หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี
หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี | |
---|---|
รัฐบาลสหราชอาณาจักร สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักคณะรัฐมนตรี | |
จวน | เลขที่ 10 ถนนดาวนิง |
ผู้แต่งตั้ง | นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร |
วาระ | ไม่กำหนด วาระสิ้นสุดลงเมื่อตายหรือเกษียณ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | แมวของพระคาร์ดินัลโวลซีย์ |
สถาปนา | ป. 1515 เริ่มใช้ชื่อตำแหน่งประมาณ ค.ศ. 1997[1] |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี (อังกฤษ: Chief Mouser to the Cabinet Office)[a] เป็นชื่อตำแหน่งของแมวที่อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง ซึ่งเป็นที่พักอาศัยและที่ทำการของนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในลอนดอน โดยมีการเลี้ยงแมวอยู่ในอาคารสำนักงานของรัฐบาลอังกฤษไว้เพื่อจับหนูมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 แต่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัดกลับไปถึงทศวรรษปี 1920 เท่านั้น แม้ว่ามีแมวตัวอื่น ๆ เคยประจำในบ้านถนนดาวนิง แต่แมวตัวแรกที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนูอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอังกฤษก็คือแลร์รีใน ค.ศ. 2011 โดยแมวตัวอื่น ๆ ได้รับการตั้งชื่อตำแหน่งนี้ในแวดวงนักข่าวสื่ออังกฤษอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น ในค.ศ. 2004 การศึกษาวิจัยพบว่ามุมมองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อหัวหน้าแมวจับหนูไม่ขาดจากการแบ่งฝ่ายทางการเมือง
ประวัติ
[แก้]มีหลักฐานว่ามีแมวอาศัยอยู่ในอาคารสำนักงานของรัฐบาลอังกฤษตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8[5] เมื่อพระคาร์ดินัลโธมัส โวลซีย์ วางแมวไว้ข้างตัวขณะทำหน้าที่ตุลาการในฐานะประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษ[6] หากเปิดดูเอกสารบันทึกย้อนหลังไปถึงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2472[7][8] เป็นช่วงเวลาที่เอ.อี. บานแฮมประจำการอยู่ที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้ผู้ดูแลสำนักงาน "เบิกเงินสดย่อย 1 เพนนี[b] ต่อวันเพื่อเลี้ยงแมวที่มีประสิทธิภาพ"[9] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 เพิ่มเงินเป็น 1 ชิลลิง 6 เพนนี[c] (18 เพนนี) ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 2.57 เพนนีต่อวัน) เมื่อถึงศตวรรษที่ 21 มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับแมวจับหนู 100 ปอนด์ต่อปี[10] แมวไม่จำเป็นต้องเป็นของนายกรัฐมนตรีที่กำลังดำรงตำแหน่ง และมีโอกาสน้อยมากที่แมวจับหนูใด ๆ จะเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งพร้อมกับการเริ่มวาระของนายกรัฐมนตรี[11] แมวที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในบ้านเลขที่ 10 คือปีเตอร์ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งมานานกว่า 16 ปีภายใต้นายกรัฐมนตรี 5 คน ได้แก่เคลเมนต์ แอตต์ลี วินสตัน เชอร์ชิล แอนโทนี อีเดน ฮาโรลด์ แมคมิลแลน และ อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์[7]
แลร์รีคือแมวที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ ค.ศ. 2011[12] และเป็นแมวตัวแรกที่ได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ[13] ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนคือซีบิล หยุดดำรงตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ซีบิลซึ่งเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2007 ถือเป็นแมวจับหนูตัวแรกในรอบสิบปีหลังจากการเกษียณอายุของฮัมฟรีย์ แมวดำรงตำแหน่งตัวก่อนในปี ค.