ข้ามไปเนื้อหา

อักษรเขมร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรเขมร
อักษรกัมพูชา
Âkkhârôkrâm Khmêr ("อักษรเขมร") เขียนในอักษรเขมร
ชนิด
ช่วงยุค
ป. ค.ศ. 611 – ปัจจุบัน[1]
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
อักษรทางการประเทศกัมพูชา[2]
ภาษาพูด
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
สุโขทัย, ขอมไทย, ลายตัย
ระบบพี่น้อง
มอญเก่า, จาม, กวิ, ครันถะ, ทมิฬ
ISO 15924
ISO 15924Khmr (355), ​Khmer
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Khmer
ช่วงยูนิโคด
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง

อักษรเขมร (เขมร: អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็ย จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว พ.ศ. 1154 รูปแบบโบราณของอักษรเขมร ที่เรียกอักษรขอม เป็นแม่แบบของ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมรใช้เขียนภาษาเขมร และมนต์คาถา

ต้นกำเนิด

[แก้]
อักษรเขมรโบราณที่สลักบนศิลา
จารึกอักษรเขมรที่ปราสาทโลเลย

อักษรเขมรดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะที่ใช้งานในอินเดียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6[3] ซึ่งสืบทอดจากอักษรทมิฬ-พราหมี[4] จารึกภาษาเขมรที่เก่าแก่ที่สุดพบในอำเภออ็องกอร์โบะเร็ย จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ โดยมีอายุถึง ค.ศ. 611[5] ศิลาจารึกสมัยก่อนพระนครถึงสมัยพระนครที่มีอักษรเขมรพบได้ทั่วบริเวณอดีตจักรวรรดิเขมร ตั้งแต่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงจนถึงบริเวณที่ปัจจุบันคือลาวใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย[6] จารึกอักษรเขมรที่เขียนภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรมีคสวามแตกต่างเพียงเล็กน้อย ระบบการเขียนที่ต่างกันสองแบบได้พัฒนาไปเป็นอักษรเขมรแบบอักษรมูลและอักษรเชฺรียงสมัยใหม่ อักษรแบบแรกใช้ในเชิงศาสนา ส่วนอักษรแบบหลังใช้ในงานเขียนทั่วไป[7] อักษรเชฺรียงเป็นแบบเขียนของอักษรมูลที่ดัดแปลงให้เข้ากับภาษาเขมร[8]

อักษรเขมรสมัยใหม่มีรูปเขียนที่ค่อนข้างแตกต่างจากอักษรเขมรที่พบบนจารึกในซากเมืองพระนคร อักษรไทยและอักษรลาวเป็นอักษรที่สืบทอดจากอักษรเขมรแบบตัวเขียนที่เก่ากว่า ผ่านอักษรสุโขทัย

เมื่อ พ.ศ. 2430 รัชกาลที่ 4 ตรงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม (นักองค์ราชาวดี) อักษรเขมรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า อักษรขอมเชรียง (เจรียง)[9][10] เป็นอักษรเขมรแบบหนึ่งมีลักษณะเอนทางขวาเล็กน้อย[11] โดยสมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วัดปทุมวดีราชวราราม กรุงพนมเปญ ได้นำอักษรขอมหวัด (ตัวเกษียน) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไปปรับใช้เป็นอักษรเขมรแบบใหม่ซึ่งเป็นอักษรเขมรสำหรับใช้พิมพ์ และเขียนภาษาเขมรในปัจจุบัน ลักษณะเส้นบนหยักลูกเหมือนอักษรขอมบรรจงส่วนตัวเขียนใช้เส้นผมเหยียดยาวเหมือนอักษรขอมหวัดทั้งหมด[12][13] จึงปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าอักษรเขมรน่าจะรับอิทธิพลจากอักษรขอมไทย คือ กลุ่มอักษรขอมบรรจงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเนื่องจากมีความแตกต่างกับอักษรมูลที่วิวัฒนาการจากอักษรเขมรสมัยหลังเมืองพระนคร[10]

อักษร

[แก้]

