ทวีปแอฟริกา
พื้นที่ | 30,370,000 ตารางกิโลเมตร (11,730,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 2) |
---|---|
ประชากร | 1,225,080,510[1] (พ.ศ. 2560; อันดับที่ 2) |
ความหนาแน่น | 36.4/กม.2 (94/ตร. ไมล์) |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 6.84 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021 ไตรมาสที่ 4)[2] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2.49 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 5)[3] |
จีดีพีต่อหัว | 1,860 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 6)[4] |
ศาสนา | |
เดมะนิม | ชาวแอฟริกัน |
ประเทศ | 54 2* 4** (*ดินแดนพิพาท) (**อาณาเขต) |
ดินแดน | ภายนอก (3) |
ภาษา | ภาษาพื้นเมือง 1250–3000 ภาษา |
เขตเวลา | UTC-1 ถึง UTC 4 |
เมืองใหญ่ | พื้นที่เมืองที่ใหญ่ที่สุด: |
แอฟริกา (อังกฤษ: Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.3 ล้านตารางกิโลเมตร รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 6% ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณ 20.4% ของพื้นดินทั้งหมด[6] ใน ค.ศ. 2018 แอฟริกามีประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน[1] นับเป็น 16% ของประชากรโลก ประชากรในแอฟริกาเป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก[7][8] ใน ค.ศ. 2012 ค่ามัธยฐานของอายุประชากรอยู่ที่ 19.7 ปี ขณะที่ทั่วโลกอยู่ที่ 30.4 ปี[9] แม้ว่าแอฟริกาจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่ว่ารายได้ประชากรต่อหัวของทวีปกลับต่ำที่สุดในโลกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ อุปสรรคเชิงภูมิศาสตร์,[10] ผลกระทบจากลัทธิล่าอาณานิคม, สงครามเย็น,[11][12][13][14][15] ความไม่เป็นประชาธิปไตย และ นโยบายที่ผิดพลาด[10] แม้ว่าความมั่งคั่งของทวีปจะต่ำ แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจพร้อมกับจำนวนประชากรอายุน้อยจำนวนมากในปัจจุบัน ทำให้แอฟริกาเป็นตลาดเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดงบริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออก และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก เกาะมาดากัสการ์และเกาะเล็กรอบ ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีป แอฟริกาประกอบด้วย 54 รัฐเอกราช 8 ดินแดน และ 2 รัฐที่ยังไม่ถูกยอมรับโดยสหประชาชาติโดยพฤตินัย แอลจีเรียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีป ส่วนไนจีเรียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศในทวีปแอฟริกาได้ร่วมมือกันจัดตั้งสหภาพแอฟริกาขึ้น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาดดิสอาบาบา
แอฟริกามีเส้นศูนย์สูตรผ่านกลางทวีปและมีเขตภูมิอากาศมากมาย แอฟริกาเป็นทวีปเดียวเท่านั้นที่มีพื้นที่ภูมิอากาศแบบอบอุ่นอยู่ในทั้งซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้[16] พื้นที่และประเทศส่วนใหญ่ในทวีปจะตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ แต่ก็มีหลายประเทศอยู่ในซีกโลกใต้เช่นกัน แอฟริกามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก สามารถพบจำนวนของสัตว์ขนาดใหญ่ได้มากที่สุด เพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคควอเทอร์นารีน้อยที่สุด ถึงอย่างนั้นแอฟริกาประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างหนักหลายอย่าง เช่น การขยายตัวของเขตทะเลทราย การทำลายป่า การขาดแคลนน้ำและปัญหาอื่น ๆ มีความกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทวีปแอฟริกา จากการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่าแอฟริกาเป็นทวีปที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากที่สุด[17][18]
