ข้ามไปเนื้อหา

ฮิปโปกราแตส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิปโปกราแตส
ภาพธรรมเนียมนิยมหุ่นครึ่งตัวบน "ภาพเหมือน" ฮิปโปกราแตส (ภาพแกะไม้จากศตวรรษที่ 19)
เกิดประมาณ 460 ปีก่อน ค.ศ.
กอส กรีซโบราณ
เสียชีวิตประมาณ 370 ปีก่อน ค.ศ.
(อายุราว 90 ปี)
ลาริสซา กรีซโบราณ
อาชีพแพทย์
ยุคสมัยกรีซคลาสสิก
ตำแหน่งบิดาแห่งการแพทย์

ฮิปโปกราแตสแห่งโกส (กรีก: Ἱπποκράτης ὁ Κῷος, ทับศัพท์ Hippokrátēs ho Kṓos, [hip.po.krá.tɛːs]; ป. 460 –  370 BC) หรือ ฮิปพอคราทีสแห่งโกส (อังกฤษ: Hippocrates of Kos; /hɪˈpɒkrətz/) หรือรู้จักในนามฮิปโปกราแตสที่สอง เป็นแพทย์ชาวกรีกแห่งยุคเปอริเคิลส์ (กรีซยุคคลาสสิก) ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่โดดเด่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแพทย์ เขามักได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์"[1] เพื่อเป็นการระลึกถึงการมีส่วนร่วมในสาขาวิชาการแพทย์ที่หยั่งรากมาถึงปัจจุบันในฐานะผู้ก่อตั้งการแพทย์แบบฮิปโปกราแตส (Hippocratic School of Medicine) การแพทย์อุดมปัญญานี้ได้ปฏิวัติการแพทย์กรีกโบราณไปโดยสิ้นเชิง ผ่านการก่อร่างของแบบแผนปฏิบัติที่ต่างจากสาขาอื่น ๆ ที่เคยเกี่ยวข้องในเชิงขนบ (เธอร์กี และ ปรัชญา) ซึ่งส่งผลให้เกิดการแพทย์ขึ้นมาในฐานะวิชาชีพหนึ่ง[2][3]

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของบรรดาผู้นิพนธ์คอร์ปัส, การปฏิบัติของแพทย์แผนฮิปโปกราแตส และการกระทำของตัวอเองมักถูกปนเปกัน ฉะนั้น จึงแทบไม่มีใครทราบแน่ชัดเกี่ยวกับตัวฮิปโปกราแตสว่าเขามีความคิดอย่างไร เขียนอะไร และกระทำการใดอย่างแน่ชัด ฮิปโปกราแตสมักถูกแสดงในรูปของพาราโกนแห่งแพทย์ยุคโบราณและได้รับการยอมรับในฐานะผู้ริเริ่มคำสาบานของฮิปโปกราแตสที่ซึ่งยังคงใช้และทันต่อยุคสมัยในปัจจุบัน นอกจากนี้ เขายังได้รับการยอมรับในฐานะผู้สร้างความก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ให้กับระบบการศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกอย่างเป็นระบบด้วยการรวมความรู้ทางการแพทย์จากแขนงก่อน ๆ และบัญญัติแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ในคอร์ปัสของฮิปโปกราแตส และงานเขียนชิ้นอื่น ๆ[2][4]

ชีวประวัติ

[แก้]
ภาพเขียนแสดงเรื่องราวขณะฮิปโปกราแตสปฏิเสธการเข้าเฝ้าจักรพรรดิอะเคเมนิด อาร์ตาเซอร์เซส ผู้ร้องขอการช่วยเหลือจากฮิปโปกราแตส ภาพเขียนโดยกีรอเดต์[5]

นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปยอมรับว่าฮิปโปกราแตสเกิดระหว่าง 460 ปีก่อน ค.ศ. บนเกาะกอสในดินแดนกรีซ ในขณะที่ข้อมูลเชิงชีวประวัติชิ้นอื่น ๆ ของเขานั้นมีแนวโน้มว่าไม่เป็นความจริง[6]

แพทย์กรีกยุคศตวรรษที่สอง ซอเรนัสแห่งเอเฟซุส[7] เป็นผู้นิพนธ์ชีวประวัติของฮิปโปกราแตสเป็นคนแรก และเป็นแหล่งข้อมูลของข้อมูลส่วนบุคคลของฮิปโปกราแตสส่วนใหญ่ ผู้แต่งชีวประวัติยุคถัด ๆ มา เช่น ซูดา แห่งศตวรรษที่ 10 และในงานเขียนของจอห์น เซทเซสเรื่อง "พอลิติกส์" ของอาริสโตเติล อายุราว 400 ปีก่อน ค.ศ.[8]

