อาลแบร์ แฟร์
อาลแบร์ แฟร์ | |
---|---|
อาลแบร์ แฟร์ | |
เกิด | 7 มีนาคม 2481 การ์กาซอน, ฝรั่งเศส |
สัญชาติ | ฝรั่งเศส |
ศิษย์เก่า | École normale supérieure, ปารีส |
มีชื่อเสียงจาก | ปรากฏการณ์ ความต้านทานแม่เหล็ก อย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect) |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 2550 รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ 2549/2550 |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | นักฟิสิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยปารี-ซูด |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | แคมป์เบลล์ (I. A. Campbell) |
อาลแบร์ แฟร์ (ฝรั่งเศส: Albert Fert) เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2481 ณ เมืองการ์กาซอน ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect) อันเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการสร้างฮาร์ดดิสก์ความจุระดับจิกะไบต์ ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยปารี-ซูด ในออร์แซ และเป็นผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ของห้องวิจัยร่วมทางฟิสิกส์ (Unité mixte de physique) ระหว่างศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ฝรั่งเศส) กับกลุ่มเธเลส (Thales Group) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2550 ร่วมกับเพเทอร์ กรืนแบร์ค นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน[1]
การศึกษา
[แก้]แฟร์จบจาก École normale supérieure ในกรุงปารีส ในปี 2505 เขาได้รับปริญญามหาบัณฑิตในปี 2506 จากมหาวิทยาลัยปารีส และปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 2513 จากมหาวิทยาลัยปารี-ซูด
งานวิจัย
[แก้]ในปี 2531 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ (Giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ในชั้นที่ซ้อนกันของเหล็กและโครเมียม ซึ่งได้ถูกจดจำไว้ในฐานะเป็นการกำเนิดขึ้นของสปินทรอนิกส์ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ได้รับการค้นพบขึ้นต่างหากในช่วงเวลาเดียวกันโดยนักวิจัยชาวเยอรมัน ชื่อ เพเทอร์ กรืนแบร์ค จากศูนย์วิจัยยือลิช อนึ่ง อาลแบร์ แฟร์ ได้มีส่วนในงานวิจัยด้านสปินทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2531 จนกระทั่งปัจจุบัน
รางวัล
[แก้]- รางวัลระหว่างประเทศ สำหรับ วัสดุใหม่ ของ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน ปี 2537
- Grand prix de physique Jean Ricard of the French Physical Society ปี 2537
- รางวัลสภาพแม่เหล็ก จาก สหภาพระหว่างประเทศ ของ ฟิสิกส์บริสุทธิ์ และ ประยุกต์ (IUPAP) ปี 2537
- รางวัล ฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์ โดย สมาคมฟิสิกส์ชาวยุโรป ปี 2540
- รางวัลเหรียญทอง จาก ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ฝรั่งเศส) ปี 2546
- ได้รับเลือกให้เข้าสมาคมวิชาการวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส ในปี 2547
- รางวัล วูลฟ์ สาขาฟิสิกส์ ปี 2549/2550
- รางวัล ญี่ปุ่น ปี 2550
- รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 2550 ร่วมกับเพเทอร์ กรืนแบร์ค "สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กอย่างใหญ่ ของพวกเขา" [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รางวัลโนเบล ปี 2550". มูลนิธิโนเบล. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ "รางวัลโนเบล ปี 2550". Royal Swedish Academy of Sciences. 2007-10-09.