ศ. 1997 ซีบิลมีเจ้าของคือ อลิสแตร์ ดาร์ลิง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ซึ่งรัฐมนตรีคลังอาศัยอยู่เลขที่ 10 ถนนดาวนิง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กอร์ดอน บราวน์ อาศัยอยู่ที่ เลขที่ 11 ถนนดาวนิง ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า[14][15] มีรายงานว่าซีบิลไม่ได้อาศัยอยู่ต่อในลอนดอนเป็นเวลานาน และถูกส่งกลับไปยังสกอตแลนด์เพื่ออาศัยอยู่กับเพื่อนของครอบครัวดาร์ลิง ซีบิลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[16][17]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 มีรายงานพบเห็นหนู "วิ่งหน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิงเป็นครั้งที่สองระหว่างการรายงานข่าวทางทีวี" ตามรายงานของช่องไอทีเอ็น[18] เนื่องจากในขณะนั้นบ้านเลขที่ 10 ไม่มีแมวดำรงตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนู โฆษกของนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ไม่มีแผน" ที่จะนำแมวตัวใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหานี้[19] ในวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์รายงานว่าโฆษกกล่าวว่ามี "ฝ่ายสนับสนุนการมีแมว" ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การคาดเดาว่าอาจมีการนำแมวตัวใหม่เข้ามาเพื่อจัดการกับปัญหานี้จริง ๆ[19] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีรายงานว่าได้มีการนำแมวชื่อ "แลร์รี" มาเลี้ยงภายในบ้านเลขที่ 10[20] ลอนดอนอีฟนิงสแตนดาร์ด รายงานว่า เดวิด แคเมอรอน และครอบครัวของเขาเลือกแมวตัวนี้จากบ้านแมวและสุนัขแบทเทอร์ซี[20]
ในอดีตมักมีแมวดำรงตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนูทับซ้อนกันหรือถูกแบ่งเข้ามา และตำแหน่งดังกล่าวมักว่างอยู่เป็นระยะเวลานาน แลร์รีเป็นหัวหน้าแมวจับหนูเพียงตัวเดียวที่มีรายชื่ออยู่ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับบ้านเลขที่ 10[13]
งานศึกษาวิจัยการแบ่งฝ่ายทางการเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2547 โรเบิร์ต ฟอร์ด นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รายงานผลการสำรวจยูกอฟเกี่ยวกับปฏิกิริยาเอนเอียงทางการเมืองต่อแมวที่อาศัยในบ้านเลขที่ 10 โดยนักสำรวจแสดงรูปภาพของฮัมฟรีย์ หัวหน้าแมวจับหนูที่ได้รับการแต่งตั้งโดยมาร์กาเรต แทตเชอร์ และบอกว่าเขาเป็นแมวของแทตเชอร์หรือแมวของโทนี แบลร์ ผลสำรวจปรากฎว่าผู้คนชื่นชอบแมวแบ่งตามพรรคการเมืองที่ตนสนับสนุน โดยผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคอนุรักษนิยม ชอบแมวมากกว่ามากเมื่อบอกว่าเป็นแมวของแทตเชอร์ และผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคแรงงาน ชอบแมวมากกว่ามากเมื่อบอกว่าเป็นแมวของแบลร์ ฟอร์ดสรุปว่าการแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาต่อทุกสิ่งที่นักการเมืองทำ ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม คล้ายกับกระบวนการคิดเชิงเทิดทูน (และ "ปรากฎการณ์หางแฉก" แบบย้อนกลับ (forked tail effect)) ที่นักจิตวิทยาสังเกตได้[21]
รายชื่อหัวหน้าแมวจับหนู
[แก้]ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | นายกรัฐมนตรี | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
รูฟัสแห่งอังกฤษ (ได้ชื่อเล่นว่า "เทรเชอรี บิลล์")[22][23] | 1924 | ป. 1930[23] | แรมซีย์ แมกดอนัลด์ | [24] |
ปีเตอร์ | 1929[d] | 1946[7] | สแตนลีย์ บอลดวิน, แรมซีย์ แมกดอนัลด์, เนวิล เชมเบอร์ลิน, วินสตัน เชอร์ชิล, เคลเมนต์ แอตต์ลี | [7][11] |
มิวนิก เมาเซอร์ | 1937–40 | 1943 | เนวิล เชมเบอร์ลิน, วินสตัน เชอร์ชิล | [25][26] |
เนลสัน | ทศวรรษ 1940 | วินสตัน เชอร์ชิล | [26][27] | |
ปีเตอร์ที่ 2 | 1946 | 1947 | เคลเมนต์ แอตต์ลี | [7] |
ปีเตอร์ที่ 3 | 1947 | 1964 | เคลเมนต์ แอตต์ลี, วินสตัน เชอร์ชิล, แอนโทนี อีเดน, ฮาโรลด์ แมคมิลแลน, อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์ | [7] |
พีตา | 1964 | ป. 1976 | อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์, ฮาโรลด์ วิลสัน, เอ็ดเวิร์ด ฮีธ | [7] |
วิลเบอร์ฟอร์ซ | 1973 | 1987 | เอ็ดเวิร์ด ฮีธ, ฮาโรลด์ วิลสัน, จิม คัลลาฮาน, มาร์กาเรต แทตเชอร์ | [28][29] |
ฮัมฟรีย์ | 1989 | 1997 | มาร์กาเรต แทตเชอร์, จอห์น เมเจอร์, โทนี แบลร์ | [30] |
ซีบิล | 2007 | 2009 | กอร์ดอน บราวน์ | [15][16][31] |
แลร์รี | 2011 | ปัจจุบัน | เดวิด แคเมอรอน, เทรีซา เมย์, บอริส จอห์นสัน, ลิซ ทรัสส์, ริชี ซูแน็ก, เคียร์ สตาร์เมอร์ | [32] |
เฟรยา | 2012 | 2014 | เดวิด แคเมอรอน | [33] |
เส้นเวลา
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Purr-fect ending fur Humphrey!". BBC News. 25 November 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "Home Office cat history revealed". BBC News. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ "100 p.c. income rise for Home Office cat—and it's official". Liverpool Daily Post. 6 May 1964. p. 6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 June 2023.