มีการยอมรับเป็นวงกว้างว่าแอฟริกาโดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันออกเป็นถิ่นกำเนิดของมนุษย์และเคลดวงศ์ลิงใหญ่ นั้นหมายความว่าแอฟริกามีประวัติที่ซับซ้อนยาวนาน บรรพบุรุษและต้นกำเนิดของวงศ์ลิงใหญ่ถือกำเนิดขึ้นราว 7 ล้านปีก่อน เช่น ซาเฮลแอนโทรปุสชาเดนซิส, ออสตราโลพิเทคัสแอฟริกานัส, ออสตราโลพิเทคัสอะฟาเรนซิส, โฮโมอิเร็กตัส, โฮโมแฮบิลิส และ โฮโมเออร์แกสเตอร์— โครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดของโฮโมซาเปียน (มนุษย์ยุคปัจจุบัน) พบในเอธิโอเปีย แอฟริกาใต้ และ โมร็อกโก โดยมีอายุประมาณ 200,000 ปี, 259,000 ปีและ 300,000 ปีตามลำดับ จึงเชื่อได้ว่าโฮโมซาเปียนถือกำเนินในแอฟริการาว 350,000–260,000 ปีก่อน[19][20][21][22][23]
อารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก อย่าง อียิปต์โบราณ และฟินิเชียถือกำเนิดในแอฟริกาเหนือ ประวัติศาสตร์อันยาวนานและซับซ้อนของอารยธรรม การค้า และการอพยพ ทำให้แอฟริกามีกลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย ในช่วง 400 ปีที่ผ่านมาอิทธิพลจากยุโรปแพร่เข้ามาในแอฟริกาเป็นอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่การค้าและค้าทาสทำให้ชาวแอฟริกันพลัดถิ่นไปอยู่ทวีปอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศในยุโรปเข้ามาล่าอาณานิคมเกือบครบทุกพื้นที่ในทวีปนี้ ชาวยุโรปเข้ามาตักตวงทรัพยากรและหาประโยชน์จากชุมชนในท้องที่ ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาเกิดจากกระบวนการให้เอกราชในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ที่สุดในทวีปแอฟริกา
[แก้]จุดที่สุดในทวีปแอฟริกา | สถานที่ | รัฐ/ประเทศ |
---|---|---|
จุดเหนือสุด | แหลมราสเบนเซกกา | บิเซิร์ท/ตูนิเซีย |
จุดใต้สุด | แหลมอะกะลัส | เวสเทิร์นแคป/แอฟริกาใต้ |
จุดตะวันออกสุด | แหลมแฮฟูน | พุนต์แลนด์/โซมาเลีย |
จุดตะวันตกสุด | แหลมเวิร์ด | ดาการ์/เซเนกัล |
ยอดเขาที่สูงที่สุด | ยอดเขาคีโบ | เขาคิลิมันจาโร/แทนซาเนีย |
เกาะที่ใหญ่ที่สุด | เกาะมาดากัสการ์ | มาดากัสการ์ |
แม่น้ำที่ยาวที่สุด | แม่น้ำไนล์ | อียิปต์ |
ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด | ทะเลทรายสะฮารา |
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 – 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์
- เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 เขตคือ
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
- ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- เขตทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก
- เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และทะเลทรายคาลาฮารี
- แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร
[แก้]- กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
- กระแสน้ำเย็นกานาเรียส ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
- กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
- กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง
ภูมิอากาศ
[แก้]ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาอยู่บริเวณตอนเหนือ และใต้แนวศูนย์สูตร
- ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rain-forest Climate) ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งตอนใต้ของที่ราบสูงตะวันตก และด้านตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
- ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (Tropical Desert Climate) พบได้ตามแนวเส้นทรอปิกออฟแครนเซอร์ นับตั้งแต่ประเทศมอริเตเนีย มาลี แอลจีเรีย ไนเจอร์ ลิเบีย อียิปต์ ซูดาน และตามแนวเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น บริเวณประเทศแองโกลา นามีเบีย และบอตสวานา ทางภาคเหนือของแอฟริกามีทะเลทรายกว้างใหญ่ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียส่วนทางภาคใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนูเบีย
การสำรวจ