ยูนิโคดไม่ถือว่าอักษรแต่ละแบบเป็นอักษรคนละชนิด แต่เป็นเพียงอักษรต่างรูป ดังนั้นอักษรมูลจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ MoolBoran[14] และอักษรเชฺรียง-ฌรจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ DaunPenh[15] ซึ่งมีในวินโดวส์วิสตาเป็นต้นไป เพิ่มขนาดเพื่อให้เห็นรายละเอียดรูปร่างชัดเจน

พยัญชนะ

[แก้]

อักษรเขมรมีพยัญชนะ 35 ตัว เลิกใช้ไป 2 ตัว พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-อา /ɑ/ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-โอ /ɔ/ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน อักษรเขมรมีทั้งพยัญชนะธรรมดา และพยัญชนะซ้อนที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น พยัญชนะซ้อนจะใช้เมื่อต้องการตัดพื้นเสียงของพยัญชนะตัวก่อนหน้า อักษรไทยที่กำกับไว้คือการปริวรรตอักษรเขมรมาเป็นอักษรไทย [16] ส่วนเสียงอ่านจะแสดงด้วยสัทอักษรสากล

อักษรมูล
วรรค เสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) เสียงก้อง (โฆษะ)
เสียงเบา เสียงหนัก เสียงเบา เสียงหนัก เสียงนาสิก
วรรค
กะ
្ក ្ខ ្គ ្ឃ ្ង
/kɑ/
[กอ]
/kʰɑ/
[คอ]
/kɔ/
[โก]
/kʰɔ/
[โค]
/ŋɔ/
[โง]
วรรค
จะ
្ច ្ឆ ្ជ ្ឈ ្ញ
/cɑ/
[จอ]
/cʰɑ/
[ชอ]
/cɔ/
[โจ]
/cʰɔ/
[โช]
/ɲɔ/
[โญ]
วรรค
ฏะ
្ដ ្ឋ ្ឌ ្ឍ ្ណ
/ɗɑ/
[ดอ]
/tʰɑ/
[ทอ]
/ɗɔ/
[โด]
/tʰɔ/
[โท]
/nɑ/
[ณอ]
วรรค
ตะ
្ត ្ថ ្ទ ្ធ ្ន
/tɑ/
[ตอ]
/tʰɑ/
[ทอ]
/tɔ/
[โต]
/tʰɔ/
[โท]
/nɔ/
[โน]
วรรค
ปะ
្ប ្ផ ្ព ្ភ ្ម
/ɓɔ/
[บอ]
/pʰɑ/
[พอ]
/pɔ/
[โป]
/pʰɔ/
[โพ]
/mɔ/
[โม]
ไม่จัดกลุ่มเสียง
เศษ
วรรค
្យ ្រ ្ល ្វ ្ឝ
/jɔ/
[โย]
/rɔ/
[โร]
/lɔ/
[โล]
/vɔ/
[โว]
្ឞ ្ស ្ហ ្ឡ ្អ
/sɑ/
[ซอ]
/hɑ/
[ฮอ]
/lɑ/
[ลอ]
/ʔɑ/
[ออ]
อักษรเชฺรียง-ฌร
วรรค เสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) เสียงก้อง (โฆษะ)
เสียงเบา เสียงหนัก เสียงเบา เสียงหนัก เสียงนาสิก
วรรค
กะ
្ក ្ខ ្គ ្ឃ ្ង
/kɑ/
[กอ]
/kʰɑ/
[คอ]
/kɔ/
[โก]
/kʰɔ/
[โค]
/ŋɔ/
[โง]
วรรค
จะ
្ច ្ឆ ្ជ ្ឈ ្ញ
/cɑ/
[จอ]
/cʰɑ/
[ชอ]
/cɔ/
[โจ]
/cʰɔ/
[โช]
/ɲɔ/
[โญ]
วรรค
ฏะ
្ដ ្ឋ ្ឌ ្ឍ ្ណ
/ɗɑ/
[ดอ]
/tʰɑ/
[ทอ]
/ɗɔ/
[โด]
/tʰɔ/
[โท]
/nɑ/
[ณอ]
วรรค
ตะ
្ត ្ថ ្ទ ្ធ ្ន
/tɑ/
[ตอ]
/tʰɑ/
[ทอ]
/tɔ/
[โต]
/tʰɔ/
[โท]
/nɔ/
[โน]
วรรค
ปะ
្ប ្ផ ្ព ្ភ ្ម
/ɓɔ/
[บอ]
/pʰɑ/
[พอ]
/pɔ/
[โป]
/pʰɔ/
[โพ]
/mɔ/
[โม]
ไม่จัดกลุ่มเสียง
เศษ
วรรค
្យ ្រ ្ល ្វ ្ឝ
/jɔ/
[โย]
/rɔ/
[โร]
/lɔ/
[โล]
/vɔ/
[โว]
្ឞ ្ស ្ហ ្ឡ ្អ
/sɑ/
[ซอ]
/hɑ/
[ฮอ]
/lɑ/
[ลอ]
/ʔɑ/
[ออ]
  1. (ศ) และ (ษ) เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว
  2. พยัญชนะซ้อนของ (ฬ) ไม่มีในอักษรเขมรปัจจุบัน แต่มีให้แสดงผลได้ในยูนิโคด

นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะพิเศษซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนเสียงคำยืมหรือคำทับศัพท์จากภาษาอื่น เช่นภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ส่วนใหญ่สร้างโดยการซ้อนพยัญชนะไว้ใต้ (ห)

อักษรมูล
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្គ ហ្គ៊ ហ្ន ប៉ ហ្ម ហ្ល
/gɑ/
[กอ]
/gɔ/
[โก]
/nɑ/
[นอ]
/pɑ/
[ปอ]
/mɑ/
[มอ]
/lɑ/
[ลอ]
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្វ ហ្វ៊ ហ្ស ហ្ស៊
/fɑ/
/wɑ/
[ฟอ, วอ]
/fɔ/
/wɔ/
[โฟ, โว]
/ʒɑ/
[ชอ]
/ʒɔ/
[โช]
อักษรเชฺรียง-ฌร
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្គ ហ្គ៊ ហ្ន ប៉ ហ្ម ហ្ល
/gɑ/
[กอ]
/gɔ/
[โก]
/nɑ/
[นอ]
/pɑ/
[ปอ]
/mɑ/
[มอ]
/lɑ/
[ลอ]
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្វ ហ្វ៊ ហ្ស ហ្ស៊
/fɑ/
/wɑ/
[ฟอ, วอ]
/fɔ/
/wɔ/
[โฟ, โว]
/ʒɑ/
[ชอ]
/ʒɔ/
[โช]

สระ

[แก้]

สระในอักษรเขมรมีสองแบบคือ สระลอยและสระจม สระลอยใช้เขียนเมื่อมิได้ผสมกับพยัญชนะ (เปรียบเหมือนขึ้นต้นด้วย อ) ส่วนสระจมใช้ประกอบกับพยัญชนะอื่น พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับจะออกเสียงตามเสียงเดิมของพยัญชนะดังที่กล่าวไว้ด้านบน (เทียบได้กับ ออ) เสียงสระจะแตกต่างจากอักษรไทย และขึ้นอยู่กับว่าพยัญชนะเป็นอโฆษะหรือโฆษะด้วย ต่อไปนี้เป็นสระลอย