ซอเรนัสระบุว่าบิดาของฮิปโปกราแตสคือนายแพทย์เฮรักลิเดส และมารดามีชื่อว่า ปราซิเตลา (Praxitela) ธิดาของทีซาเน (Tizane) บุตรทั้งสองของฮิปโปกราแตสคือ เธสซาลูส และ ดราโก รวมถึงลูกเขย พอลีบุส ล้วนเป็นศิษย์ของฮิปโปกราแตส แพทย์ในยุคถัด ๆ มา กาเลน ระบุว่า พอลีบุสเป็นผู้สืบทอดของอที่แท้จริง ในขณะที่เธสซาลุสและดราโกล้วนมีบุตรคนหนึ่งชื่อว่าฮิปโปกราแตส (ฮิปโปกราแตสที่สามและที่สี่)[9][10]

ซอรานุสระบุว่าฮิปโปกราแตสได้ศึกษาวิชาการแพทย์จากบิดาและคุณปู่/ตา (ฮิปโปกราแตสที่หนึ่ง) และได้ศึกษาวิชาอื่น ๆ จากดิมอคริตัส และ กอร์เกียส เป็นไปได้ว่าฮิปโปกราแตสฝึกฝนอยู่ที่แอสเคลปีเอียนแห่งกอส และเรียนวิชาจากแพทย์ชาวเธรซ ฮิโรดิกุสแห่งเซลิมเบรีย เพลโตเคยระบุชื่อของฮิปโปกราแตสในสองบทสนทนา: โปรตาโกราส ที่ซึ่งเพลโตระบุถึงฮิปโปกราแตสว่าเป็น "ฮิปโปกราแตสแห่งโกส ผู้เป็นชาวแอสคลีเปียด์";[11][12] และใน เฟดรุส เพลโตเสนอว่า "ฮิปโปกราแตสชาวแอสคลีเปียด์" คิดว่าความรู้สมบูรณ์ของธรรมชาติของร่างกายนั้นจำเป็นต่อการแพทย์[13] ฮิปโปกราแตสสอนและปฏิบัติหน้าที่แพทย์ตลอดชีวิตของเขา เขาได้เดินทางไปตั้งแต่เธสซาลี, เธรซ และ ทะเลมาร์มารา มีการระบุถึงการเสียชีวิตของเขาอยู่หลายสำนวน เป็นไปได้ว่าเขาเสียชีวิตที่ลาริสซา ด้วยวัย 83, 85 หรือ 90 ปี ในขณะที่บางเอกสารระบุว่าเขามีอายุถึง 100 ปี[10]

เกียรติยศ

[แก้]
ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงกาเลนและฮิปโปกราแตส, ศตวรรษที่ 12; อานะกานี ประเทศอิตาลี

ฮิปโปกราแตสได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะ "บิดาแห่งการแพทย์"[14] ผลงานของเขาปฏิวัติแนวปฏิบัติของการแพทย์ แต่ก็ได้ชะงักการพัฒนาไปหลังเขาเสียชีวิต[15] ฮิปโปกราแตสได้รับการยกย่องสูงมากจนคำสอนต่าง ๆ ของเขาส่วนใหญ่ถือว่ายิ่งใหญ่เกินกว่าจะต้องถูกเพิ่มพูน ทำให้ไม่มีการพัฒนาเด่น ๆ ในหลักของฮิปโปกราแตสเกิดขึ้นเลยเป็นช่วงเวลานาน[11][16] เป็นเวลานับศตวรรษหลังฮิปโปกราแตสเสียชีวิตที่ถูกตราว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการถดถอยมากพอ ๆ กับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าเพิ่มเติม เช่นที่ปรากฏในงานเขียนของฟีลดิง การ์ริสซันว่า "ภายหลังยุคของฮิปโปกราแตส แนวปฏิบัติของการชักประวัติในทางคลินิกก็เหือดแห้งไป"[17]

