ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเกาหลีเหนือ

พิกัด: 40°N 127°E / 40°N 127°E / 40; 127
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

40°N 127°E / 40°N 127°E / 40; 127

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

  • 조선민주주의인민공화국 (เกาหลี)
  • Chosŏn Minjujuŭi Inmin Konghwaguk
คำขวัญ
강성대국 (โดยพฤตินัย)
"Kangsŏngdaeguk"
("ชาติอันเกรียงไกรและรุ่งเรือง")
เพลงชาติ
애국가
"แอกุกกา"
("เพลงรักชาติ")
ดินแดนที่ควบคุมโดย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนดินแดนอ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมเป็นสีเขียวอ่อน
ดินแดนที่ควบคุมโดย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนดินแดนอ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมเป็นสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เปียงยาง
39°2′N 125°45′E / 39.033°N 125.750°E / 39.033; 125.750
ภาษาราชการเกาหลี (Munhwaŏ)[1]
อักษรทางการโชซ็อนกึล[2]
ศาสนา
รัฐอเทวนิยม
เดมะนิม
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐพรรคเดียวตามแบบชูเช ในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบเผด็จการครอบครัวระบบคอมมิวนิสต์[3][4][5][6]
คิม จ็อง-อึน[a]
ชเว รยอง-แฮ[b]
พัก พอง-จู
คิม ต็อก-ฮุน
พัก แท-ซ็อง
สภานิติบัญญัติสมัชชาประชาชนสูงสุด
ก่อตั้ง
3 ตุลาคม ค.ศ. 1945
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
• ก่อตั้งประเทศเกาหลีเหนือ
9 กันยายน ค.ศ. 1948
27 ธันวาคม ค.ศ. 1972
17 กันยายน ค.ศ. 1991
27 เมษายน ค.ศ. 2018
พื้นที่
• รวม
120,540 ตารางกิโลเมตร (46,540 ตารางไมล์)[7] (อันดับที่ 97)
0.11
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
25,368,620[8] (อันดับที่ 55)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2008
24,052,231[9]
212 ต่อตารางกิโลเมตร (549.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 45)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2014 (ประมาณ)
• รวม
40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
1,800 ดอลลาร์สหรัฐ[11]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2017 (ประมาณ)
• รวม
30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[12][13]
1,300 ดอลลาร์สหรัฐ[13]
สกุลเงินวอน (₩) (KPW)
เขตเวลาUTC 9 (เวลาเปียงยาง[14])
รูปแบบวันที่
  • ปป, ปปปป년 ดด월 วว일
  • ปป, ปปปป/ดด/วว (ค.ศ.–1911 / ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์ 850[15]
รหัส ISO 3166KP
โดเมนบนสุด.kp[16]
บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง

เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea; เกาหลี북한; ฮันจา北韓) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; เกาหลี조선민주주의인민공화국; ฮันจา朝鮮民主主義人民共和國) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือเปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย

คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่น​หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1905 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโดยสหภาพโซเวียตและสหรัฐใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดที่กรุงโซลใน ค.ศ. 1948 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน ค.ศ. 1950 ก่อนจะทำความตกลงสงบศึกชั่วคราวใน ค.ศ. 1953 แต่ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันและกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด[17] ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน ค.ศ. 1991[18]

เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคแรงงานเกาหลี[19][20][21][22] รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิล-ซ็อง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิล-ซ็องถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ค.ศ. 1972[23] แม้คิม อิล-ซ็องจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1955[24] หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในประเทศ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน[25] โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จ็อง-อิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songun) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล[26]

องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินแบบเบ็ดเสร็จ[20][21][27][28][29] โดยมีลัทธิบูชาบุคคลต่อครอบครัวคิมและเป็นประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมืองต่ำที่สุดในโลก[30] แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้[31] เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก[32][33] โดยมีบุคลากรทางทหารและกึ่งทหารสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีบุคลากรประจำการ กองหนุน และกำลังกึ่งทหารรวม 7.769 ล้านคน หรือประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด กองทัพประจำการซึ่งมีทหาร 1.28 ล้านนายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบด้วย 5% ของประชากรทั้งหมด ทั้งเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่[34] การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีได้รับการไต่สวนโดยสหประชาชาติ และการวิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวมถึงฮิวแมนไรท์วอทช์[35][36][37] นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่ม 77 และการประชุมภูมิภาคอาเซียน ปัญหาหลักของเกาหลีเหนือในปัจจุบันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน[38] ระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ ความยากจน และการขาดแคลนอาหาร โดยในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1994−98 มีประชาชนเสียชีวิตจากความอดอยากหลายแสนคน