อักษรมูล
สระลอย
/ʔɑʔ/
[ออ]
อา /ʔa/
[อา]
อิ /ʔe/
[เอะ]
อี /ʔəj/
[เอ็ย]
อุ /ʔ/
[โอะ]
อุก อู /ʔu/
[โอ]
โอว /ʔɨw/
[โอว]
สระลอย /
/ʔrɨ/
[รึ]
ฤๅ /ʔrɨː/
[รือ]
/ʔlɨ/
[ลึ]
ฦๅ /ʔlɨː/
[ลือ]
เอ /ʔeː/
[แอ]
ไอ /ʔaj/
[ไอ]
โอ /ʔaːo/
[โอ]
เอา /ʔaw/
[เอา]
อักษรเชฺรียง-ฌร
สระลอย
/ʔɑʔ/
[ออ]
อา /ʔa/
[อา]
อิ /ʔe/
[เอะ]
อี /ʔəj/
[เอ็ย]
อุ /ʔ/
[โอะ]
อุก อู /ʔu/
[โอ]
โอว /ʔɨw/
[โอว]
สระลอย /
/ʔrɨ/
[รึ]
ฤๅ /ʔrɨː/
[รือ]
/ʔlɨ/
[ลึ]
ฦๅ /ʔlɨː/
[ลือ]
เอ /ʔeː/
[แอ]
ไอ /ʔaj/
[ไอ]
โอ /ʔaːo/
[โอ]
เอา /ʔaw/
[เอา]
  1. (อ) (U 17A3), (อา) (U 17A4), (U 17A8) เป็นอักขระที่ยูนิโคดไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากสามารถประสมขึ้นได้จากพยัญชนะ สระ หรือเครื่องหมายอื่นโดยแยกกัน แต่ยังคงมีไว้เพื่อรองรับระบบการเขียนในคอมพิวเตอร์แบบเก่า

ต่อไปนี้คือสระจม บรรทัดแรกคือการปริวรรต บรรทัดที่สองหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะอโฆษะ และบรรทัดที่สามหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะโฆษะ

อักษรมูล
สระจม
อา
/aː/ [อา]
/iːə/ [เอีย]
อิ
/e/ [เอะ]
/ɨ/ [อิ]
อี
/əj/ [เอ็ย]
/iː/ [อี]
อึ
/ə/ [เออะ]
/ɨ/ [อึ]
อื
/əːɨ/ [เออ]
/ɨː/ [อื]
สระจม
อุ
/o/ [โอะ]
/u/ [อุ]
อู
/oːu/ [โอ]
/uː/ [อู]
อัว
/uːə/ [อัว]
/uːə/ [อัว]
เอี
/aːə/ [เออ]
/əː/ [เออ]
เอือ
/ɨːə/ [เอือ]
/ɨːə/ [เอือ]
สระจม
เอีย
/iːə/ [เอีย]
/iːə/ [เอีย]
เอ
/eːi/ [เอ]
/eː/ [เอ]
แอ
/aːe/ [แอ]
/ɛː/ [แอ]
ไอ
/aj/ [ไอ]
/ɨj/ [อึย]
โอ
/aːo/ [โอ]
/oː/ [โอ]
สระจม ុំ ាំ
เอา
/aw/ [เอา]
/ɨw/ [อึว]
อุ
/om/ [อม]
/um/ [อุม]
อํ
/ɑm/ [อ็อม]
/um/ [อ็วม]
อำ
/am/ [อำ]
/oəm/ [เอือม]
อะ
/aʰ/ [อะห์]
/eəʰ/ [เอียห์]
อักษรเชฺรียง-ฌร
สระจม
อา
/aː/ [อา]
/iːə/ [เอีย]
อิ
/e/ [เอะ]
/ɨ/ [อิ]
อี
/əj/ [เอ็ย]
/iː/ [อี]
อึ
/ə/ [เออะ]
/ɨ/ [อึ]
อื
/əːɨ/ [เออ]
/ɨː/ [อื]
สระจม
อุ
/o/ [โอะ]
/u/ [อุ]
อู
/oːu/ [โอ]
/uː/ [อู]
อัว
/uːə/ [อัว]
/uːə/ [อัว]
เอี
/aːə/ [เออ]
/əː/ [เออ]
เอือ
/ɨːə/ [เอือ]
/ɨːə/ [เอือ]
สระจม
เอีย
/iːə/ [เอีย]
/iːə/ [เอีย]
เอ
/eːi/ [เอ]
/eː/ [เอ]
แอ
/aːe/ [แอ]
/ɛː/ [แอ]
ไอ
/aj/ [ไอ]
/ɨj/ [อึย]
โอ
/aːo/ [โอ]
/oː/ [โอ]
สระจม ុំ ាំ
เอา
/aw/ [เอา]
/ɨw/ [อึว]
อุ
/om/ [อม]
/um/ [อุม]
อํ
/ɑm/ [อ็อม]
/um/ [อ็วม]
อำ
/am/ [อำ]
/oəm/ [เอือม]
อะ
/aʰ/ [อะห์]
/eəʰ/ [เอียห์]