แพทย์คนสำคัญคนแรกถัดจากฮิปโปกราแตสคือกาเลน แพทย์ชาวกรีกโบราณผู้มีชีวิตระหว่างปี 129 ถึง 200 กาเลนสร้างความถาวรให้กับจารีตการแพทย์แบบฮิปโปกราแตส สร้างความก้าวหน้ามากมาย เช่นเดียวกับความถดถอยบางประการ[18][19] ต่อมาในยุคกลาง โลกอิสลามได้ปรับเอาวิธีแบบฮิปโปกราแตสมาใช้และพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ ขึ้น[20] ภายหลังยุคเรเนสซองส์ของยุโรป วิธีแบบฮิปโปกราแตสได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในยุโรปตะวันตกและยังคงปรากฏใช้มาจนถึงศตวรรษที่ 19 ในบรรดาผู้ที่นำเอาวิธีแบบฮิปโปกราแตสมาใช้อย่างเคร่งครัดได้แก่ ธอมัส ซีเดินแฮม, วิลเลียม เฮเบอร์ดีน, ฌอง-มาร์แต็ง ชาร์โคต์ และ วีลเลียม ออสเลอร์ แพทย์ชาวฝรั่งเศส อ็องรี อูชาร์ ระบุว่าการชุบชีวิตวิธีของฮิปโปกราแตสใหม่นี้เป็น "ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของการแพทย์ภายใน"[21]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hippocrates". Microsoft Encarta Online Encyclopedia. Microsoft Corporation. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29.
  2. 2.0 2.1 Garrison 1966, pp. 92–93
  3. Nuland 1988, p. 5
  4. Garrison 1966, p. 96
  5. Pinault, Jody Rubin (1992). Hippocratic Lives and Legends (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 79. ISBN 978-90-04-09574-8.
  6. Nuland 1988, p. 4
  7. Britannica Concise Encyclopedia 2006
  8. Aristotle. "Politics Book VII". Internet Classics Archive.
  9. Adams 1891, p. 19
  10. 10.0 10.1 Margotta 1968, p. 66
  11. 11.0 11.1 Martí-Ibáñez 1961, pp. 86–87
  12. Plato 380 B.C.
  13. Plato 360 B.C. 270c
  14. Hanson 2006
  15. Garrison 1966, p. 100
  16. Margotta 1968, p. 73
  17. Garrison 1966, p. 95
  18. Jones 1868, p. 35
  19. West, John B. (Spring 2014). "Galen and the beginnings of Western physiology". Am J Physiol Lung Cell Mol Physiol. 307 (2): L121–L128. doi:10.1152/ajplung.00123.2014. PMID 24879053.
  20. Leff & Leff 1956, p. 102
  21. Garrison 1966, p. 94

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Adams, Francis (translator) (1891) (1994) [1891], Works by Hippocrates, The Internet Classics Archive: Daniel C. Stevenson, Web Atomics © 1994–2000 {{citation}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help).
  • Coulter, Harris L (1975), Divided Legacy: A History of the Schism in Medical Thought: The Patterns Emerge: Hippocrates to Paracelsus, vol. 1, Washington, DC: Weehawken Book
  • Craik, Elizabeth M. (ed., trans., comm.), The Hippocratic Treatise On glands (Leiden; Boston: Brill, 2009) (Studies in ancient medicine, 36).
  • Di Benedetto, Vincenzo (1986), Il medico e la malattia. La scienza di Ippocrate, Turin: Einaudi
  • Edelstein, Ludwig (1943), The Hippocratic Oath: Text, Translation, and Interpretation, Baltimore: Johns Hopkins University Press
  • Enache, Cătălin (2019), Ontology and Meteorology in Hippocrates' On Regimen, Mnemosyne 72 (2), 173-96.
  • Goldberg, Herbert S. (1963), Hippocrates, Father of Medicine, New York: Franklin Watts
  • Heidel, William Arthur (1941), "Hippocratic Medicine: Its Spirit and Method", Nature, 149 (3781): 422–423, Bibcode:1942Natur.149..422J, doi:10.1038/149422a0, S2CID 4136630
  • Hippocrates (1990), Smith, Wesley D (บ.ก.), Pseudepigraphic writings : letters, embassy, speech from the altar, decree, Leiden: Brill, ISBN 978-90-04-09290-7
  • Jouanna, Jacques (1999), Hippocrates, M.B. DeBevoise, trans, Baltimore: Johns Hopkins University Press, ISBN 978-0-8018-5907-6
  • Jori, Alberto (1996), Medicina e medici nell'antica Grecia. Saggio sul 'Perì téchnes' ippocratico, Bologna (Italy): il Mulino.
  • Kalopothakes, M.D. (1857), An essay on Hippocrates, Philadelphia: King and Baird Printers.
  • Langholf, Volker (1990), Medical theories in Hippocrates : early texts and the "Epidemics", Berlin: de Gruyter, ISBN 978-3-11-011956-5
  • Levine, Edwin Burton (1971), Hippocrates, New York: Twayne
  • Lopez, Francesco (2004), Il pensiero olistico di Ippocrate. Percorsi di ragionamento e testimonianze. Vol. I, Cosenza (Italy): Edizioni Pubblisfera, ISBN 978-88-88358-35-2.
  • Moon, Robert Oswald (1923), Hippocrates and His Successors in Relation to the Philosophy of Their Time, New York: Longmans, Green and Co
  • Petersen, William F. (1946), Hippocratic Wisdom for Him Who Wishes to Pursue Properly the Science of Medicine: A Modern Appreciation of Ancient Scientific Achievement, Springfield, IL: Charles C Thomas
  • Phillips, E.D. (1973), Aspects of Greek Medicine, New York: St. Martin's Press
  • Pliny the Elder, Natural History: Book XXIX., translated by John Bostock. See original text in Perseus program.
  • Sargent, II, Frederick (1982), Hippocratic heritage : a history of ideas about weather and human health, New York: Pergamon Press, ISBN 978-0-08-028790-4
  • Smith, Wesley D. (1979), Hippocratic Tradition, Cornell University Press, ISBN 978-0-8014-1209-7
  • Temkin, Owsei (1991), Hippocrates in a world of pagans and Christians, Baltimore: Johns Hopkins University Press, ISBN 978-0-8018-4090-6 online free to borrow

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]