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แผนที่ประเทศเกาหลีเหนือ

คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร และกว้าง 300 กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทรเกาหลี พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูน ทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขาตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว

คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นขนานที่ 38 เหนือ คือ สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางตอนใต้ และเกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร

เกาหลีเหนือมีสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปและภูมิอากาศแบบมหาสมุทรผสมผสานกัน แต่พื้นที่ประเทศส่วนใหญ่ประสบกับสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปที่ชื้น ฤดูหนาวมีอากาศแจ่มใสสลับกับพายุหิมะอันเป็นผลมาจากลมเหนือและลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดมาจากไซบีเรีย ฤดูร้อนมักจะเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด ชื้นที่สุด และฝนตกมากที่สุดของปี เนื่องจากลมมรสุมใต้และตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดพาอากาศชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของฝนทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูกาลเปลี่ยนผ่านระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยรายวันสำหรับเปียงยางอยู่ที่ -3 และ -13 °C (27 และ 9 °F)[39] ในเดือนมกราคม และ 29 และ 20 °C (84 และ 68 °F) ในเดือนสิงหาคม[40]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคประวัติศาสตร์

[แก้]

ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโคกูรยอ ราชอาณาจักรแพ็กเจ และราชอาณาจักรชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร

จุดลงนามฝ่ายเกาหลีเหนือ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐได้เข้าไปปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลี แต่ทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมชาติเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศสนับสนุนดินแดนในส่วนยึดครองของตน โดยเกาหลีใต้เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ส่วนเกาหลีเหนือเรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

ยุคเอกราช

[แก้]
ประชาชนเกาหลีเหนือสักการะรูปปั้นของ คิม อิล-ซ็อง และ คิม จ็อง-อิล อดีตผู้นำสูงสุดของประเทศ

หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล-ซ็อง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ. 2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จ็อง-อิล จึงได้ดำรงตำแหน่งสืบมาจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2554 คิม จ็อง-อึน ผู้เป็นบุตรชายคนสุดท้องได้สืบทอดอำนาจเป็นผู้นำคนปัจจุบัน

การเมืองการปกครอง

[แก้]

บริหาร

[แก้]

เกาหลีเหนือปกครองโดย เกาหลีเหนือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปกครองโดยพรรคแรงงานแห่งเกาหลี มีประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ และมีคิม อิล-ซ็องและผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันคือนายคิม จ็อง-อึน เป็นผู้นำประเทศ

เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล-ซ็อง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง

เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2491 โดยมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จ็อง-อิล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จ็อง-อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จ็อง-อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อ 5 กันยายน 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า

อนึ่ง สภาประชาชนสูงสุดมีมติแต่งตั้งนายคิม ย็อง-นัม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ เมื่อ 3 กันยายน 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้

  1. นาย คิม จ็อง-อิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission)
  2. นาย คิม ย็อง-นัม ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly)
  3. นาย ปาร์ก ปงจู รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam
  4. นาย แพ็ก นัมซุน ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 นายคิม จ็อง-อิล ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่บนขบวนรถไฟเตรียมเดินทางไปตรวจพื้นที่ภาคสนาม จากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายในที่สุด ทำให้นาย คิม จอง อึน บุตรชายคนที่ 3 จะขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือในฐานะทายาททางการเมืองต่อไป

บริหาร

[แก้]

ตุลาการ

[แก้]

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]
ภาพประวัติศาสตร์ของสหรัฐและเกาหลีเหนือ โดยประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ พบกับ คิม จ็อง-อึน ในการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ–สหรัฐ พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมคาเปลลา เกาะเซนโตซา ประเทศสิงคโปร์

เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นหลักและมักจะติดต่อกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยด้วยความจำเป็นเท่านั้น สถานทูตต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับการรับรองจากเกาหลีเหนือนั้นตั้งอยู่ในปักกิ่งมากกว่าในเปียงยาง[41] นทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เกาหลีเหนือได้ดำเนินตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ สร้างความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก[42] และเข้าร่วมขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และ 1990 นโยบายต่างประเทศได้เข้าสู่ความวุ่นวายเป็นผลการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ปิดสถานทูตหลายแห่ง ในเวลาเดียวกัน เกาหลีเหนือพยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตลาดเสรีที่พัฒนาแล้ว เกาหลีเหนือเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1991 ร่วมกับเกาหลีใต้[43] เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, กลุ่ม 77 และฟอรัมภูมิภาคอาเซียน

เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนซึ่งมักถูกมองว่าเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ[44] แต่ความสัมพันธ์ได้ตึงเครียดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากความกังวลของจีนเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้นอีกครั้งและใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจากนายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเยือนเกาหลีเหนือในเดือนเมษายน 2019[45] ในปี 2015 เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 166 ประเทศและสถานทูตใน 47 ประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ทางการเมือง เกาหลีเหนือไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอาร์เจนตินา บอตสวานา เอสโตเนีย ฝรั่งเศส[46] อิรัก อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐ ณ เดือนกันยายน 2017 ฝรั่งเศสและเอสโตเนียเป็นสองประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ประกาศจะไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ[47] เกาหลีเหนือยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สังคมนิยมกับเวียดนาม ลาว ตลอดจนกับกัมพูชา[48]

ก่อนหน้านี้ชาวโลกตะวันตกมองเกาหลีเหนือว่าเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการวางระเบิดย่างกุ้งปี 1983 และการทิ้งระเบิดในปี 1987 ของสายการบินเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2008 สหรัฐได้ถอดเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายหลังจากที่เปียงยางตกลงที่จะร่วมมือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของตน[49] เกาหลีเหนือถูกกำหนดใหม่ให้เป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้ายโดยสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของ ดอนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2017[50] นอกจากนี้ การลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นอย่างน้อย 13 คนโดยเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับญี่ปุ่น[51] ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่มาเยือนประเทศเกาหลีเหนือและได้เข้าพบกับผู้นำคิมในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018 เพื่อหาข้อยุติร่วมกันในโครงการนิวเคลียร์ มีการลงนามข้อตกลงระหว่างสองประเทศที่สนับสนุนปฏิญญาพันนุนจ็อมปี 2017 ซึ่งลงนามโดยเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยให้คำมั่นว่าจะทำงานเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี พวกเขาพบกันที่ฮานอยตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2019 แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ทรัมป์ได้พบกับคิมพร้อมกับมุนแจอินที่เขตปลอดทหารเกาหลี อย่างไรก็ตาม การเจรจาสันติภาพระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐได้ยุติลงในเวลาต่อมา เนื่องจากเกาหลีเหนือยืนกรานที่จะไม่ยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์[52]

ความสัมพันธ์กับประเทศเกาหลีใต้

[แก้]
คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ และ มุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ร่วมลงนามใน ปฏิญญาพันมุนจ็อม

เขตปลอดทหารของเกาหลีกับเกาหลีใต้ยังคงเป็นพรมแดนที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนามากที่สุดในโลก[53] แม้จะมีความขัดแย้งในอุดมการณ์เรื้อรังมายาวนาน และจากการรุกรานของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ทำให้ทั้งสองประเทศยังอยู่ในภาวะสงคราม และแม้จะมีการเจรจาสงบศึกชั่วคราว แต่ทั้งสองชาติยังจริงจังกับการเจรจาเพื่อสันติอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน[54] นโยบายของเกาหลีเหนือคือการแสวงหาการรวมชาติโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ผ่านโครงสร้างของรัฐบาลกลางที่รักษาความเป็นผู้นำและระบบของแต่ละฝ่าย ในขณะที่เกาหลีใต้มิอาจเลี่ยงการแทรกแซงของสหประชาชาติโดนเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐได้ ในปี 1972 ทั้งสองเกาหลีเห็นพ้องต้องกันในหลักการเพื่อให้เกิดการรวมกันอีกครั้งโดยสันติวิธีและปราศจากการแทรกแซงจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1980 ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง ได้เสนอให้จัดตั้งสหพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเกาหลี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองประเทศยังคงดีอยู่จนถึงต้นทศวรรษ 1990 โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เกาหลีเหนือเสนอให้การช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยแก่เกาหลีใต้ แม้ว่าข้อเสนอจะได้รับการต้อนรับในขั้นต้น แต่การพูดคุยได้ยุติลงและไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสองประเทศยังได้จัดงานรวมตัวของญาติกว่า 92 ครอบครัวที่แยกจากกันนับตั้งแต่แบ่งแยกประเทศเป็นระยะ ๆ

การประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี พ.ศ. 2561 ในวันที่ 27 เมษายน เป็นการพบกันระหว่างผู้นำสองประเทศ นับเป็นการประชุมครั้งที่สามและครั้งแรกในรอบกว่าสิบปี มีจุดประสงค์เพื่อวางแผนการปลดอาวุธนิวเคลียร์บริเวณคาบสมุทรเกาหลี[55] โดยผู้นำสองประเทศร่วมลงนามใน ปฏิญญาพันมุนจ็อม โดยต้องการยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ[56]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]

ประเทศไทย และเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย - เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น และประเทศไทยยังมี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีประจำประเทศไทย คนปัจจุบันได้แก่ นายคิม เช พง (H.E. Mr. Kim Je Bong)[57]

กองทัพ

[แก้]
อนุสรณ์สถานทหารที่อนุสาวรีย์ มัน ซู-แด

กองทัพเกาหลีเหนือหรือกองทัพประชาชนเกาหลี (KPA) คาดว่าจะประกอบด้วยทหารประจำการ 1,280,000 นาย และกำลังสำรองและกำลังกึ่งทหาร 6,300,000 นาย ทำให้เป็นหนึ่งในสถาบันทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก[58] ด้วยกองทัพประจำการที่ประกอบด้วย 5% ของประชากร KPA จึงเป็นกำลังทหารประจำการที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย และสหรัฐ[59] ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายอายุ 17-54 ปีรับใช้ในกองทัพประจำ[60] และประมาณ 1 ในทุก ๆ 25 พลเมืองเป็นทหารเกณฑ์ การคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อเกาหลีเหนือทำให้กองทัพซื้อหรือพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้ยาก และยังคงต้องพึ่งพาวัสดุจากยุคสงครามเย็นที่ล้าสมัยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนโยบาย Songun ของเกาหลีเหนือ หรือนโยบาย "ทหารต้องมาก่อน" และจำนวนบุคลากรในกองกำลังติดอาวุธจำนวนมากกองทัพเกาหลีเหนือถูกมองว่าเป็นกำลังทหารที่น่าเกรงขาม[61] กองทัพ KPA แบ่งออกเป็น 5 เหล่า ได้แก่ Ground Force, Navy, Air Force, Special Operations Force และ Rocket Force คำสั่งของ KPA ขึ้นกับคณะกรรมาธิการทหารกลางของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีและคณะกรรมการกิจการรัฐอิสระ ซึ่งควบคุมกระทรวงกองทัพบก

ในบรรดาสาขาทั้งหมดของกองทัพเกาหลีเหนือ กองกำลังภาคพื้นดินเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยบุคลากรประมาณหนึ่งล้านนาย แบ่งออกเป็น 80 กองพลทหารราบ กองพลปืนใหญ่ 30 กองพลทหารปืนใหญ่ 25 กองพลสงครามพิเศษ 25 กองพลยานยนต์ 20 กองพันรถถัง 10 กอง และทหารรถถัง 7 นาย มีรถถัง 3,700 คัน รถหุ้มเกราะ 2,100 คัน และยานรบทหารราบ ปืนใหญ่ 17,900 ชิ้น ปืนต่อต้านอากาศยาน 11,000 กระบอก และขีปนาวุธต่อต้านรถถัง กองทัพอากาศคาดว่าจะมีเครื่องบินประมาณ 1,600 ลำ (ระหว่าง 545 - 810 ลำที่ทำหน้าที่ต่อสู้) ในขณะที่กองทัพเรือดำเนินการประมาณ 800 ลำ รวมถึงกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก[62] หน่วยปฏิบัติการพิเศษของ KPA ยังเป็นหน่วยกองกำลังพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

เกาหลีเหนือเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์[63] ในเดือนมกราคม 2018 การประเมินคลังอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออยู่ระหว่างระเบิด 15 ถึง 60 ลูก ซึ่งอาจรวมถึงระเบิดไฮโดรเจนด้วย ความสามารถในการจัดส่ง ให้บริการโดย Rocket Force ซึ่งมีขีปนาวุธจำนวน 1,000 ลูกที่มีพิสัยไกลถึง 11,900 กม. (7,400 ไมล์)[64]

จากการประเมินของเกาหลีใต้ในปี 2547 เกาหลีเหนือยังมีอาวุธเคมีจำนวนประมาณ 2,500–5,000 ตัน รวมถึงสารทำลายประสาท ตุ่มพอง เลือด และยาอาเจียน ตลอดจนความสามารถในการฝึกฝนและผลิตอาวุธชีวภาพ ได้แก่ แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ และอหิวาตกโรค จากผลการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธ เกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรภายใต้มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน

[แก้]

เกาหลีเหนือถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่ามีการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนที่แย่ที่สุดในโลก[65][66] รัฐบาลเกาหลีเหนือถูกเรียกขานว่าเป็น "หนึ่งในกลุ่มคนที่โหดร้ายที่สุดในโลก" โดย ฮิวแมนไรตส์วอตช์ เนื่องจากข้อจำกัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขา ประชากรเกาหลีเหนือได้รับการจัดการอย่างเข้มงวดโดยรัฐ และทุกด้านของชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคและการวางแผนของรัฐ[67] การจ้างงานได้รับการจัดการโดยพรรคการเมืองบนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือทางการเมือง และการเดินทางถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยกระทรวงความมั่นคงของประชาชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานข้อจำกัดที่รุนแรงเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคม การแสดงออก และการเคลื่อนไหว การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิต และการประหารชีวิต กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐเข้าจับกุมและคุมขังผู้ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมทางการเมืองโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยมิชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม บุคคลที่ถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล เช่น ผู้วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของท่านผู้นำ หรือผู้ที่พยายามหนีออกนอกประเทศ จะถูกเนรเทศไปยังค่ายแรงงานโดยไม่มีการพิจารณาคดี และบ่อยครั้งไม่มีโอกาสได้รับการปล่อยตัวออกมา

ผู้หญิงเกาหลีเหนือมักต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ และการข่มขืนเป็นประจำ[68][69][70][71] ผู้ชายที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รวมทั้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ดูแลตลาด สามารถล่วงละเมิดผู้หญิงได้ตามความประสงค์และไม่ถูกดำเนินคดี โดยเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้หญิงที่ได้รับความคุ้มครองคือผู้ที่สามีหรือบิดาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเรียกร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเรียกพวกเขาว่า "การรณรงค์หาเสียง" ที่มุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในรายงานประจำปี 2014 ที่ส่งไปยังสหประชาชาติ เกาหลีเหนือได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องความโหดร้ายว่าเป็น "ข่าวลือ"

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่แสดงเขตการปกครองของเกาหลีเหนือ

ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่

จังหวัด

[แก้]

เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง

[แก้]

เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก

[แก้]


เศรษฐกิจ

[แก้]
กรุงเปียงยาง
โรงงานในเกาหลีเหนือ
เกษตรกรรมเกาหลีเหนือ
ภาพดาวเทียมแสดงความแตกต่างของการผลิตไฟฟ้าของเกาหลีทั้งสองประเทศ

เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ตามลัทธิชูเช (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบินหมื่นลี้" (Chollima Movement) ในปี พ.ศ. 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ[72][73]

เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ

ในปี 2538 และ 2539[74][75] ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี[76] ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ[77] ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารภาพในประเทศส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับประเทศรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย

รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้

  • ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซีย เรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม
  • ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เดือนละ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน มกราคม 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
  • เมื่อเดือนกันยายน 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
  • นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC)

อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ[78][79] โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต

การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง[80] โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี

ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย[81]

ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อ 11 เมษายน 2549 นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk-) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร

การเกษตร

[แก้]

เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปลงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ[82] ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต พื้นที่ ของเกาหลีเหนือเพาะปลูกได้แค่ 20 เปอร์เซนต์ของประเทศเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลีเหนือล้อมรอบไปด้วยภูเขาจำนวนครึ่งกว่าประเทศ ใน 1 ปีสามารถเพาะปลูกได้แค่ 6 เดือน ส่วน 6 เดือนที่เหลือไม่สามารถเพาะปลูกได้เพราะอากาศหนาวติดลบ