*คำอ่านสระที่เป็นภาษาไทยในตารางข้างต้น เป็นเพียงการเลียนเสียงเป็นภาษาไทยให้ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น หากต้องการออกเสียงให้ตรงกับเสียงภาษาเขมรจริงๆ ควรดูวิธีอ่านจากสัทอักษรสากล(IPA)

  1. (อะ) สามารถผสมกับสระอื่นได้โดยนำไปต่อท้าย ซึ่งจะให้เสียง [ʰ] และปริวรรตด้วยวิสรรชนีย์ (ะ)
  2. ុំ (อุ) และ ាំ (อำ) เมื่อผสมกับพยัญชนะ นิคหิต (อํ) จะอยู่เหนือพยัญชนะหรือสระตัวสุดท้ายของคำ

เครื่องหมายเสริมอักษร

[แก้]
เครื่องหมาย ชื่อเขมร การใช้งาน
និគ្គហិត (นิคฺคหิต) (นิคหิต) เพิ่มเสียงนาสิกลงท้ายเสียงสระ มาจาก อนุสวาร
រះមុខ (ระมุข)
វិសជ៌នី (วิสรฺชนี)
(วิสรรชนีย์) เพิ่มเสียงหายใจ [ʰ] ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้ (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย)
យុគលពិន្ទុ (ยุคลพินฺทุ) เพิ่มเสียงกัก เส้นเสียง /ʔ/ ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้
មូសិកទន្ត (มูสิกทนฺต)
​ធ្មេញ​កណ្ដុរ (เธฺมญ-กณฺฎุร)
(มูสิกทันต์) เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɔ/ ให้เป็น /ɑ/
ត្រីស័ព្ទ (ตฺรีสพฺท) เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɑ/ ให้เป็น /ɔ/
ក្បៀសក្រោម (เกฺบียสโกฺรม)
បុកជើង (บุกเชีง)
เหมือนกับ มูสิกทนฺต และ ตฺรีสพฺท ใช้ในกรณีที่มีสระบนอยู่แล้ว
បន្តក់ (บนฺฎก่)
រស្សសញ្ញា (รสฺสสญฺญา)
ทำให้เสียงสระบางชนิดสั้นลง ใส่ไว้ที่พยัญชนะสะกด
របាទ (รบาท)
រេផៈ (เรผะ)
เดิมคือการเติม รฺ (ร หัน) ก่อนพยัญชนะ ใช้ในคำบาลีสันสกฤต ปัจจุบันใช้งานเหมือนทัณฑฆาต
ទណ្ឌឃាដ (ทณฺฑฆาฎ)
បដិសេធ (บฎิเสธ)
(ทัณฑฆาต) ใช้กำกับอักษรบางตัวที่ไม่ออกเสียง
កាកបាទ (กากบาท) แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำอุทาน
អស្តា (อสฺฎา) (ไม้ไต่คู้) แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียว [17]
សំយោគសញ្ញា (สํโยคสญฺญา) ใช้แสดงสระเสียงสั้นในคำบาลีสันสกฤต มักจะถูกละไว้
វិរាម (วิราม) สัญลักษณ์ใช้แทน วิราม (virāma) ในอักษรตระกูลพราหมี
ជើង (เชีง) สัญลักษณ์ที่สร้างโดยยูนิโคดเพื่อป้อนพยัญชนะซ้อนด้านล่าง ลักษณะปรากฏอาจแตกต่างกันไปตามฟอนต์
Bathamasat เดิมใช้ประกอบกับเลข ๘ เพื่อแสดงเดือนแปดแรกทางจันทรคติ ៨៓ เมื่อมีเดือนแปดสองหน [18] แต่ขณะนี้มีสัญลักษณ์ใช้แทนแล้วคือ (U 19E0)
Atthacan

