อองก๋วน
อองก๋วน (หวาง กวาน) | |
---|---|
王觀 | |
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 – พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ก่อนหน้า | อองซอง |
ถัดไป | หวาง เสียง |
รองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย (尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเช่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 254 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 254 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
นายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. 254 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. 254 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เสนาบดีกรมราชรถ (太僕 ไท่ผู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เสนาบดีกรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 239 | |
กษัตริย์ | โจยอย |
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจยอย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ อำเภอ-ยฺวิ่นเฉิง มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260[1] |
บุตร | หวาง คุย (王悝) |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เหว่ย์ไถ (偉臺) |
สมัญญานาม | ซู่โหว (肅侯) |
บรรดาศักดิ์ | หยางเซียงโหว (陽鄉侯) |
อองก๋วน (เสียชีวิต พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง กวาน (จีน: 王觀; พินอิน: Wáng Guān) ชื่อรอง เหว่ย์ไถ (จีน: 偉臺; พินอิน: Wěitái) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เริ่มชีวิตในฐานะเด็กกำพร้าผู้สร้างชื่อเสียงให้ตนเองในฐานะข้าราชการท้องถิ่นผู้ซื่อสัตย์ ต่อมากลายเป็นพรรคพวกของตระกูลสุมาในการยึดอำนาจจากตระกูลโจและขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด แม้ว่าอองก๋วนได้ลาออกจากราชการภายหลังเหตุการณ์ที่จักรพรรดิโจมอถูกปลงพระชนม์[2][3]
ประวัติช่วงต้น
[แก้]อองก๋วนเป็นชาวอำเภอหลิ่นชิว (廩丘) ในเมืองตองกุ๋น (東郡 ตงจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลชานตงในปัจจุบัน อองก๋วนกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุยังน้อย และเติบโตมาด้วยฐานะยากจน[4] แต่ก็กลายมาเป็นผู้มีพลังและทะเยอทะยาน[5][3]
ในปี ค.ศ. 210[3] โจโฉผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีเรียกตัวอองก๋วนมารับราชการเป็นผู้ช่วยเขียนในสำนักของอัครมหาเสนาบดี ภายหลังอองก๋วนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ (縣令 เซี่ยนลิ่ง) ของอำเภอเกาถาง (高唐), หยางเฉฺวียน (陽泉), จ้าน (酂) และเริ่น (任) อองก๋วนได้รับการยกย่องว่าปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีในแต่ละตำแหน่งที่ได้รับ[6]
การรับราชการกับจักรพรรดิวุยก๊ก
[แก้]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 220 โจโฉเสียชีวิต โจผีบุตรชายคนโตสุดที่ยังมีชีวิตอยู่ของโจโฉได้สืบทอดตำแหน่งของโจโฉ [7][8] และในวันที่ 11 ธันวาคม พระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกทรงสละราชบัลลังก์ โจผีขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งของราชวงศ์วุย[8] อองก๋วนถูกเรียกตัวไปยังนครหลวงเงียบกุ๋น (鄴 เย่) เพื่อมารับตำแหน่งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง)[9] ต่อมามีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักตุลาการ (廷尉監 ถิงเว่ย์เจียน) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองลำหยง (南陽 หนานหยาง) และเมืองตุ้นก้วน (涿 จัว)[10] ที่เมืองตุ้นก้วนมีปัญหาพิเศษเกี่ยวกับการจู่โจมจากชนเผ่าเซียนเปย์ที่อยู่ใกล้เคียง อองก๋วนจึงมีคำสั่งให้ตระกูลใหญ่รวมกลุ่มกันเป็นกองทหารรักษาการณ์และสร้างป้อมปราการ ขณะเดียวกันอองก๋วนก็ส่งหนังสือไปยังราชสำนักขอให้ช่วยส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะกระตือรือร้นทำตามคำสั่งของอองก๋วน แต่อองก๋วนก็ไม่กำหนดเวลาเส้นตาย และเพราะไม่มีแรงกดดัน ผู้คนจึงร่วมมือกันสร้างกำแพงเสร็จอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าทันทีที่สร้างเสร็จ การจู่โจมจากชนเผ่าเซียนเปย์ก็ยุติลง[11]
โจผีสวรรคตในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 226 พระโอรสโจยอยได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิในวันเดียวกันนั้น[12][8] โจยอยมีรับสั่งให้จัดระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ความไม่สงบในแต่ละเมือง[13] พื้นที่ที่ถูกระบุว่ามีสถานการณ์ที่ร้ายแรงจะทำให้ความต้องการแรงงานและภาษีจากพื้นที่นั้น ๆ ลดลง[14] แต่หัวหน้าของพื้นที่นั้น ๆ จะต้องส่งสมาชิกครอบครัวมาเป็นตัวประกันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน[15] เจ้าหน้าที่ต้องการกำหนดให้ตุ้นก้วนเป็นเมืองที่มีระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำ[16] เพราะอองก๋วนมีบุตรชายเพียงคนเดียวซึ่งยังอยู่ในวัยเด็ก แต่อองก๋วนปฏิเสธ[14] และส่งบุตรชายของตนไปเป็นตัวประกัน[17]
ในระหว่างการเสด็จเยือนฮูโต๋ของโจยอยครั้งหนึ่ง[12] อองก๋วนถูกเรียกตัวมายังนครหลง มารับราชการในฝ่ายตรวจการโดยมีอำนาจคุมเรือนจำ[18] เวลานั้นแม้ว่าโจยอยทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น แต่อองก๋วนก็ไม่ทูลเยินยอประจบพระองค์[19] สุมาอี้ผู้มีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) ได้ช่วยส่งเสริมอองก๋วนในหน้าที่ราชการ[20] อองก๋วนจึงได้รับราชการในสำนักราชเลขาธิการ แล้วได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) กำกับเมืองนครหลวง จากนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเก้าเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดีกรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่) รับผิดชอบด้านการเงินของราชวงศ์
การรับราชการในช่วงที่ตระกูลสุมาเป็นผู้สำเร็จราชการ
[แก้]ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 239 โจยอยสวรรคต โจฮองพระโอรสบุญธรรมได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ สุมาอี้และโจซองผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่สุมาอี้และโจซองไม่ลงรอยกัน โจซองกดดันให้สุมาอี้ลาออกจากราชการ[12][21] อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่าอองก๋วนได้ต่อต้านการใช้อำนาจในทางมิชอบของโจซอง เมื่อโจซองต้องการไม้ไว้ใช้ส่วนตัว อองก๋วนจึงเข้าไปที่สำนักไม้เพื่ออายัดไม้ไว้ และบังคับใช้กฎหมายหลายครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้โจซองเข้าถึงคลังของสำนักต่าง ๆ ของราชสำนัก โจซองรู้สึกไม่พอใจอองก๋วนด้วยเหตุดังกล่าว จึงลดตำแหน่งอองก๋วนลงเป็นเสนาบดีกรมราชรถ (太僕 ไท่ผู)[22] อย่างไรก็ตาม บันทึกเรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นที่รู้กันว่าให้ความมุ่งร้ายโจซอง[23] และอาจมีสาเหตุอื่นที่โจซองโยกย้ายพรรคพวกของสุมาอี้ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีอื่น
สุมาอี้ก่อการรัฐประหารโค่นอำนาจโจซองในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 อองก๋วนได้เข้าร่วมก่อรัฐประหารโดยได้ขึ้นเป็นขุนพลชั่วคราว กุมตำแหน่งผู้บัญชาการทหารส่วนกลาง (中領軍 จงหลิ่งจฺวิน) ซึ่งเป็นตำแหน่งของโจอี้ (曹羲 เฉา ซี) น้องชายของโจซอง และเข้ากุมอำนาจบัญชาการกองกำลังของโจอี้[24] ภายหลังจากโจซองถูกประหารชีวิตในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน สุมาอี้จัดให้อองก๋วนได้บรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และได้รับการแต่งตั้งเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) และนายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์)[25]