- ↑ "No mice attend: British bury 'Home Office' cat". The Decatur Daily Review. Associated Press. 14 March 1964. p. 8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.
- ↑ Davies, Caroline (24 November 1997). "More questions over how No 10 handled the kitty". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2007. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ Van Vechten, Carl (1922). "The Cat and the Law". The Tiger in the House. Alfred A. Knopf. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2022 – โดยทาง Bartleby.com.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 "Home Office cat history revealed". BBC News. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "The official Home Office cat". The National Archives. 1929–1976. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "Tale of Home Office cat". Metro. Associated Newspapers. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
- ↑ Millward, David (15 March 2005). "Humphrey... the Downing Street dossier". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2005. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ 11.0 11.1 Fenton, Ben (4 January 2005). "Cats that left a mark in the corridors of power". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2005. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ Kraemer, Daniel; Sleator, Laurence (July 24, 2019). "The new PM's first job: Impress the cat". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 24, 2019.
- ↑ 13.0 13.1 "Larry, Chief Mouser to the Cabinet Office". 10 Downing Street. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2013. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
- ↑ "No. 10 has its first cat since Humphrey". Reuters. 12 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2022. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ 15.0 15.1 Nick, Assinder (12 September 2007). "No 10 gets new feline first lady". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2017. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ 16.0 16.1 Crichton, Torcuil (29 July 2009). "Darling's cat Sybil dies after a short illness". The Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ McSmith, Andy (29 July 2009). "Farewell to the original New Labour cat". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "Another rat spotted on steps of Number 10". ITN. MSN. 24 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ 19.0 19.1 ""Pro-cat faction" urges Downing Street rat rethink". BBC News. 25 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ 20.0 20.1 Woodhouse, Craig (14 February 2011). "Larry the tabby lands No10 job as rat catcher". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ Ford, Robert (2004). "Of mousers and men: how politics colours everything we see". Sex, Lies and the Ballot Box: 50 Things You Need To Know About British Elections. London: Biteback Publishing. ISBN 1849548250.
- ↑ "Larry the cat joins David Cameron in Downing Street". BBC.com. 15 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019.
During the 1920s, Labour Prime Minister Ramsay MacDonald's cat - a renowned rat-catcher - had the rather regal title of Rufus of England, but was nicknamed "Treasury Bill".
- ↑ 23.0 23.1 "The Cat that Looked at a Chancellor". National Library of Australia. Sunday Mail (Adelaide). 5 July 1930. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019.
- ↑ Campbell, Mel (19 May 2010). "'Miaow, Prime Minister': the bureaucats of Downing Street". Crikey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.(ต้องรับบริการ)
- ↑ Irving, David (2001). Churchill's War Volume II: Triumph in Adversity. Focal Point Publications. p. 833. ISBN 1-872197-15-9.
- ↑ 26.0 26.1 "Riddles, Mysteries, Enigmas". Finest Hour. The Churchill Centre (110). Spring 2001.
- ↑ "Riddles, Mysteries, Enigmas". Finest Hour. The Churchill Centre (109). Winter 2000–2001.
- ↑ Roberts, Patrick. "Wilberforce". Purr 'n' Fur: Famous Felines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
- ↑ Associated Press (May 20, 1988). "Wilberforce the Cat, Mouser to 4 British Leaders, Dead at 15". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
- ↑ "Humphrey the Cat" (PDF). Cabinet Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 October 2007. สืบค้นเมื่อ 12 March 2008.
- ↑ "Morning press briefing from 11 September 2007". 10 Downing Street, Government of the United Kingdom. 11 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2008. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "History of 10 Downing Street". UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2017.
- ↑ Dearden, Lizzie (9 November 2014). "George Osborne's family cat Freya sent away from Downing Street to Kent". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2014. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.