[แก้]ประเทศในยุโรปชาติแรกที่สำรวจแอฟริกา คือโปรตุเกส และหลังจากนั้นก็ถูกสำรวจโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ดัตช์ เป็นต้น นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของแอฟริกามีหลายท่านด้วยกัน นักสำรวจที่รู้จักกันดีคือ ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน์
เศรษฐกิจ
[แก้]แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่แอฟริกากลับเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นการระบาดของโรคร้ายแรง (ได้แก่ โรคเอดส์ และมาลาเรีย) รัฐบาลคอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน การที่รัฐบาลขาดการวางแผน ระดับการรู้หนังสือที่ต่ำ การขาดแคลนเงินทุนต่างชาติ และความขัดแย้งระหว่างชนชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในรูปของกองโจร ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[24] จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2004 ประเทศที่อยู่อันดับต่ำสุด 26 ประเทศ (อันดับ 151 ถึง 175) ล้วนเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา[25]
ข้อมูลเศรษฐกิจ
[แก้]- ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปแอฟริกา 10 อันดับแรก 1
อันดับ | ประเทศ | จีดีพี (ล้าน$) ปี 2014 |
1 | ไนจีเรีย | 1,573,999 |
2 | แอฟริกาใต้ | 350,082 |
3 | อียิปต์ | 286,538 |
4 | แอลจีเรีย | 214,063 |
5 | แองโกลา | 131,401 |
6 | โมร็อกโก | 110,009 |
7 | ซูดาน | 74,766 |
8 | เคนยา | 60,937 |
9 | เอธิโอเปีย | 54,809 |
10 | แทนซาเนีย | 49,115 |
1 ข้อมูลโดย IMF
- แสดงตารางประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (แอฟริกา) | ประเทศ | ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
1
|
อิเควทอเรียลกินี | 9,580
|
52
|
2
|
ลิเบีย | 9,529
|
>53
|
3
|
หมู่เกาะเซเชลส์ | 8,973
|
56
|
4
|
กาบอง | 7,468
|
64
|
5
|
มอริเชียส | 6,838
|
68
|
6
|
บอตสวานา | 6,407
|
69
|
7
|
แอฟริกาใต้ | 5,824
|
73
|
8
|
นามิเบีย | 4,543
|
83
|
9
|
แอลจีเรีย | 4,027
|
91
|
2 ข้อมูลโดย IMF
การคมนาคมขนส่ง
[แก้]ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่น ๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป
ทางน้ำ
[แก้]แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่มีบทบาทสำคัญในการคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาต่อเนื่องกันหลายศตวรรษ แต่ละปีมีเรือชนิดต่างๆล่องขึ้นลงตามแม่น้ำไนล์มากกว่า 13000 ลำ ในอดีตมีการใช้เรือใบแล่นขึ้นตามแม่น้ำไนล์ เนื่องจากมีลมพัดขึ้นเหนือและลงใต้สลับกันตามฤดูกาล ส่วนคลองสุเอซ เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมระหว่างทะเล เมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือ และทะเลแดงทางใต้ คลองมีความยาว 163 กิโลเมตรและกว้าง 60 เมตร คลองสุเอซทำให้การเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปและเอเชียสะดวกรวดเร็วขึ้น
ทางอากาศ
[แก้]ทวีปแอฟริกามีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งระหว่างประเทศภายในทวีป และระหว่างทวีป ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ไคโร ประเทศอียิปต์, เลกอส ประเทศไนจีเรีย, โจฮันเนสเบิร์ก และเคปทาวน์ประเทศแอฟริกาใต้
ประชากร
[แก้]จำนวนประชากร
[แก้]ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 30.5 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (2552)
เชื้อสายของประชากร
[แก้]- นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
- บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
- ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
- ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
- บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายคาลาฮารี
- คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน จากชาวยุโรปบริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป
ภาษา
[แก้]ทวีปแอฟริกามีภาษาพูดมากกว่า 1,000 ภาษา เนื่องจากทวีปแอฟริกามีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ และแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 4 กลุ่ม
- กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือและบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก
- กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกไปทางตะวันออกถึงประเทศแทนซาเนีย
- กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาบันตูมีหลายภาษา เช่น ภาษาซูลู สวาฮิลี
- กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาเฮาซามีหลายภาษา เช่น ภาษาฟูลานี แมนดา คะวา
ขนาดพื้นที่
[แก้]ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณ 30,400,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็น 3 เท่าของทวีปยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แอลจีเรีย (2,344,872 ตารางกิโลเมตร), สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (2,322,163 ตารางกิโลเมตร) และซูดาน (1,760,000 ตารางกิโลเมตร) ตามลำดับ
ในแง่ภูมิภาค ภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดคือ แอฟริกาเหนือ (8,533,021 ตารางกิโลเมตร) ส่วนภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุดคือ แอฟริกาใต้ (3,083,998 ตารางกิโลเมตร)
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งภูมิภาค
[แก้]ทวีปแอฟริกาสามารถแบ่งได้ 5 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ดังนี้
ภูมิภาค | ลำดับ | ประเทศ | พื้นที่ (กม.2) | ประชากร (2563) | ความหนาแน่น |
---|---|---|---|---|---|
1
|
ตูนิเซีย | 155,360 | 11,818,619 | 76 | |
2
|
โมร็อกโก | 446,300 | 36,910,560 | 83 | |
3
|
ลิเบีย | 1,759,540 | 6,310,434 | 4 | |
4
|
อียิปต์ | 995,450 | 102,334,404 | 103 | |
5
|
แอลจีเรีย | 2,344,872 | 43,851,044 | 18 | |
1
|
กานาเรียส (สเปน) | 7,447 | 2,175,952 | 292 | |
2
|
เซวตา (สเปน) | 18.5 | 84,202 | 4,210 | |
3
|
มาเดรา (โปรตุเกส) | 801 | 251,060 (2564) | 313 | |
4
|
เมลียา (สเปน) | 12.3 | 87,076 | 7,256.3 | |
5
|
เวสเทิร์นสะฮารา | 266,000 | 597,339 | 2 | |
สถิติ
|
6,012,669 | 204,420,690 | 34.0 | ||
1
|
กาบอง | 257,670 | 2,225,734 | 9 | |
2
|
แคเมอรูน | 472,710 | 26,545,863 | 56 | |
3
|
ชาด | 1,259,200 | 16,425,864 | 13 | |
4
|
เซาตูแมอีปริงซีป | 960 | 219,159 | 228 | |
5
|
สาธารณรัฐคองโก | 341,500 | 5,518,087 | 16 | |
6
|
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) | 2,322,163 | 89,561,403 | 40 | |
7
|
ประเทศแอฟริกากลาง | 622,980 | 4,829,767 | 8 | |
8
|
อิเควทอเรียลกินี | 28,050 | 1,402,985 | 50 | |
9
|
แองโกลา | 1,246,700 | 32,866,272 | 26 | |
สถิติ
|
6,496,820 | 179,595,134 | 27.64 | ||
1
|
นามิเบีย | 823,290 | 2,540,905 | 3 | |
2
|
บอตสวานา | 566,730 | 2,351,627 | 4 | |
3
|
เลโซโท | 30,360 | 2,142,249 | 71 | |
4
|
เอสวาตินี | 17,200 | 1,160,164 | 67 | |
5
|
แอฟริกาใต้ | 1,213,090 | 59,308,690 | 49 | |
6
|
ซิมบับเว | 386,850 | 14,862,924 | 38 | |
สถิติ
|
3,037,520 | 82,366,559 | 27.12 | ||
1
|
บุรุนดี | 25,680 | 11,890,784 | 463 | |
2
|
คอโมโรส | 1,861 | 869,601 | 467 | |
3
|
จิบูตี | 23,180 | 988,000 | 43 | |
4
|
เอริเทรีย | 101,000 | 3,546,421 | 35 | |
5
|
เอธิโอเปีย | 1,000,000 | 114,963,588 | 115 | |
6
|
เคนยา | 569,140 | 53,771,296 | 94 | |
7
|
มาดากัสการ์ | 581,795 | 27,691,018 | 48 | |
8
|
มาลาวี | 94,280 | 19,129,952 | 203 | |
9
|
มอริเชียส | 2,030 | 1,271,768 | 626 | |
10
|
โมซัมบิก | 786,380 | 31,255,435 | 40 | |
11
|
รวันดา | 24,670 | 12,952,218 | 525 | |
12
|
ซูดาน | 1,765,048 | 43,849,260 | 25 | |
13
|
ซูดานใต้ | 610,952 | 11,193,725 | 18 | |
14
|
เซเชลส์ | 460 | 98,347 | 214 | |
15
|
โซมาเลีย | 627,340 | 15,893,222 | 25 | |
16
|
แทนซาเนีย | 885,800 | 59,734,218 | 67 | |
17
|