ในปี ค.ศ. 254 โจฮองทรงเจริญพระชันษาขึ้นและทรงวางแผนจะโค่นล้มสุมาสูบุตรชายของสุมาอี้ซึ่งกุมอำนาจเหนือพระองค์อยู่ในเวลานั้น แต่แผนการของพระองค์ล้มเหลว แล้วโจฮองก็ถูกปลดจากตำแหน่งจักรพรรดิและถูกจำคุกในวันที่ 17 ตุลาคม[21][26] สุมาสูและเหล่าเสนาบดีจึงกล่าวโทษโจฮองในเรื่องความผิดปกติเรื่องเพศจึงไม่คู่ควรแก่การครองบัลลังก์ ตามแบบอย่างการของปลดหลิว เฮ่อ (劉賀) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยอองก๋วนเป็นคนหนึ่งที่ร่วมลงนามในหนังสือกล่าวโทษนี้[27] เมื่อโจมอจักรพรรดิผู้เยาว์ขึ้นครองราชย์ อองก๋วนได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นจงเซียงถิงโหว (中鄉亭侯) และได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) และรองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย (尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเช่อ)[28][29]
ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 260 โจมอพยายามกู้พระราชอำนาจของพระองค์จากสุมาเจียวน้องชายของสุมาสูซึ่งกุมอำนาจเหนือพระองค์อยู่ในเวลานั้น แต่โจมอถูกผู้ภักดีต่อตระกูลสุมาปลงพระชนม์บนถนน[30][31] ในวันที่ 27 มิถุนายน โจฮวนจักรพรรดิวุยก๊กลำดับสุดท้ายขึ้นครองราชย์[32][21] ในวันที่ 7 กรกฎาคม[21] อองก๋วนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหยางเซียงโหว (陽鄉侯) ได้รับศักดินาเพิ่มเติม 1,000 ครัวเรือนจากที่เดิมมี 2,500 ครัวเรือน[33] และได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) คือขึ้นเป็นหนึ่งในสามตำแหน่งเสนาบดีสูงสุด (ซันกง) อย่างไรก็ตาม ชื่อของอองก๋วนไม่ปรากฏในฎีกาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคตของโจมอ และอองก๋วนพยายามปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งของตน สุมาเจียวไม่ยอมรับการปฏิเสธของอองก๋วนแล้วส่งผู้แทนไปหาอองก๋วนเพื่อแต่งตั้ง อองก๋วนยอมรับตำแหน่งแต่ก็ลาออกโดยแขวนตราประจำตำแหน่งและกลับไปอยู่บ้าน[34]
การเสียชีวิตและสิ่งตกทอด
[แก้]อองก๋วนเสียชีวิตที่บ้านในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 260[21] อองก๋วนสั่งให้ฝังศพของตนอยู่ใส่ในโลงศพเรียบ ๆ หลุมศพไม่มีเนินดินและไม่ใส่สมบัติใด ๆ ลงไป[35] สมัญญานามของคือซู่โหว (肅侯) บุตรชายของอองก๋วนชื่อหวาง คุย (王悝) ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ของอองก๋วน ภายหลังจากจ๊กก๊กล่มสลายและสุมาเจียวได้ขึ้นเป็นอ๋องในปี ค.ศ. 264 ได้รื้อฟื้นห้าบรรดาศักดิ์ของราชวงศ์โจว[36] โดยหวาง คุยได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นจื่อ (子) เพื่อเป็นเกียรติแก่อองก๋วนผู้บิดา[37]
อองก๋วนได้รับการยกย่องจากผลงานการปกครองระหว่างดำรงตำแหน่งนอกนครหลวง[6] ความตั้งใจของอองก๋วนที่ส่งบุตรชายที่ยังเด็กเพียงคนเดียวของตนไปเป็นตัวประกันเพื่อช่วยเมืองตุ้นก้วนได้กลายเป็นแบบอย่างของผู้มีจิตสาธารณะ[17] อองก๋วนในฐานะผู้เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ได้สร้างแรงบันดาลใจในคนอื่น ๆ ผ่านการทำงานอย่างหนักและซื่อสัตย์ของตน[38] ในปี ค.ศ. 256 หลู ยฺวี่ (盧毓) พยายามปฏิเสธการรับเลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาบดีชั้นซันกงโดยเสนอคนอื่น ๆ ให้ดำรงตำแหน่งแทนแต่ไม่สำเร็จ อองก๋วนเป็นหนึ่งในคนที่หลู ยฺวี่เสนอชื่อ[39]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ([景元元年夏六月]癸亥,以尚書右僕射王觀為司空,冬十月,觀薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 De Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23–220 AD (ภาษาอังกฤษ). Boston: Brill. p. 813. ISBN 978-90-04-15605-0.
