หูชื่อ
หูชื่อ 胡氏 | |
---|---|
อาชีพ | ชนชั้นสูง |
ยุคสมัย | ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ยุคสามก๊ก |
คู่สมรส | เล่าตำ |
หูชื่อ (จีน: 胡氏; พินอิน: Hú Shì) เป็นสตรีชาวจีนของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280) ของจีน เป็นภรรยาของเล่าตำ (劉琰 หลิว เหยี่ยน) ขุนพลของจ๊กก๊ก เมื่อเล่าตำที่เป็นคนชอบเสพสุราให้คนใช้ของตนทำร้ายร่างกายหูชื่อที่เป็นภรรยาของตน หูชื่อจึงร้องเรียนต่อราชสำนัก เป็นผลทำให้เล่าตำต้องโทษประหารชีวิต[1]
สมรสกับเล่าตำ
[แก้]มีข้อมูลไม่มากนักเกี่ยวกับหูชื่อ ทั้งในเรื่องตัวบุคคล สถานที่เกิด ภูมิหลัง และบุคลิกลักษณะ มีระบุเพียงว่าหูชื่อเป็นสตรีที่มีรูปโฉมงดงามมาก[2] เล่าตำสามีของหูชื่อเป็นผู้มีรูปลักษณ์งามสง่าและมีทักษะในการโต้วาที ซึ่งเมื่อรวมกับความเป็นเชื้อพระวงศ์แล้วก็ทำให้เล่าตำเป็นบุคคลที่เป็นที่นับหน้าถือตา[3][4] แต่เล่าตำมีข้อเสียคือติดการเสพสุรา[5] มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย และถือตัวเองเป็นสำคัญ[6] เล่าตำทะเลาะวิวาทกับอุยเอี๋ยนผู้เป็นมหาขุนพล จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กจึงปลดเล่าตำจากราชการ[7] เล่าตำเขียนหนังสือขอขมาโดยอ้างว่าเพราะตนเมาสุรา และสาบานว่าตนจะหยุดดื่ม[8] เล่าตำได้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมแต่ถูกส่งไปยังเซงโต๋ (成都 เฉิงตู) นครหลวงของจ๊กก๊ก แต่แล้วเมื่อเล่าตำได้ตำแหน่งคืนมา ก็กลับไปดื่มสุราอีกและอาจมีสภาพจิตใจที่ไม่ดีนัก[9][10][4]
การหย่าร้าง การถูกทำร้ายร่างกาย และการร้องเรียน
[แก้]ในช่วงขึ้นปีใหม่ของปี ค.ศ. 234 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเล่าเสี้ยน หูชื่อเข้าไปในพระราชวังของจ๊กก๊กที่เซงโต๋เพื่อถวายบังคมต่องอซีผู้เป็นพระพันปีหลวงและเป็นพระมเหสีของเล่าปี่อดีตจักรพรรดิของจ๊กก๊ก งอซีทรงมีรับสั่งให้หูชื่อยังคงพำนักอยู่ในพระราชวัง หูชื่อกลับไปบ้านหลังพำนักในพระราชวังเป็นเวลาหนึ่งเดือน[11]
เนื่องจากหูชื่อมีรูปโฉมงดงาม เล่าตำจึงสงสัยว่าหูชื่อลอบมีความสัมพันธ์ลับกับจักรพรรดิเล่าเสี้ยนในช่วงหนึ่งเดือนที่หูชื่อพำนักในพระราชวัง เล่าตำจึงสั่งทหารของคน 500 ตนให้ทำร้ายหูชื่อโดยการใช้รองเท้าฟาดใส่หน้า จากนั้นจึงหย่ากับหูชื่อและขับไล่ออกจากบ้าน[12]
หูชื่อฟ้องร้องต่อราชสำนักเรื่องพฤติกรรมทารุณของเล่าตำ เป็นผลทำให้เล่าตำถูกจับกุมและถูกขังคุก[13] เจ้าหน้าที่สอบสวนให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "ทหารไม่ควรช่วยผู้ใดทำร้ายภรรยาของคนผู้นั้น รองเท้าไม่ควรใช้ในการฟาดใส่หน้าผู้ใด"[14] เล่าตำจึงถูกประหารชีวิตต่อหน้าธารกำนัล[15] หลังเรื่องอื้อฉาวอันน่าอับอายและใหญ่โตนี้ ราชสำนักจ๊กก๊กจึงมีคำสั่งห้ามการอนุญาตให้ภรรยาและมารดาของข้าราชการใด ๆ เข้ามาในพระราชวังในช่วงการเฉลิมฉลอง[16][4] ไม่มีการบันทึกถึงหูชื่ออีกหลังจากนั้น
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (胡氏有美色) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (先主在豫州,闢為從事,以其宗姓,有風流,善談論,厚親待之,遂隨從周旋,常為賓客。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 De Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD) (ภาษาอังกฤษ). Boston: Brill. p. 573. ISBN 9789004156050.
- ↑ 然不豫國政,但領兵千餘,隨丞相亮諷議而已 สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (車服飲食,號為侈靡,侍婢數十,皆能為聲樂,又悉教誦讀魯靈光殿賦) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (建興十年,與前軍師魏延不和,言語虛誕,亮責讓之) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ 琰與亮牋謝曰:「琰稟性空虛,本薄操行,加有酒荒之病,自先帝以來,紛紜之論,殆將傾覆。頗蒙明公本其一心在國,原其身中穢垢,扶持全濟,致其祿位,以至今日。閒者迷醉,言有違錯,慈恩含忍,不致之于理,使得全完,保育性命。雖必克己責躬,改過投死,以誓神靈;無所用命,則靡寄顏。」สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (於是亮遣琰還成都,官位如故。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰失志慌惚) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰失志慌惚。[建興]十二年正月,琰妻胡氏入賀太后,太后令特留胡氏,經月乃出。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (胡氏有美色,琰疑其與後主有私,呼(卒)五百撾胡,至於以履搏面,而後棄遣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (胡具以告言琰,琰坐下獄。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (有司議曰:「卒非撾妻之人,面非受履之地。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰竟棄市) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (自是大臣妻母朝慶遂絕) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.