ยูกันดา | 199,810 | 45,741,007 | 229 | |
18
|
แซมเบีย | 743,390 | 18,383,955 | 25 | |
1
|
มายอต (ฝรั่งเศส) | 375 | 272,815 | 728 | |
2
|
เรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) | 2,500 | 895,312 | 358 | |
สถิติ
|
8,045,691 | 474,391,942 | 58.96 | ||
1
|
เบนิน | 112,760 | 12,123,200 | 108 | |
2
|
บูร์กินาฟาโซ | 273,600 | 20,903,273 | 76 | |
3
|
กาบูเวร์ดี | 4,030 | 555,987 | 138 | |
4
|
โกตดิวัวร์ | 318,000 | 26,378,274 | 83 | |
5
|
แกมเบีย | 10,120 | 2,416,668 | 239 | |
6
|
กานา | 227,540 | 31,072,940 | 137 | |
7
|
กินี | 245,720 | 13,132,795 | 53 | |
8
|
กินี-บิสเซา | 28,120 | 1,968,001 | 70 | |
9
|
ไลบีเรีย | 96,320 | 5,057,681 | 53 | |
10
|
มาลี | 1,220,190 | 20,250,833 | 17 | |
11
|
มอริเตเนีย | 1,030,700 | 4,649,658 | 5 | |
12
|
ไนเจอร์ | 1,266,700 | 24,206,644 | 19 | |
13
|
ไนจีเรีย | 910,770 | 206,139,589 | 226 | |
14
|
เซเนกัล | 192,530 | 16,743,927 | 87 | |
15
|
เซียร์ราลีโอน | 72,180 | 7,976,983 | 111 | |
16
|
โตโก | 54,390 | 8,278,724 | 152 | |
1
|
เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา (สหราชอาณาจักร) |
390 | 6,077 | 16 | |
สถิติ
|
6,064,060 | 401,861,254 | 66.27 | ||
รวมสถิติสูงสุด
|
29,656,760 | 1,342,635,579 | 45.27 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "GDP Nominal, current prices". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Gordon Conwell Theological Seminary, African Christianity, 2020
- ↑ Sayre, April Pulley. (1999) Africa, Twenty-First Century Books. ISBN 0-7613-1367-2.
- ↑ Swanson, Ana (17 August 2015). "5 ways the world will look dramatically different in 2100". The Washington Post.
- ↑ Harry, Njideka U. (11 September 2013). "African Youth, Innovation and the Changing Society". Huffington Post.
- ↑ Janneh, Abdoulie (April 2012). "item,4 of the provisional agenda – General debate on national experience in population matters: adolescents and youth" (PDF). United Nations Economic Commission for Africa. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ 10.0 10.1 Collier, Paul; Gunning, Jan Willem (1999-08-01). "Why Has Africa Grown Slowly?". Journal of Economic Perspectives (ภาษาอังกฤษ). 13 (3): 3–22. doi:10.1257/jep.13.3.3. ISSN 0895-3309.
- ↑ Fwatshak, S. U. (2014). "The Cold War and the Emergence of Economic Divergences: Africa and Asia Compared". Contemporary Africa. Springer. pp. 89–125. doi:10.1057/9781137444134_5. ISBN 978-1-349-49413-2.
- ↑ Austin, Gareth (2010-03-01). "African Economic Development, and Colonial Legacies". International Development Policy | Revue internationale de politique de développement (ภาษาอังกฤษ) (1): 11–32. doi:10.4000/poldev.78. ISSN 1663-9375.
- ↑ Dunning, Thad (2004). "Conditioning the Effects of Aid: Cold War Politics, Donor Credibility, and Democracy in Africa". International Organization. 58 (2): 409–423. doi:10.1017/S0020818304582073. ISSN 0020-8183. JSTOR 3877863.
- ↑ Alemazung, J. (2010). "Post-Colonial Colonialism: An Analysis of International Factors and Actors Marring African Socio-Economic and Political Development". undefined (ภาษาอังกฤษ). S2CID 140806396. สืบค้นเมื่อ 2020-11-12.
- ↑ Bayeh, E. (2015). "THE POLITICAL AND ECONOMIC LEGACY OF COLONIALISM IN THE POST-INDEPENDENCE AFRICAN STATES". www.semanticscholar.org (ภาษาอังกฤษ). S2CID 198939744. สืบค้นเมื่อ 2020-11-12.
- ↑ "Africa. General info". Visual Geography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2011. สืบค้นเมื่อ 24 November 2007.