- ↑ Ebery, Patricia (1986). "The economic and social history of Later Han". ใน Twitchett, Dennis; Fairbank, Jonathon (บ.ก.). The Cambridge History of China Volume 1: The Ch'in and Han Empires, 221 B.C.-A.D. 220 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 635–636. ISBN 9781139054737.
- ↑ (王觀字偉臺,東郡廩丘人也。少孤貧勵志,太祖召為丞相文學掾) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 6.0 6.1 (太祖召為丞相文學掾,出為高唐、陽泉、酇、任令,所在稱治。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
- ↑ Bielenstein, Hans (1980). The Bureaucracy of Han Times (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 149. ISBN 978-0-521-22510-6.
- ↑ (文帝踐阼,入為尚書郎、廷尉監) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (涿北接鮮卑,數有寇盜,觀令邊民十家已上,屯居,築京候。時或有不願者,觀乃假遣朝吏,使歸助子弟,不與期會,但敕事訖各還。於是吏民相率不督自勸,旬日之中,一時俱成。守禦有備,寇鈔以息。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (明帝即位,下詔書使郡縣條為劇、中、平者) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 14.0 14.1 (觀曰:「夫君者,所以為民也。今郡在外劇,則於役條當有降差。豈可為太守之私而負一郡之民乎?」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (主者曰:「若郡為外劇,恐於明府有任子。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (主者曰:「若郡為外劇,恐於明府有任子。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 17.0 17.1 遂言為外劇郡,後送任子詣鄴。時觀但有一子而又幼弱。其公心如此。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (明帝幸許昌,召觀為治書侍御史,典行臺獄) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (時多有倉卒喜怒,而觀不阿意順指) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (太尉司馬宣王請觀為從事中郎,遷為尚書,出為河南尹,徙少府) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (大將軍曹爽使材官張達斫家屋材,及諸私用之物,觀聞知,皆錄奪以沒官。少府統三尚方御府內藏玩弄之寶,爽等奢放,多有干求,憚觀守法,乃徙為太僕。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ De Crespigny, Rafe (2003). "The Three Kingdoms and Western Jin A History of China in the Third Century A.D." Australian National University Open Research Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
- ↑ Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 8. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
- ↑ (司馬宣王誅爽,使觀行中領軍,據爽弟羲營,賜爵關內侯,復為尚書,加駙馬都尉。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 15–19. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
- ↑ อรรถาธิบายจากเว่ย์ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ Comprehensive Mirror in Aid of Governance (Zizhi Tongjian Guangmu) Book 77. pp. 癸亥,以尚書左僕射王觀為司空。.
- ↑ (高貴鄉公即位,封中鄉亭侯。頃之,加光祿大夫,轉為右僕射。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 30–31. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
- ↑ อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิว, เว่ย์ชื่อชุนชิว และเว่ย์มั่วจฺว้านในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 34–35. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
- ↑ (常道鄉公即位,進封陽鄉侯,增邑千戶,并前二千五百戶) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (遷司空,固辭,不許,遣使即第拜授。就官數日,上送印綬,輒自輿歸里舍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (薨于家,遺令藏足容棺,不設明器,不封不樹) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 40. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
- ↑ (諡曰肅侯。子悝嗣。咸熙中,開建五等,以觀著勳前朝,改封悝膠東子。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (觀治身清素,帥下以儉,僚屬承風,莫不自勵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- ↑ (正元三年,疾病,遜位。遷為司空,固推驃騎將軍王昶、光祿大夫王觀、司隸校尉王祥) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (ศตวรรษที่ 11). กระจกสะท้อนการปกครอง (จือจื้อทงเจี้ยน).