การทำเหมืองแร่

[แก้]

เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก

อุตสาหกรรม

[แก้]

เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 26 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้

การท่องเที่ยว

[แก้]

การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีเหนือเริ่มเปิดให้กับชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศนี้ โดยเฉพาะธรรมชาติและวิถีชีวิตที่งดงาม แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือนั้น ต้องเดินทางไปกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น โดยจะต้องซื้อทัวร์ผ่านบริษัทตัวแทน ก่อนจะไปยังประเทศนี้ได้และอยู่ในการควบคุมภายใต้รัฐบาล

ประชากร

[แก้]

ประชากรศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 คาดการณ์ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.5 ล้านคนภายในปี 2000 และ 28 ล้านคนภายในปี 2010 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเนื่องจากความอดอยากของเกาหลีเหนือเริ่มขึ้นในปี 1995 เป็นเวลาสามปีและส่งผลให้ชาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตระหว่าง 240,000 ถึง 420,000 คน ผู้บริจาคระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐได้ริเริ่มการขนส่งอาหารผ่านโครงการอาหารโลกในปี 1997[83] เพื่อต่อสู้กับความอดอยากในประเทศ แม้จะมีการลดความช่วยเหลือลงอย่างมากภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แต่สถานการณ์ก็ค่อย ๆ ดีขึ้น[84] จำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารลดลงจาก 60% ในปี 1998 เป็น 37% ในปี 2006 และ 28% ในปี 2013 แต่โครงการอาหารโลกรายงานว่ายังขาดความหลากหลายทางอาหารและการเข้าถึงไขมันและโปรตีนอย่างต่อเนื่อง ในช่วงกลางปี ​​​​2010 ภาวะขาดสารอาหารของเด็กเกาหลีเหนือต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ และใกล้เคียงกับประเทศกำลังพัฒนาในแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก สุขภาพและโภชนาการของเด็กมีตัวชี้วัดที่ดีกว่าในหลายประเทศในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ

เชื้อชาติ

[แก้]

ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี แต่ก็มีชาวจีน 162,000 คน ชาวมองโกล 6,900 คน ชาวอังกฤษ 5,500 คน ชาวฝรั่งเศส 5,000 คน ชาวรัสเซีย 4,600 คนและชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่

ศาสนา

[แก้]
พระพุทธรูปแกะสลักบนภูเขาคุมกัง

ในอดีตดินแดนเกาหลีเหนืออบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อ แม้ภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาอื่นอย่างศาสนาคริสต์ และลัทธิชอนโดเกียว แต่ทุกศาสนาจะต้องได้รับการอนุญาตก่อน[85] ส่วนใหญ่ประชากรของเกาหลีเหนือจะยินดีที่จะไม่นับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่ศาสนาจะถูกให้นิยามอยู่เสมอว่าเป็นอคติต่อสังคม[86] และวัฒนธรรมทางศาสนาดั้งเดิมอย่างศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อจึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวเกาหลีเหนือ[87][88][89]

แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือได้รับการจัดการที่ดีกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาอื่นในประเทศ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ที่มักจะถูกรังแกโดยทางการ ในขณะที่ศาสนาพุทธได้รับทุนจากรัฐบาลไปส่งเสริมศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมของเกาหลีเป็นอย่างมาก[90]

จากการเฝ้าดูขององค์กรสิทธิมนุษยชน พบว่าเกาหลีเหนือได้ให้อิสระต่อกิจกรรมทางศาสนา ขณะที่รัฐบาลจะอุปถัมภ์กลุ่มศาสนาเท่านั้น สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสระการนับถือศาสนาของเกาหลีเหนือ[91]มีการประมาณการกลุ่มผู้นับถือศาสนาต่างๆจากหน่วยข่าวกรองตามสภาพของเกาหลีเหนือในปัจจุบันดังนี้[92]

