ข้ามไปเนื้อหา

หอแต๋วแตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หอ แต๋ว แตก)
หอแต๋วแตก
กำกับพจน์ อานนท์
เขียนบทพจน์ อานนท์
ธรรมนูญ สกุลบุญถนอม
อำนวยการสร้างเจริญ เอี่ยมพึ่งพร
นักแสดงนำ
กำกับภาพปัญญา นิ่มเจริญพงษ์
ตัดต่อสุนิตย์ อัศวนิกุล
เหมือนฝัน อุปถัมภ์
ดนตรีประกอบGiant Wave
บริษัทผู้สร้าง
ฟิล์ม กูรู (พจน์ อานนท์)
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
วันฉาย8 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ทำเงิน51 ล้านบาท [1]
ต่อจากนี้หอแต๋วแตก แหกกระเจิง
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

หอแต๋วแตก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตก กำกับโดยพจน์ อานนท์ สร้างและจัดจำหน่ายโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น นำแสดงโดย จาตุรงค์ มกจ๊ก, เอกชัย ศรีวิชัย, ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ปานวาด เหมมณี, สุคนธวา เกิดนิมิตร, วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย, รัชชานนท์ สุขประกอบ และ นคริน กังวานโชคชัย ร่วมด้วยนักแสดงสมทบอย่าง ธนากร ใจปินตา, เกรียงศักดิ์ ณ เชียงใหม่, ชัยวัฒน์ ทองแสง และ ศิววัชร์ ทรัพย์ภิญโญ[2]

อำนวยการสร้างโดย เจริญ เอี่ยมพึ่งพร อำนวยการผลิตโดย อภิรดี เอี่ยมพึ่งพร, เกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร กำกับภาพโดย ปัญญา นิ่มเจริญพงษ์ กำกับศิลป์โดย กิตติชาติ ใจสบาย, พงศกร ชัยลอม, จิราวรรณ เชื้อโพล้ง ลำดับภาพโดย สุนิตย์ อัศวนิกุล, เหมือนฝัน อุปถัมภ์ คัดเลือกนักแสดงโดย พจน์ อานนท์ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย พจน์ อานนท์, ทิณกร แสงศรี ดนตรีและเพลงประกอบโดย Giant Wave และภาพยนตร์เรื่องทำรายได้ทั้งหมด 51 ล้านบาท

หอแต๋วแตก เป็น 1 ใน 100 หนังไทยแห่งทศวรรษจากการสำรวจของนิตยสารไบโอสโคป [3]

ความสำเร็จดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเป็นแฟรนไชน์ภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย ด้วยรายได้ 744 ล้านบาทจากทั้งหมด 9 ภาค

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เจ๊แต๋ว หรือพัชราภา ( จาตุรงค์ พลบูรณ์) เจ๊การ์ตูน (ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์) และ มดดำ (เอกชัย ศรีวิชัย) สาม กะเทยรุ่นใหญ่ อดีตเจ้าของค่ายมวยแต่ถูกโกง จึงมาร่วมลงทุนสร้างหอพักชาย แต่แล้ววันหนึ่ง เกิดมีคนมาเสียชีวิตในหอ กลายเป็นผีออกอาละวาด ซึ่งทั้งสามคนจะต้องจัดการกับผีในหอ

นักแสดง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2550 siamzone.com
  2. หอแต๋วแตก pantip.com
  3. "นิตยสารไบโอสโคปเผยรายชื่อ "100หนังไทยแห่งทศวรรษ" (2543-2552)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]