว่า เกลือเหล่านี้มีแร่ธาตุหลักเป็นโซเดียมคลอไรด์ราวร้อยละ 96–99 และมีแร่ธาตุรอง เช่น แคลเซียม โครเมียม ซัลเฟต แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก ในปริมาณต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย คือ ต่ำว่าร้อยละ 1[2][10][11][12] เกลือบางประเภทที่สกัดได้จากปากีสถานก็ไม่เหมาะจะใช้ในการประกอบอาหารหรืออุตสาหกรรม หากไม่ทำให้บริสุทธิ์ก่อน[2] ผลึกเกลือจากภูมิภาคนี้ บางประเภทมีเนื้อสีขาวไปจนถึงสีใส บางประเภทมีเนื้อสีชมพู แดง หรือแดงก่ำ เนื่องจากแร่ธาตุรองที่มีอยู่ดังกล่าว[13][14]

เกลือหิมาลัยมีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนเกลือแกงทั่วไป[12][1] ยกเว้นเรื่องไอโอดีน เกลือทั่วไปมักเสริมไอโอดีนเพื่อช่วยลดโรคภัยจากการขาดไอโอดีน[15] แต่เกลือหิมาลัยไม่เสริมไอโอดีน จึงขาดคุณประโยชน์ในด้านนี้[16][17]

การใช้

[แก้]

เกลือหิมาลัยใช้ปรุงแต่งอาหาร และเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการตลาด เกลือหิมาลัยที่มีสีชมพูจึงมักแพงกว่าเกลือแกงหรือเกลือสมุทรทั่วไปราว 20 เท่า[18] การที่มีสีชมพูเพราะมีแร่ธาตุอื่นเจือปนอยู่ รวมถึงการที่ปราศจากสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (anti-caking agent) ก่อให้เกิดความเชื่อว่า เกลือหิมาลัยดีต่อสุขภาพยิ่งกว่าเกลือธรรมดาสามัญ[1][17][19] แต่เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ[16][12][19][20][21] ในสหรัฐเอง องค์การอาหารและยาก็ได้เตือนผู้ผลิตอาหารเสริม ซึ่งรวมถึงรายที่ใช้เกลือหิมาลัยเป็นส่วนประกอบ ว่า ให้เลิกทำการตลาดโดยใช้ข้ออ้างอันปราศจากการพิสูจน์เกี่ยวกับประโยชน์ทางสุขภาพ[22]

นอกเหนือไปจากข้างต้นแล้ว เกล็ดเกลือหิมาลัยยังใช้เป็นจานอาหาร เป็นจานอบ (baking stone) และเป็นกระทะสำหรับนาบ (girdle)[23] ทั้งยังใช้ทำเป็นจอก (shot glass) สำหรับดื่มเตลิกา[24] แต่ในการใช้งานเช่นนั้น เกลือจำนวนหนึ่งย่อมส่งผ่านไปยังอาหารหรือเครื่องดื่ม และแปลงเปลี่ยนรสชาติไปเสีย[25]

เกลือหิมาลัยยังใช้ทำตะเกียงเกลือ (salt lamp) ซึ่งสะท้อนแสงสีชมพูหรือสีส้ม[26] และมีการอ้างว่า การใช้เกลือหิมาลัยทำตะเกียงจะส่งผลให้ตะเกียงแผ่ไอออนซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ แต่เรื่องนี้ก็ไร้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ[1][27] ทว่า ตะเกียงเกลือดังกล่าวสามารถเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง เพราะเมื่อสัตว์เลี้ยงเลียเข้าไปแล้วอาจเกิดภาวะเป็นพิษจากเกลือ[28]

