อักษรวิจิตร
ส่วนหนึ่งของชุด |
อักษรวิจิตร |
---|
อักษรวิจิตร[1] (อังกฤษ: calligraphy) เป็นทัศนศิลป์ชนิดหนึ่ง มักจะเรียกว่าศิลปะของการเขียน [2] ความหมายในทางปฏิบัติคือ “ศิลปะแห่งการให้รูปแบบเพื่อแสดงถึงลักษณะความหมาย ความกลมกลืน และความชำนาญ” [3] ประวัติของการเขียนอักษรวิจิตรเป็นประวัติของการพัฒนาที่มาจากความสามารถทางเทคนิค ความรวดเร็วในการเขียน ความจำกัดของวัตถุที่ใช้ สถานที่ที่ทำการเขียน และเวลาที่เขียน [4] ลักษณะของการเขียนเช่นนี้เรียกว่า script, hand หรือ alphabet [5][6]
คำว่า calligraphy มาจากภาษากรีก κάλλος (kallos = วิจิตร) และคำว่า γραφή (graphẽ = การเขียน)
การเขียนอักษรวิจิตรสมัยใหม่มีตั้งแต่ตัวอักษรที่ออกแบบสำหรับการใช้งานโดยทั่วไป ไปจนถึงการออกแบบตัวอักษรสำหรับงานวิจิตรศิลป์ หรือการเขียนอักษรแบบแอบสแตร็กต์ที่สามารถอ่านได้หรือไม่ได้ [7] ส่วนการเขียนอักษรวิจิตรในสมัยโบราณแตกต่างไปจากอักษรเรียงพิมพ์ (typography) และลายมือที่ไม่ใช่ลายมือคลาสสิก อักษรวิจิตรโบราณจะเป็นอักษรที่มีลักษณะที่เป็นระเบียบแบบแผน แต่ก็มีความอ่อนไหวและแสดงถึงคุณลักษณ์ทางด้านการสร้างสรรค์ของผู้เขียน [8][9][10]
การเขียนอักษรวิจิตรยังเป็นที่นิยมกันในการเขียนบัตรเชิญเนื่องในโอกาสพิเศษ การออกแบบอักษรประดิษฐ์ การออกแบบโลโก ศิลปะทางศาสนา งานจ้างเขียน การสลักอักษรบนหิน หรือประกาศนียบัตรต่างๆ
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Diringer, D. (1968) The Alphabet: A Key to the History of Mankind 3rd Ed. Volume 1 Hutchinson & Co. London
- Fraser, M., & Kwiatowski, W. (2006) Ink and Gold: Islamic Calligraphy. Sam Fogg Ltd. London
- Johnston, E. (1909) Manuscript & Inscription Letters: For schools and classes and for the use of craftsmen, plate 6. San Vito Press & Double Elephant Press 10th Impression
- Mediavilla, C. (1996) Calligraphy. Scirpus Publications
- Pott, G. (2006) Kalligrafie: Intensiv Training Verlag Hermann Schmidt Mainz
- Pott, G. (2005) Kalligrafie: Erste Hilfe und Schrift-Training mit Muster-Alphabeten Verlag Hermann Schmidt Mainz
- Zapf, H. (2006) The world of Alphabets: A kaleidoscope of drawings and letterforms, CD-ROM
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อักษรวิจิตร