ในกรุงเปียงยาง ถือเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ของเกาหลีเหนือก่อนสงครามเกาหลี ปัจจุบันมีโบสถ์เพียงสี่โบสถ์ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดทำศาสนกิจได้ เพื่อเป็นจุดเด่นแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นเท่านั้น และผู้ที่ทำการในโบสถ์ เป็นสายลับเกาหลีเหนือที่สังกัดกับกองแนวร่วม[93][94] ตัวเลขอย่างเป็นทางการของชาวคริสต์ในเกาหลีเหนือ ได้แก่ นิกายโปรเตสแตนต์มีจำนวนมากที่สุด 10,000 รองลงมาคือนิกายโรมันคาทอลิก 4,000 คน[95]

ตามที่องค์กร Open Door ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวคริสต์ ได้ให้ข้อมูลว่าทางการเกาหลีเหนือได้ทำการกลั่นแกล้งชาวคริสต์มากจนน่าแปลก[96] องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้พุ่งความสนใจเกี่ยวกับการก่อกวนทางศาสนาในเกาหลีเหนือ[97]

ภาษา

[แก้]

เกาหลีเหนือใช้ภาษาเกาหลีร่วมกับเกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางภาษาอยู่บ้าง ชาวเกาหลีเหนือเรียกภาษาถิ่นเปียงยางว่า munhwaŏ ("ภาษาวัฒนธรรม") เมื่อเทียบกับภาษาถิ่นของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะภาษาถิ่นโซลหรือ p'yojun'ŏ ("ภาษามาตรฐาน")

การศึกษา

[แก้]

สำมะโนประชากรปี 2008 ระบุว่าประชากรทั้งหมดเป็นผู้รู้หนังสือ การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภาคบังคับนั้นเรียนฟรี 11 ปี ปัจจุบันเกาหลีเหนือมีโรงเรียนอนุบาล 14,000 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 4 ปี 4,800 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 6 ปี 4,700 แห่ง ผู้ชาย 77% และผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 79% จบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอีก 300 แห่งให้การศึกษาระดับอุดมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการภาคบังคับส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่เริ่มรับราชการทหารตามบังคับหรือไปทำงานในฟาร์มหรือโรงงานแทน ข้อบกพร่องหลักของการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือการมีอยู่อย่างมากของวิชาเชิงอุดมการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 50% ของหลักสูตรในสังคมศึกษาและ 20% ในด้านวิทยาศาสตร์ และความไม่สมดุลในหลักสูตร การศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้รับการเน้นอย่างมากในขณะที่สาขาสังคมศาสตร์ถูกละเลย การศึกษาภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษเป็นภาคบังคับในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตั้งแต่ปี 1978

สาธารณสุข

[แก้]
การบริการทางทันตกรรม ในคลินิก ณ กรุงเปียงยาง

ชาวเกาหลีเหนือมีอายุขัยเฉลี่ย 72.3 ปี ในปี 2019 เกาหลีเหนือจัดเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ โครงสร้างสาเหตุการเสียชีวิตของเกาหลีเหนือ (2013) นั้นแตกต่างจากประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ แต่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดและมะเร็ง[98] คิดเป็น 84 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี 2016 ตามรายงานของธนาคารโลกประจำปี 2559 (ตามการประมาณการของ WHO) มีเพียง 9.5% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่บันทึกไว้ในเกาหลีเหนือ ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อและสภาวะของมารดาก่อนคลอด และภาวะโภชนาการ[99] ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขของเกาหลีใต้เล็กน้อย (10.1%) และหนึ่งในห้าของประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ (50.1%) แต่สูงกว่าประเทศที่มีรายได้สูง (6.7%)[100] มีเพียง 1 ใน 10 สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยรวมในเกาหลีเหนือที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อ (การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง) ซึ่งเป็นโรคที่มีรายงานว่าลดลงร้อยละ 6 ตั้งแต่ปี 2007 ในปี 2013 มีรายงานว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคกลุ่มเดียวเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีเหนือ สาเหตุหลักสามประการของการเสียชีวิตในเกาหลีเหนือ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อในเกาหลีเหนือ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของสังคมเมืองสูง สังคมสูงอายุ และอัตราการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ชายที่สูง อัตราการเสียชีวิตของมารดาต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆ แต่สูงกว่าเกาหลีใต้และประเทศที่มีรายได้สูงอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ 89 ต่อการเกิดหนึ่งแสนคน ในปี 2008 อัตราการเสียชีวิตของเด็กอยู่ที่ 45 ต่อ 1,000[101]

วัฒนธรรม

[แก้]

