อัลอุบูร
30°12′18″N 31°27′27″E / 30.20500°N 31.45750°E
อัลอุบูร | |
---|---|
เมือง | |
ประเทศ | อียิปต์ |
เขตผู้ว่าการ | อัลก็อลยูบียะฮ์ |
เขตเวลา | UTC 2 (เวลามาตรฐานอียิปต์) |
อัลอุบูร (อาหรับ: العبور, แปลตรงตัว 'การข้าม') เป็นเมืองในเขตผู้ว่าการอัลก็อลยูบียะฮ์ อยู่ห่างจากไคโรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 35 กิโลเมตร[1] เป็นหนึ่งในสี่เมืองบริวารของไคโรที่มีประชากรรวมกันประมาณ 250,000 คน[2] ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพอียิปต์ที่ก้าวข้ามเส้นบาร์เลฟในสงครามยมคิปปูร์ใน ค.ศ. 1973
เป็นหนึ่งใน 16 เขตเมืองใหม่ในเขตมหานครไคโร และยังถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมโดยมีโรงงานหลายแห่ง
ผังบริเวณ
[แก้]เมืองอัลอุบูร ถือเป็นเมืองรุ่นที่สอง ตั้งขึ้นโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี (ที่ 1608) โดยรัฐบาลอียิปต์ในปี ค.ศ. 1990 และตั้งอยู่ทางภูมิศาสตร์ในเขตผู้ว่าการอัลก็อลยูบียะฮ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตปกครองของภูมิภาคมหานครไคโร[3]
เมืองอัลอุบูร ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 9 ถึง 15 มีความกว้าง 7 กม. ทางด้านขวาของถนนทะเลทรายไคโร-เบลบีส์ ทางทิศตะวันตกจรดถนนไคโร-เบลบีส์ จากกิโลเมตรที่ 4 ทางทิศใต้ถึงกิโลเมตรที่ 16 ทางทิศเหนือ และทิศใต้ของเมืองติดกับถนนไคโร-อิสมาอีลียะฮ์ ที่ กม. 26[3]
พื้นที่ของส่วนตัวเมืองมีขนาด 12,500 เอเคอร์ และพื้นที่เขตเมืองทั้งหมด 16,000 เอเคอร์ คาดว่าประชากรของเมืองจะถึง 500,000 คนเมื่อเมืองมีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์[3]
รัฐบาลยังจัดหาบริษัทการลงทุนและรีสอร์ท โดยมีโครงการนำร่อง เช่น โครงการเคหะมุบาร็อก, โครงการบ้านจัดสรรสำหรับสังคมแห่งอนาคต และโครงการบ้านจัดสรรและบ้านสำหรับครอบครัวฟรี
รัฐได้สร้างบ้าน 29,987 ยูนิต รวมถึงบ้านสำหรับเยาวชนจำนวน 12,732 ยูนิตและกำลังก่อสร้างเพิ่ม ด้วยเงินลงทุน 791 ล้านปอนด์ ภาคเอกชนมีการสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่เช่นกัน
เมืองมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมสาธารณะ 3,200 เอเคอร์ จากการวางผังจึงทำให้เมืองมีบริการด้านต่าง ๆ (การศึกษา - สุขภาพ - วัฒนธรรม - ศาสนา - บันเทิง - เชิงพาณิชย์) ผู้บริหารเมืองได้จัดตั้งบริการสาธารณะ ใน 74 อาคารด้วยเงินลงทุน 322.5 ล้านปอนด์ รวมถึงเทศบาลเมืองอัลอุบูร นอกจากนี้ ยังมีอาคารบริการนอกภาครัฐจำนวน 169 แห่ง[3]
ภูมิอากาศ
[แก้]การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินจัดให้เมืองนี้อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh)[4]
ข้อมูลภูมิอากาศของอัลอุบูร | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.8 (65.8) |
20.7 (69.3) |
24 (75) |
28.4 (83.1) |
32.7 (90.9) |
34.8 (94.6) |
35.1 (95.2) |
34.8 (94.6) |
32.3 (90.1) |
30.1 (86.2) |
25.5 (77.9) |
20.6 (69.1) |
28.15 (82.67) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 13.4 (56.1) |
14.6 (58.3) |
17.2 (63) |
20.7 (69.3) |
24.6 (76.3) |
27.1 (80.8) |
27.9 (82.2) |
28 (82) |
25.9 (78.6) |
23.7 (74.7) |
19.8 (67.6) |
15.1 (59.2) |
21.5 (70.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8 (46) |
8.5 (47.3) |
10.5 (50.9) |
13.1 (55.6) |
16.6 (61.9) |
19.5 (67.1) |
20.8 (69.4) |
21.3 (70.3) |
19.5 (67.1) |
17.3 (63.1) |
14.1 (57.4) |
9.6 (49.3) |
14.9 (58.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6 (0.24) |
3 (0.12) |
4 (0.16) |
1 (0.04) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.04) |
3 (0.12) |
6 (0.24) |
24 (0.94) |
แหล่งที่มา: Climate-Data.org (ระดับความสูง: 59 ม.)[4] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "El Obour City". Google Map.
- ↑ Metropolitan Planning and Management in the Developing World: Spatial Decentralization Policy in Bombay and Cairo. United Nations Centre for Human Settlements. 1993. p. 133. ISBN 978-92-1-131233-1.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 هيئة المجتمعات العمرانية الجديدة (ในภาษาอาหรับ) เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 4.0 4.1 "Climate: Al-Obour (altitude: 59m) - Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 2013-12-13.