อรรถพล ปุษปาคม
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | อรรถพล ปุษปาคม | ||
วันเกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 | ||
สถานที่เกิด | อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย | ||
วันเสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2558 (52 ปี) | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2528-2533 | การท่าเรือไทย | 160 | (34) |
2533-2534 | ปะหัง เอฟซี | 57 | (12) |
2534-2537 | การท่าเรือไทย | 114 | (21) |
2537-2539 | ปะหัง เอฟซี | 43 | (10) |
2539-2541 | ตลาดหลักทรัพย์ | 49 | (5) |
ทีมชาติ‡ | |||
2538-2541 | ทีมชาติไทย | 85 | (13) |
จัดการทีม | |||
2545-2547 | บีอีซี เทโรศาสน | ||
2549 | เกย์ลัง ยูไนเต็ด | ||
2550-2551 | ธนาคารกรุงไทย | ||
2552 | ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร | ||
2552 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | ||
2553-2556 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ||
2556-2557 | บางกอกกล๊าส | ||
2557-2558 | เพื่อนตำรวจ | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2555 |
อรรถพล ปุษปาคม (ชื่อเล่น: แต๊ก ; 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 — 16 เมษายน พ.ศ. 2558) เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยของสโมสรการท่าเรือฯ เขาเคยเป็นผู้ฝึกสอนของทีมบางกอกกล๊าสในไทยพรีเมียร์ลีกและได้เคยคุมทีมอื่นๆ ในไทยเช่น เมืองทองฯ ยูไนเต็ด, บีอีซี เทโรศาสน, ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร และเป็นผู้ฝึกสอนคนสุดท้ายของสโมสรธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้ อรรถพลเคยได้รับการยกย่องจากแฟนบอลทีมชาติไทยว่าเป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทยที่เก่งที่สุดในประเทศ
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 อรรถพลได้เสียชีวิตลง เนื่องด้วยติดเชื้อที่กระแสเลือดและปอด[1]
ประวัติ
[แก้]อรรถพล ปุษปาคม เกิดในปี พ.ศ. 2505 ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เขามีลูกทั้งสิ้น 4 คน โดยเป็นลูกชาย 3 คน (คนโตคือ วรรณพล ปุษปาคม และคนรองคือ กนกพล ปุษปาคม)
ประวัติการเล่นฟุตบอล
[แก้]การท่าเรือไทย
[แก้]อรรถพล ปุษปาคม เริ่มเล่นอาชีพ ฟุตบอล ตั้งแต่วัย 23 ปี กับ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย ในปี พ.ศ. 2528 โดยเล่นในตำแหน่ง กองกลาง อรรถพลเก่งในด้านการรุกริมเส้นด้านขวา ในช่วงตอนเขามาอยู่กับ การท่าเรือไทย ฤดูกาลแรก ทำประตูไป 7 ประตู ลงเล่นไป 23 นัด ถือว่าเป็น กองกลาง ที่ทำประตูได้มากที่สุดในกองกลางของการท่าเรือไทย โดยอรรถพลเป็นนักฟุตบอลส่วนหนึ่งที่เป็นคนช่วยส่งให้เพื่อนทำประตูให้ทืมคว้าแชมป์ ถ้วย ก ได้ในปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2533 โดยในปัจจุบันอรรถพลเป็นคนครองสถิติ กองกลาง ที่ทำประตูเร็วที่สุดของ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย
ปะหัง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2533 อรรถพลได้เซ็นสัญญากับ สโมสรฟุตบอลปะหัง สโมสรฟุตบอลชื่อดังใน ประเทศมาเลเซีย โดยอรรถพล ได้ลงเล่นในตำแหน่งตัวจริงของ สโมสรฟุตบอลปะหัง เป็นบางครั้ง และเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าทำให้ต้องพักการเล่นฟุตบอลไปเกือบ 2 เดือน แต่ภายหลังก็สามารถกลับมาเล่นให้กับทีมต่อได้ในช่วงฤดูกาลหลังของฤดูกาล 2532-33 แต่แล้วอรรถพลก็ตัดสินใจกลับไปเล่นให้กับ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย ต่อ ในปี พ.ศ. 2534
