อำเภอโซ่พิสัย
อำเภอโซ่พิสัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe So Phisai |
คำขวัญ: หลวงพ่อพระแสน ดินแดนน้ำใส หาดหินคำไผ่ ยอใหญ่ท่าหลี่ | |
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอโซ่พิสัย | |
พิกัด: 18°4′42″N 103°26′36″E / 18.07833°N 103.44333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บึงกาฬ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 985.262 ตร.กม. (380.412 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2567) | |
• ทั้งหมด | 51,059 คน |
• ความหนาแน่น | 51.822 คน/ตร.กม. (134.22 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 38170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3803 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอโซ่พิสัย ถนนปากคาด-พรเจริญ ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ 38170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
โซ่พิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคายตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป[1]
ประวัติ
[แก้]คำว่า “โซ่” หมายถึง ชนเผ่าหนึ่ง ที่ได้อพยพจากทางภาคเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน ประมาณ 250 ปี โดยชนกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าชาวโซ่หรือไทโซ่ เดิมบ้านโซ่ ขึ้นตรงต่อเมืองโพนพิสัย จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านโซ่ได้รับยกระดับฐานะเป็นตำบล และเป็นตั้งเป็นกิ่งอำเภอโซ่พิสัยในปี พ.ศ. 2515[2] จนกระทั่งเป็นอำเภอโซ่พิสัย[3] ตามลำดับ
- วันที่ 7 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลศรีชมภู แยกออกจากตำบลโซ่ ตั้งตำบลหนองพันทา แยกออกจากตำบลโซ่[4]
- วันที่ 1 มีนาคม 2515 แยกพื้นที่ตำบลโซ่ ตำบลศรีชมภู และตำบลหนองพันทา จากอำเภอโพนพิสัย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอโซ่พิสัย[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอโพนพิสัย
- วันที่ 13 เมษายน 2520 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโซ่พิสัย อำเภอโพนพิสัย เป็น อำเภอโซ่พิสัย[3]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลคำแก้ว แยกออกจากตำบลโซ่[5]
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลโซ่พิสัย ในท้องที่บางส่วนของหมู่ที่ 1,2,3,4,13,16 ตำบลโซ่[6]
- วันที่ 11 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลบัวตูม แยกออกจากตำบลหนองพันทา[7]
- วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลถ้ำเจริญ แยกออกจากตำบลศรีชมภู[8]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลเหล่าทอง แยกออกจากตำบลหนองพันทา[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโซ่พิสัย เป็นเทศบาลตำบลโซ่พิสัย[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 22 มีนาคม 2554 แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มาตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ[1] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬ เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอโซ่พิสัยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากคาดและอำเภอเมืองบึงกาฬ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองบึงกาฬและอำเภอพรเจริญ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง (จังหวัดสกลนคร) และอำเภอเฝ้าไร่ (จังหวัดหนองคาย)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเฝ้าไร่และอำเภอรัตนวาปี (จังหวัดหนองคาย)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอโซ่พิสัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[11] |
---|---|---|---|---|
1. | โซ่ | So | 18
|
16,164
|
2. | หนองพันทา | Nong Phan Tha | 12
|
8,924
|
3. | ศรีชมภู | Si Chomphu | 16
|
12,906
|
4. | คำแก้ว | Kham Kaeo | 13
|
10,002
|
5. | บัวตูม | Bua Tum | 14
|
9,488
|
6. | ถ้ำเจริญ | Tham Charoen | 12
|
8,427
|
7. | เหล่าทอง | Lao Thong | 10
|
5,668
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอโซ่พิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโซ่พิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโซ่
- องค์การบริหารส่วนตำบลโซ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโซ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโซ่พิสัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพันทาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีชมภูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำเจริญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าทองทั้งตำบล
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนโซ่พิสัยพิทยาคม
- โรงเรียนโนนคำพิทยาคม
- วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
- โรงเรียนอนุบาลรัชดา
- โรงเรียนอนุบาลโซ่พิสัย
- โรงเรียนศรีชมภูวิทยา
- โรงเรียนบ้านไทรงามโนนภูดิน
- โรงเรียนบ้านเหล่าทองหลาง
- โรงเรียนบ้านซำบอน
- โรงเรียนบ้านคำไผ่
- โรงเรียนโพนทองประชาสรรค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโซ่พิสัย" (PDF). Royal Gazette. 89 (31 ง special): 9. March 1, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลายพระยา อำเภอห้วยเม็ก อำเภอละแม อำเภอแม่จริม อำเภอหนองกี่ อำเภอโคกปีบ อำเภอเกาะพะงัน อำเภอสนม อำเภอโซ่พิสัย อำเภอโนนสะอาด และอำเภอนาจะหลวย พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). Royal Gazette. 98 (31 ก): 326–330. April 12, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าบ่อ และอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (23 ง): 857–865. March 10, 1967.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัยและอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2436–2439. August 1, 1978.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโซ่พิสัย อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (16 ง): 406–407. February 5, 1980.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (65 ง): 1550–1552. May 11, 1982.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (118 ง): 4230–4239. June 23, 1987.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากคาดและอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 137-142. July 29, 1991.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.