สี่สิ่งเก่า
สี่สิ่งเก่า หรือ สี่เก่า (จีนตัวย่อ: 四旧; จีนตัวเต็ม: 四舊; พินอิน: sì jiù) เป็นคำเรียกการจัดประเภทโดยยุวชนแดงระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเรียกองค์ประกอบของวัฒนธรรมจีนก่อนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนที่จะต้องทำลายทิ้ง สี่สิ่งเก่าได้แก่ 'ความคิดเก่า', 'วัฒนธรรมเก่า', 'ธรรมเนียมเก่า' และ 'นิสัยเก่า' (旧思想; jiù sīxiǎng, 旧文化; jiù wénhuà, 旧风俗; jiù fēngsú และ 旧习惯; jiù xíguàn ตามลำดับ)[1] ระหว่างการสังหารหมู่สิงหาแดงในปี 1966 ไม่นานหลังจุดเริ่มต้นการปฏิวัติวัฒนธรรม ขบวนการทำลายสี่เก่าของยุวชนแดงได้เริ่มต้นขึ้นในปักกิ่ง[2][3] แนวคิดที่ว่าวัฒนธรรมจีนเป็นเหตุให้เศรษฐกิจจีนถดถอยและจะต้องถูกปฏิรูปนั้นอาจมีที่มาบางส่วนตั้งแต่ขบวนการสี่พฤษภาคม (1919) และยังได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าอาณานิคมในสมัยสงครามกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง[4]
สถานที่และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ถูกจัดว่าเป็นสิ่งเก่าถูกบุกรุกและทำลาย เช่น สุสานขงจื๊อ ถูกโจมตีในเดือนพฤสจิกายน 1966 โดยยุวชนแดงจากมหาวิทยาลัยธรรมดาปักกิ่ง[5][6] ศพของผู้สืบทอดขงจื๊อลำดับที่ 76 ถูกขุดออกมาจากหลุมศพ เปลื้องผ้า และแขวนคอจากต้นไม้ด้านหน้าศาลเจ้าของสุสาน[7] ศพของจักรพรรดิว่านลี่ถูกขุดจากสุสานจักรพรรดิหมิงและถูกนำมาประจานด้านหน้าสุสาน ก่อนเผาทำลายโดยยุวชนแดง[8]
รัฐบาลจีนไม่ได่สนับสนุนการทำลายวัตถุและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเก่าอย่างเป็นทางการ รัฐบาลยังให้การปกป้องแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง มาหวังตุย, พระใหญ่เล่อชาน และ กองทัพทหารดินเผา ไม่ให้โดนทำลายล้าง[4] เมื่อครั้นทราบข่าวว่ายุวชนแดงกำลังเตรียมการบุกพระราชวังต้องห้าม โจว เอินไหล ออกคำสั่งให้ปิดประตูทางเข้าพระราชวังต้องห้ามทั้งหมด รวมถึงสั่งการให้กองทัพปลดแอกประชาชนประจำการเตรียมรัยมือกับยุวชนแดง ในภายหลัง โจว เอินไหล ยังป้องกันไม่ให้ปักกิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "นครบูรพาสีแดง" และป้องกันไม่ให้สิงโตจีนหน้าจัตุรัสเทียนอันเหมินถูกแทนที่ด้วยรูปปั้นเหมาได้สำเร็จ[9] ในระยะหลัง ๆ ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้างที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีน, วรรณกรรมจีน, จิตรกรรมจีน และวัดจีน ล้วนถูกทำลายไปด้วย
พรรคคอมมิวนิสต์ไม่เคยตีพิมพ์สถิติทางการว่าด้วยมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ไม่เกินปี 1978 เรื่องราวการเสียชีวิตและการทำลายล้างจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมรั่วไหลจากจีนและเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก[10]
แม้ในระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมจนถึงหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม ได้มีความพยายามมากมายที่จะอนุรักษ์โบราณวัตถุต่าง ๆ จากการถูกทำลาย เช่น เจ้าหน้าที่รัฐในเซี่ยงไฮ้ซึ่งทำการตรวจค้นบ้านของยุวชนแดง ย้ายโบราณวัตถุไปเก็บยังที่ปลอดภัย และบันทึกวัตถุที่ขนย้ายไม่ได้ไว้อย่างละเอียดเผื่อการบูรณะทดแทนในภายหลัง[11] หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ได้มีความพยายามในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรมผ่านโครงการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงที่รัฐสนับสนุน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Spence, Jonathan D. (1999) [1990]. The Search for Modern China (2nd ill. ed.). New York: W. W. Norton. pp. 575. ISBN 978-0-393-97351-8.
- ↑ Wang, Youqin (2001). "Student Attacks Against Teachers: The Revolution of 1966" (PDF). University of Chicago. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ Law, Kam-yee, บ.ก. (2003). The Chinese cultural revolution reconsidered: beyond purge and holocaust. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-73835-1.
- ↑ 4.0 4.1 Gao, Mobo (2008). The Battle for China's Past: Mao and the Cultural Revolution. Pluto Press. pp. 21–22.
- ↑ Ma, Aiping; Si, Lina; Zhang, Hongfei (2009), "The evolution of cultural tourism: The example of Qufu, the birthplace of Confucius", ใน Ryan, Chris; Gu, Huimin (บ.ก.), Tourism in China: destination, cultures and communities, Routledge advances in tourism, Taylor & Francis US, p. 183, ISBN 978-0-415-99189-6
- ↑ Asiaweek, Volume 10
- ↑ Jeni Hung (April 5, 2003). "Children of confucius". The Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-03-04.
- ↑ Melville, Sheila (7 Sep 2011). "China's Reluctant Emperor". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 Apr 2024.
- ↑ Macfarquhar, Roderick; Schoenhals, Michael (2008). Mao's Last Revolution. Harvard University Press. pp. 118–119. ISBN 9780674027480.
- ↑ Roberts, Richard H. [1995] (1995). Religion and the Transformations of Capitalism. Routledge publishing. ISBN 0-415-11917-0
- ↑ Ho, Denise Y. (2011). "Revolutionizing Antiquity: The Shanghai Cultural Bureaucracy in the Cultural Revolution, 1966–1968". The China Quarterly. 207: 691–692. doi:10.1017/S0305741011000713. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.
- ↑ Dolan, Thomas (2009). Berkshire Encyclopedia of China: Modern and Historic Views of the World's Newest and Oldest Global Power, Volume 5. Berkshire Publishing Group, 2009. pp. 108–109.