การท่าเรือไทย (ครั้งที่ 2)
[แก้]การกลับมาของอรรถพลในฤดูกาลนี้ สามารถได้รับโอกาสการลงเล่นเป็นตัวจริงได้หลายครั้ง ด้วยการลงเล่นเป็นตัวจริง 30 นัด ทำประตูได้ 10 ประตู แต่ไม่สามารถช่วยให้การท่าเรือไทยได้แชมป์ถ้วยต่างๆในฤดูกาล 2533-34 แล้วต่อมาในฤดูกาล 2534-35 อรรถพลได้ลงเล่นตัวจริงเกือบครบทุกนัด โดยลงเล่นไป 32 นัดจาก 35 เกม แต่ทำประตูไปได้แค่ 6 ประตู เพราะในช่วงนั้นการท่าเรือไทยได้ กองหน้า ตัวเก่งมาหลายคน จึงเลยไม่ค่อยได้มีโอกาสเติมเกมส์รุกมากเท่าไร แต่อรรถพลก็สามารถช่วยนำทีมคว้าแชมป์ ถ้วย ข ได้ และในฤดูกาล 2535-36 และ 2536-37 อรรถพลไม่ค่อยได้ลงเล่นเป็นตัวจริงมากนัก เพราะทั้งอาการบาดเจ็บ และความเร็วที่เริ่มด้อยลง ด้วยวัย 31 ปี เลยได้ลงเล่นเพียงแค่ 25 นัด กับ 4 ประตู และ ในฤดูกาล 2536-37 ได้ลงเล่น 27 นัด กับ 1 ประตู ก่อนที่จะตัดสินใจย้ายไปอยู่กับ สโมสรฟุตบอลตลาดหลักทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2539
ตลาดหลักทรัพย์
[แก้]อรรถพลในวัย 34 ปี ไม่ค่อยได้รับโอกาสลงเล่นเป็นตัวจริงบ่อยครั้งมาก เนื่องจากวัยและสภาพของร่างกาย จึงได้ลงเล่นเพียง 49 นัด ทำประตูได้ 5 ประตู และได้ประกาศแขวนสตั๊ดในปี พ.ศ. 2541
ประวัติการเป็นผู้จัดการทีม
[แก้]หลังจากประกาศเลิกเล่น อรรถพลหันมารับงานคุมทีมเป็นครั้งแรกกับสโมสร บีอีซี เทโรศาสน ระหว่างปี 2545-2549 มีผลงานโดดเด่น นำทีมคว้ารองแชมป์ เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2545-2546 จากนั้นย้ายไปคุมทีม เกย์ลัง ยูไนเต็ด (สิงคโปร์) ในปี 2549, ธนาคารกรุงไทย ปี 2550-2551, ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร ปี 2552, เมืองทอง ยูไนเต็ด ปี 2552 ก่อนจะย้ายมาคุมทีม บุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี 2554 จนกระทั่งแยกทางกันเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 หลังนำทีมบุกไปเสมอ เอฟซี โซล 2-2 สร้างประวัติศาสตร์นำ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในศึก เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ได้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ อรรถพล ยังทำสถิติเป็นโค้ชไทยคนแรกที่นำทีมผ่านเข้ารอบน็อคเอาท์ในศึก เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ได้ถึง 2 ทีม (บีอีซี เทโรศาสน และ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) อรรถพลเคยรับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส
เสียชีวิต
[แก้]โค้ชแต้กถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินหลังเกมเสมอสงขลา 1-1 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 หลังจากอาการทรุดหนักจากการติดเชื้อในเลือดและปอด ในวันที่ 10 เมษายน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกรุงเทพ-หาดใหญ่ ทันที ก่อนย้ายมารักษาตัว ห้องไอ.ซี.ยู. โรงพยาบาลพระราม 9 โดยเมื่อช่วงเช้าประมาณตีสี่ของวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 มีรายงานว่าโค้ชแต้กเสียชีวิตแล้วด้วยวัยอายุ 52 ปี[2][3]โดยมีพิธีรดน้ำศพโค้ชแตกที่วัดธาตุทอง มีพิธีสวดอภิธรรมศพเป็นเวลา 5 วันที่ศาลา 18 ก่อนจะฌาปนกิจศพในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558[4]
