ข้ามไปเนื้อหา

สุทิน คลังแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุทิน คลังแสง
สุทิน ในปี พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567
(1 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปภูมิธรรม เวชยชัย
ประธานคณะกรรมการประสานงานฝ่ายค้านในระบบรัฐสภาในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[1] – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 37 วัน)
ผู้นำฝ่ายค้านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชลน่าน ศรีแก้ว
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ถัดไปปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 186 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดมหาสารคาม
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 361 วัน)
ก่อนหน้ากุสุมาลวตี ศิริโกมุท
ถัดไปรัฐ คลังแสง
เขตเลือกตั้งเขต 5
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสฉวีวรรณ คลังแสง
บุตรรัฐ คลังแสง
ฐาธิปัตย์ คลังแสง
ที่อยู่อาศัยมหาสารคาม ประเทศไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมคธ
อาชีพอาจารย์ นักการเมือง
ลายมือชื่อ

สุทิน คลังแสง ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ทิน หรือ บิ๊กทิน เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็นพลเรือนคนแรกของไทยที่ดำรงตำแหน่งนี้โดยไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปด้วย[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดมหาสารคาม อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (ประธานวิปฝ่ายค้าน) อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดมหาสารคาม

ประวัติ

[แก้]

สุทิน คลังแสง เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สมรสกับฉวีวรรณ คลังแสง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ มีบุตร 2 คน คือ รัฐ คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม และนางสาวฐาธิปัตย์ คลังแสง[3]

สุทินสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Doctor of Philosophy Magadh University ประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากสถาบันพระปกเกล้า

การทำงาน

[แก้]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุทินเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 และ 2548 ต่อมาจึงได้มาสมัครในระบบเขตเลือกตั้งที่จังหวัดมหาสารคาม ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23[4]

ในปี พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[5]

สุทินเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำหน้าที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของเมืองไทยในฐานะผู้นำฝ่ายค้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจการตรวจสอบและการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในหลายครั้ง เช่น การอภิปรายคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี การกล่าวอภิปรายในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 การอภิปรายระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การอภิปรายพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 13 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง]

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9[7] และได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้ 29 ที่นั่ง คือผู้สมัครของพรรคในลำดับที่ 1-29

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

[แก้]

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งถือเป็นพลเรือนที่ดำรงตำแหน่งนี้โดยมิได้ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกของประเทศไทย[8] สองวันต่อมาเขาพร้อมด้วย เศรษฐา ทวีสิน และปานปรีย์ พหิทธานุกร ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ว่าที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ว่าที่ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ว่าที่ผู้บัญชาการทหารเรือ ณ โรงแรมโรสวู้ด กรุงเทพ ถนนเพลินจิต[9] หลังการพูดคุยเขากล่าวว่าจะปรับการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 อีกทั้งจะมีการปรับจำนวนนายพลให้ลดลงอีกด้วย[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร". คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔). กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: 13. สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024 – โดยทาง คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ.
  2. สุทิน คลังแสงพลเรือนคนแรกที่ไม่ใช่นายกฯ ตรวจแถวเกียรติยศ3เหล่าทัพ
  3. "ทำความรู้จัก "สุทิน คลังแสง" สส.มือเก๋า นั่ง รมว.กลาโหม "ครม.เศรษฐา 1"". pptvhd36.com. 2023-08-29.
  4. กมธ.องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส.ผ. เลือก นายสุทิน คลังแสง เป็นประธาน[ลิงก์เสีย]
  5. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566
  8. "'สุรชาติ บำรุงสุข' เปิดโจทย์รับ ว่าที่ รมว.กลาโหม ที่ชื่อ 'สุทิน คลังแสง' พลเรือนที่ไม่ใช่นายกฯคนแรก". prachatai.com.
  9. "ชื่นมื่น "เศรษฐา" ควง "ปานปรีย์-สุทิน" พบบิ๊กเหล่าทัพ คุยนโยบายทำงานร่วมกัน". bangkokbiznews. 2023-09-03.
  10. ""เศรษฐา" ควงคู่ "สุทิน" ถกชื่นมื่น 3 ว่าที่ผบ.เหล่าทัพ ลดนายพล-เกณฑ์ทหาร". www.thairath.co.th. 2023-09-04.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


ก่อนหน้า สุทิน คลังแสง ถัดไป
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 63)
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 - 4 กันยนยน พ.ศ.2567)
ภูมิธรรม เวชยชัย