เครื่องหมายอื่น ๆ

[แก้]
เครื่องหมาย ชื่อเขมร การใช้งาน
ខណ្ឌ (ขณฺฑ)
ខណ្ឌសញ្ញា (ขณฺฑสญฺญา)
(ไปยาลน้อย, อังคั่นเดี่ยว) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบประโยค (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย)
ខណ្ឌចប់ (ขณฺฑจบ่) (อังคั่นคู่) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบตอน
ទ្វិពិន្ទុលេខ (ทฺวิพินฺทุเลข)
ចំណុច​ពីរ​គូស (จํณุจพีรคูส)
(ทวิภาค, วิภัชภาค) ข้อความต่อจากนี้คือรายชื่อหรือรายการเป็นข้อ ๆ
លេខ​ទោ (เลขโท) (ไม้ยมก) ซ้ำคำที่อยู่ข้างหน้า
បេយ្យាលៈ (เบยฺยาละ)
លៈ (ละ)
(ไปยาลใหญ่) ยังมีสิ่งอื่นอีกนอกเหนือจากที่ยกมา
កុក្កុដនេត្រ (กุกฺกุฎเนตฺร)
ភ្នែក​មាន់ (แภฺนกมาน่)
(ฟองมัน) ใช้ขึ้นต้นข้อความขนาดยาว
ខណ្ឌបរិយោសាន (ขณฺฑบริโยสาน)
គោ​មូត្រ (โคมูตฺร)
(โคมูตร) ใช้ลงท้ายเมื่อจบเรื่อง สามารถใช้คู่กับ ขณฺฑ หรือ ขณฺฑจบ่ ได้
រៀល (เรียล) เครื่องหมายสกุลเงิน เรียลกัมพูชา
Avakrahasanya

ตัวเลข

[แก้]

ตัวเลขในอักษรเขมรมีลักษณะคล้ายเลขไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นอักษรแบบใด ได้แก่

០ ១ ២ ៣ ៤ ៥ ៦ ៧ ៨ ៩

วิธีใช้เหมือนกับเลขฮินดูอารบิกทั่วไป มีเครื่องหมายคั่นหลักพันเป็นจุลภาค และมีจุดทศนิยมเป็นมหัพภาค

นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์อีกแบบหนึ่งสำหรับแทนตัวเลข

៰ ៱ ៲ ៳ ៴ ៵ ៶ ៷ ៸ ៹

ลักษณะ

[แก้]

อักษรเขมรมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

  • อักษรเชฺรียง (อ่านว่า เจฺรียง) (เขมร: អក្សរជ្រៀង) หรือ อักษรเฉียง เป็นอักษรในลักษณะตัวเอน ไม่ได้ใช้เพื่อการเน้นคำในภาษา แต่จะนำไปใช้เขียนเนื้อหาทั้งหมด เช่นนิยายและการตีพิมพ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้อักษรเชฺรียงได้
  • อักษรฌร (อ่านว่า โช) (เขมร: អក្សរឈរ) หรือ อักษรตรง (เขมร: អក្សរ​ត្រង់) เป็นอักษรในลักษณะตัวตรง การใช้อักษรตัวตรงไม่เป็นที่นิยมเท่าอักษรเชฺรียง แต่ปัจจุบัน แบบอักษรในคอมพิวเตอร์ได้เลือกใช้อักษรตัวตรงเพื่อให้อ่านข้อความได้ง่าย ซึ่งสามารถปรับให้เป็นตัวเอนได้
  • อักษรมูล (อ่านว่า โมล) (เขมร: អក្សរមូល) เป็นอักษรในลักษณะตัวโค้งมน ใช้สำหรับขึ้นต้นหัวเรื่องในเอกสาร หนังสือ ป้ายประกาศ ป้ายร้านค้า โทรทัศน์ และการเขียนบทสวดมนต์ทางศาสนา บางครั้งใช้เขียนพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะที่ข้อความรอบข้างใช้ตัวหนังสือธรรมดา (อักษรเชฺรียง-ฌร) พยัญชนะโดดและพยัญชนะซ้อนหลายตัวของอักษรแบบนี้ จะมีรูปแบบที่ต่างออกไปจากอักขรวิธีมาตรฐาน
  • อักษรขอม (เขมร: អក្សរខម หรือ អក្សរខំ) เป็นลักษณะที่ต่างจากอักษรมูลเล็กน้อย ดูเพิ่มที่ อักษรขอม