เกียรติประวัติ
[แก้]สมัยผู้เล่น
[แก้]- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ก ชนะเลิศ; 2528, 2533
- มาเลเซียซุปเปอร์ลีก ชนะเลิศ; 2538
- มาเลเซียคัพ รองชนะเลิศ; 2537, 2538
- มาเลเซียเอฟเอคัพ รองชนะเลิศ; 2538
- มาเลเซียแชร์ริตีชิลด์ รองชนะเลิศ; 2538
สมัยผู้จัดการทีม
[แก้]- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รองแชมป์; 2545-2546
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก รองแชมป์; 2545-2546
- ไทยพรีเมียร์ลีก รองแชมป์; 2550
- ไทยเอฟเอคัพ รองแชมป์; 2556
- ไทยพรีเมียร์ลีก แชมป์; 2552
- ไทยพรีเมียร์ลีก แชมป์; 2554
- ไทยพรีเมียร์ลีก รองแชมป์; 2553
- ไทยลีกคัพ แชมป์; 2554,2555
- ไทยลีกคัพ รองแชมป์; 2553
- ไทยเอฟเอคัพ แชมป์; 2554,2555
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. แชมป์; 2556
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. รองแชมป์; 2555
รางวัลส่วนตัว
[แก้]- หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (4): 2544/45, 2552, 2554, 2556
- พ.ศ. 2557 : รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม - งานฟุตบอลสยามโกลเด้นบอล ครั้งที่ 4 [5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วงการลูกหนังไทยเศร้า! โค้ชแต๊กเสียชีวิตแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
- ↑ วงการลูกหนังเศร้า! โค้ชแต๊กเสียชีวิตด้วยวัย 52 ปี
- ↑ ""โค้ชแต๊ก" ติดเชื้อกระแสเลือด สิ้นลมวัย 52". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2015-04-16.
- ↑ "'โค้ชแต๊ก'เสียชีวิตแล้วติดเชื้อในกระแสเลือด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-04-16.
- ↑ 'อุ้ม ธีราทร' คว้าแข้งยอดเยี่ยม ฟุตบอลสยาม โกลเด้นบอล - ข่าวไทยรัฐออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อุ้ม-ธีราทร"ซิวโกลเด้นบอล-"โค้ชแต็ก"กุนซือยอดเยี่ยม-บุรีรัมย์ทีมยอดเยี่ยม - ข่าวสด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชื่นมื่น อุ้ม ได้แฟนสาวขึ้นมอบโกลเด้นบอล - Sport - Manager Online[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประกาศศักดากุนซือเบอร์ 1 เมืองไทย ประเดิมโค้ชยอดเยี่ยมกกท. จ่อซิวไทยลีกอีก
- ประวัติโค้ชแต๊ก จาก Hikicker.com
ก่อนหน้า | อรรถพล ปุษปาคม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธนเดช ฟูประเสริฐ | ผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2 พฤษภาคม 2553 – 2 พฤษภาคม 2556) |
สก็อตต์ คูเปอร์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558
- บุคคลจากอำเภอสัตหีบ
- นักฟุตบอลชายชาวไทย
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลศรีปะหัง
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลอาร์แบค
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไทย
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลเกลังยูไนเต็ด
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลยาสูบ
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
- เสียชีวิตจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
- นักฟุตบอลชายชาวไทยที่ค้าแข้งในต่างประเทศ
- นักฟุตบอลจากจังหวัดชลบุรี