- ↑ Schneider, S.H.; และคณะ (2007). "19.3.3 Regional vulnerabilities". ใน Parry, M.L.; และคณะ (บ.ก.). Chapter 19: Assessing Key Vulnerabilities and the Risk from Climate Change. Climate change 2007: impacts, adaptation, and vulnerability: contribution of Working Group II to the fourth assessment report of the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). Cambridge University Press (CUP): Cambridge, UK: Print version: CUP. This version: IPCC website. ISBN 978-0-521-88010-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
- ↑ Niang, I., O.C. Ruppel, M.A. Abdrabo, A. Essel, C. Lennard, J. Padgham, and P. Urquhart, 2014: Africa. In: Climate Change 2014: Impacts, Adaptation, and Vulnerability. Part B: Regional Aspects. Contribution of Working Group II to the Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Barros, V.R., C.B. Field, D.J. Dokken et al. (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA, pp. 1199–1265. https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/02/WGIIAR5-Chap22_FINAL.pdf
- ↑ "Homo sapiens: University of Utah News Release: 16 February 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2007.
- ↑ Schlebusch, Carina M; Malmström, Helena; Günther, Torsten; Sjödin, Per; Coutinho, Alexandra; Edlund, Hanna; Munters, Arielle R; Vicente, Mário; Steyn, Maryna; Soodyall, Himla; Lombard, Marlize; Jakobsson, Mattias (2017). "Southern African ancient genomes estimate modern human divergence to 350,000 to 260,000 years ago". Science. 358 (6363): 652–655. Bibcode:2017Sci...358..652S. doi:10.1126/science.aao6266. ISSN 0036-8075. PMID 28971970.
- ↑ Sample, Ian (7 June 2017). "Oldest Homo sapiens bones ever found shake foundations of the human story". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
- ↑ Zimmer, Carl (10 September 2019). "Scientists Find the Skull of Humanity's Ancestor — on a Computer – By comparing fossils and CT scans, researchers say they have reconstructed the skull of the last common forebear of modern humans". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
- ↑ Mounier, Aurélien; Lahr, Marta (2019). "Deciphering African late middle Pleistocene hominin diversity and the origin of our species". Nature Communications. 10 (1): 3406. Bibcode:2019NatCo..10.3406M. doi:10.1038/s41467-019-11213-w. PMC 6736881. PMID 31506422.
- ↑ Richard Sandbrook, The Politics of Africa's Economic Stagnation, Cambridge University Press, Cambridge, 1985. ISBN 978-0511-55893-1.
- ↑ Human Development Index เก็บถาวร 2008-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
ข้อมูล
[แก้]- Malone, Jacqui (1996). Steppin' on the Blues: the Visible Rhythms of African American Dance. University of Illinois Press. OCLC 891842452.
- Welsh-Asante, Kariamu (2009). African Dance (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-2427-8.
อ่านเพิ่ม
[แก้]ดูเพิ่มที่ Africa Bibliography
- Asante, Molefi (2007). The History of Africa. US: Routledge. ISBN 978-0-415-77139-9.
- Clark, J. Desmond (1970). The Prehistory of Africa. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-02069-2.
- Crowder, Michael (1978). The Story of Nigeria. London: Faber. ISBN 978-0-571-04947-9.
- Davidson, Basil (1966). The African Past: Chronicles from Antiquity to Modern Times. Harmondsworth: Penguin. OCLC 2016817.
- Gordon, April A.; Donald L. Gordon (1996). Understanding Contemporary Africa. Boulder: Lynne Rienner Publishers. ISBN 978-1-55587-547-3.
- Khapoya, Vincent B. (1998). The African experience: an introduction. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. ISBN 978-0-13-745852-3.
- Moore, Clark D., and Ann Dunbar (1968). Africa Yesterday and Today, in series, The George School Readings on Developing Lands. New York: Praeger Publishers.
- Naipaul, V.S. The Masque of Africa: Glimpses of African Belief. Picador, 2010. ISBN 978-0-330-47205-0
- Wade, Lizzie (2015). "Drones and satellites spot lost civilizations in unlikely places". Science. doi:10.1126/science.aaa7864.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลทั่วไป
- ทวีปแอฟริกา ที่เว็บไซต์ Curlie
- African & Middle Eastern Reading Room จาก the United States Library of Congress
- Africa South of the Sahara จาก Stanford University
- The Index on Africa จาก The Norwegian Council for Africa
- Aluka Digital library of scholarly resources from and about Africa
- Africa Interactive Map จาก the United States Army Africa
- ประวัติศาสตร์
- African Kingdoms
- The Story of Africa จาก BBC World Service
- Africa Policy Information Center (APIC)
- Hungarian military forces in Africa เก็บถาวร 3 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สื่อข่าว
- allAfrica.com current news, events and statistics
- Focus on Africa วารสารจาก BBC World Service