ยูนิโคด

[แก้]

ในยูนิโคด อักษรเขมรมีช่วงหลักที่ U 1780–U 17FF และมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับวันที่ทางจันทรคติในช่วง U 19E0–U 19FF


เขมร
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U 178x
U 179x
U 17Ax
U 17Bx
U 17Cx
U 17Dx    
U 17Ex            
U 17Fx            


เขมร สัญลักษณ์
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U 19Ex
U 19Fx ᧿


อ้างอิง

[แก้]
  1. Herbert, Patricia; Anthony Crothers Milner (1989). South-East Asia: languages and literatures : a select guide. University of Hawaii Press. pp. 51–52. ISBN 0-8248-1267-0.
  2. "Constitution of the Kingdom of Cambodia". Office of the Council of Ministers. អង្គភាពព័ត៌មាន និងប្រតិកម្មរហ័ស. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  3. Punnee Soonthornpoct: From Freedom to Hell: A History of Foreign Interventions in Cambodian Politics And Wars. Page 29. Vantage Press.
  4. Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019), p.28
  5. Russell R. Ross: Cambodia: A Country Study. Page 112. Library of Congress, USA, Federal Research Division, 1990.
  6. Lowman, Ian Nathaniel (2011). The Descendants of Kambu: The Political Imagination of Angkorian Cambodia (วิทยานิพนธ์). UC Berkeley.
  7. Angkor: A Living Museum, 2002, p. 39
  8. Jensen, Hans (1970). Sign, symbol and script: an account of man's efforts to write. p. 392.
  9. วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2547). อักษรไทยและอักษรขอมไทย THAI SCRIPTS & KHMER SCRIPTS FL348. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 137. ISBN 974-9676-23-8
  10. 10.0 10.1 ศานติ ภักดีคำ. (2562). "อักษรขอมกับเอกสารตัวเขียนสมัยรัตนโกสินทร์," แลหลังคำเขมร-ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 125–126. ISBN 978-974-02-1687-2
    • "เขมรได้รับเอาอักษรขอมหวัด (ตัวเกษียน) สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นไปปรับใช้เป็นอักษรเขมรแบบใหม่ที่เรียกว่า อักษรเชรียง (คืออักษรเขมรปัจจุบัน) แต่ว่ามีรูปพยัญชนะแปลก ไปจากอักษรขอมอื่น ๔ ตัว คือ ง ท น ฬ และใช้อักษร อ เป็น ทุ่นแทนสระลอยในบางคำ"
    • "อักษรเชรียงนี้สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปัญญาสีโล ปาน) สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วัดปทุมวดี กรุงพนมเปญ เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ราว พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชกาลสมเด็จพระนโรดม เพื่อใช้พิมพ์และเขียนภาษาเขมร"
  11. ศานติ ภักดีคำ. (2545). เขมรรบไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 33 เชิงอถรรถ ๑๙. ISBN 978-974-02-0810-5
  12. ประยูร ทรงศิลป์. (2526). การเปลี่ยนแปลงของภาษา: คำยืมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูธนบุรี. หน้า 129.
  13. กตัญญู ชูชื่น. (2525). ภาษาเขมรในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. หน้า 17. ISBN 978-974-0-75178-6
  14. "MoolBoran font family". Microsoft Corp. 20 October 2017.
  15. "DaunPenh font family". Microsoft Corp. 20 October 2017.
  16. วิไลศักดิ์ กิ่งคำ (2007). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-974-9934-31-9.
  17. "Unicode Character 'KHMER SIGN AHSDA' (U 17CF)". Fileformat.info.
  18. "Unicode Character 'KHMER SIGN BATHAMASAT' (U 17D3)". Fileformat.info.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]