การใช้เกลือหิมาลัยทำสปา หรือทำกำแพงอาคารสปา ก็ได้รับการอ้างว่า จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Alexandra Sifferlin (28 January 2017). "Does pink Himalayan salt have any health benefits?". Time. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Qazi Muhammad Sharif; Mumtaz Hussain; Muhammad Tahir Hussain (December 2007). Viqar Uddin Ahmad; Muhammad Raza Shah (บ.ก.). "Chemical evaluation of major salt deposits of Pakistan" (PDF). Journal of the Chemical Society of Pakistan. Chemical Society of Pakistan. 29 (26): 570–571. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2016. สืบค้นเมื่อ September 3, 2017.
  3. Jaumé, S.C. and Lillie, R.J., 1988. Mechanics of the Salt Range‐Potwar Plateau, Pakistan: A fold‐and‐thrust belt underlain by evaporites. Tectonics, 7(1), pp.57-71.
  4. Grelaud, S., Sassi, W., de Lamotte, D.F., Jaswal, T. and Roure, F., 2002. Kinematics of eastern Salt Range and South Potwar basin (Pakistan): a new scenario. Marine and Petroleum Geology, 19(9), pp.1127-1139.
  5. Richards, L., King, R.C., Collins, A.S., Sayab, M., Khan, M.A., Haneef, M., Morley, C.K. and Warren, J., 2015. Macrostructures vs microstructures in evaporite detachments: An example from the Salt Range, Pakistan. Journal of Asian Earth Sciences, 113, pp.922-934.
  6. 6.0 6.1 Hadid, Diaa (22 September 2019). "Pakistan's Pink Himalayan Salt Has Become A Matter Of National Pride". NPR. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
  7. Maurer, Hermann (2016). "Khewra Salt Mines" (ภาษาอังกฤษ). Global Geography. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  8. Weller, J. Marvyn (May–June 1928). "The Cenozoic History of the Northwest Punjab". The Journal of Geology. Chicago Journals. 36 (4): 362–375. Bibcode:1928JG.....36..362W. doi:10.1086/623522. JSTOR 30055696. S2CID 129105623.
  9. The Salt Range and Khewra Salt Mine whc.unesco.org, accessed 19 October 2021
  10. Abrar ul Hassana; Ayesha Mohy Udd Din; Sakhawat Alib (2017). "Chemical Characterisation of Himalayan Rock Salt". Pakistan Journal of Scientific and Industrial Research Series A: Physical Sciences. 60: 67–71.
  11. Ada McVean (20 June 2017). "Is Himalayan pink salt better for you?". Office for Science and Society, McGill University, Montreal, Canada. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
  12. 12.0 12.1 12.2 Hall, Harriet (31 January 2017). "Pink Himalayan sea salt: An update". Science-Based Medicine. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
  13. "Salt Mines". Pakistan Mineral Development Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2017. สืบค้นเมื่อ August 13, 2017.
  14. Freeman, Shanna (27 November 2007). "How Salt Works". HowStuffWorks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2017. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
  15. "Iodized salt". Salt Institute. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  16. 16.0 16.1 Sipokazi Fokazi (30 October 2017). "Himalayan salt: Benefits of staying in the pink". Independent Media, South Africa. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
  17. 17.0 17.1 Shilton, A. C. (17 January 2019). "Pink Himalayan Salt Is a Waste of Money". Vice. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  18. Charlie Floyd; Ju Shardlow (11 June 2019). "Why pink Himalayan salt is so expensive". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  19. 19.0 19.1 Mull, Amanda (5 December 2018). "How Pink Salt Took Over Millennial Kitchens". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  20. "David Avocado's Himalayan Salt Debunked". Bad Science Debunked. January 18, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2017. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
  21. Schwarcz, Dr Joe (2019-10-08). A Grain of Salt: The Science and Pseudoscience of What We Eat (ภาษาอังกฤษ). ECW Press. p. 281. ISBN 978-1-77305-385-1. As is often the case with nutritional controversies, pseudoscience slithers into the picture. In this case it is in the form of “natural” alternatives to table salt with insinuations of health benefits. Himalayan salt, which is composed of large grains of rock salt mined in Pakistan, is touted as a healthier version because it contains traces of potassium, silicon, phosphorus, vanadium, and iron. The amounts are enough to color the crystals, giving them a more “natural” appearance, but are nutritionally irrelevant. Some promoters make claims that are laughable. Himalayan salt, they say, contains stored sunlight, will remove phlegm from the lungs, clear sinus congestion, prevent varicose veins, stabilize irregular heartbeats, regulate blood pressure, and balance excess acidity in brain cells. One would have to have a deficiency in brain cells to believe such hokum. It doesn’t even rise to the level of taking it with a grain of salt.
  22. "Inspections, Compliance, Enforcement, and Criminal Investigations Herbs of Light, Inc". Food and Drug Administration (FDA). June 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 7, 2018.
  23. Bitterman, Mark (January 30, 2008). "Safe Heating and Washing Tips for Your Himalayan Salt Block". Salt News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2017.
  24. Hadid, Diaa; Sattar, Abdul (3 October 2019). "Pakistan Wants You To Know: Most Pink Himalayan Salt Doesn't Come From India". NPR. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
  25. Scozzaro, Carrie (January 10, 2019). "Salt blocks can be used as a versatile cooking alternative". Spokane, WA: Inlander. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  26. Banu Ibrahim, Nikhita Mahtani (24 May 2018). "Everything you need to know about buying Himalayan salt lamps". CNN.
  27. Alex Kasprak (22 December 2016). "Do Salt Lamps Provide Multiple Health Benefits?". Snopes. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  28. Scott, Ellen (4 July 2019). "Vets warn how dangerous Himalayan salt lamps can be for cats". Metro (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]