เดิมเกาหลีเหนือสมัยอาณาจักรนั้นได้ติดต่อกับจีน และญี่ปุ่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงคือ จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ทั้งนี้เพราะมาจากอิทธิพลจากส่วนอื่นโลก

หลังจากคาบสมุทรถูกแบ่งออกในปี 1945 วัฒนธรรมที่แตกต่างกันสองวัฒนธรรมได้ก่อตัวขึ้นจากมรดกร่วมกันของเกาหลี ชาวเกาหลีเหนือไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศเนื่องจากนโยบายปิดประเทศ มรดกเกาหลีได้รับการคุ้มครองและดูแลโดยรัฐ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัตถุที่มีความสำคัญระดับชาติกว่า 190 แห่งได้รับการจัดประเภทเป็นสมบัติของชาติของเกาหลีเหนือ ในขณะที่สิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าน้อยกว่า 1,800 รายการรวมอยู่ในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรม โบราณสถานและอนุสาวรีย์ในแกซองและคอมเพล็กซ์ของสุสานโคกูเรียวเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก

อาหาร

[แก้]
บะหมี่เย็นแบบดั้งเดิมของเกาหลีเหนือ

อาหารเกาหลีมีวิวัฒนาการผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองหลายศตวรรษ มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีเกษตรกรรมและชนเผ่าเร่ร่อนในสมัยโบราณทางตอนใต้ของแมนจูเรียและคาบสมุทรเกาหลี ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและแนวโน้มทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน[102] ข้าวและกิมจิเป็นอาหารเกาหลีหลัก[103] ในอาหารแบบดั้งเดิม พวกเขาจะมาพร้อมกับเครื่องเคียง (panch'an) และอาหารจานหลัก เช่น juk, pulgogi หรือก๋วยเตี๋ยว สุราโซจูเป็นสุราเกาหลีดั้งเดิมที่รู้จักกันดีที่สุด ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีเหนือ Okryu-gwan[104] ซึ่งตั้งอยู่ในเปียงยาง ขึ้นชื่อเรื่องบะหมี่เย็นแร็งมยอน อาหารอื่น ๆ ที่เสิร์ฟ ได้แก่ ซุปปลากระบอกสีเทากับข้าวต้ม ซุปซี่โครงเนื้อ แพนเค้กถั่วเขียว ซินโซลโล และอาหารที่ทำจากเต่าทะเล Okryu-gwan ส่งทีมวิจัยไปยังชนบทเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเกาหลีและแนะนำสูตรอาหารใหม่ เมืองในเอเชียบางแห่งมีสาขาของเครือร้านอาหารเปียงยางซึ่งพนักงานเสิร์ฟจะแสดงดนตรีและเต้นรำแบบเกาหลีเหนือ[105][106]

สื่อมวลชน

[แก้]
การแพร่ภาพโทรทัศน์ในเกาหลีเหนือจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลและกองทัพอย่างเข้มงวด

ภาพยนตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดบางเรื่องมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (An Jung-geun) หรือนิทานพื้นบ้าน (Hong Gildong) ภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีโครงเรื่องโฆษณาชวนเชื่อที่คาดเดาได้ ซึ่งทำให้ภาพยนตร์เป็นความบันเทิงที่ไม่เป็นที่นิยม ผู้ชมจะดูเฉพาะภาพยนตร์ที่มีนักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบเท่านั้น แม้ว่าภาพยนตร์ไททานิคปี 1997 จะมีการฉายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเห็นบ่อยครั้งว่าเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมตะวันตก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สื่อต่างประเทศสามารถทำได้ผ่านการลักลอบนำเข้าดีวีดีและโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ชายแดนอย่างผิดกฎหมาย[107] ภาพยนตร์ตะวันตกเช่น The Interview, ไททานิค และ นางฟ้าชาร์ลี เป็นเพียงภาพยนตร์สองสามเรื่องที่ถูกลักลอบนำเข้ามาข้ามพรมแดนของเกาหลีเหนือ ทำให้เข้าถึงพลเมืองเกาหลีเหนือได้[108]

สื่อเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลที่เข้มงวดที่สุดในโลก[109] การเซ็นเซอร์ในเกาหลีเหนือครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดที่ผลิตโดยสื่อ[110] เจ้าหน้าที่ของรัฐเฝ้าจับตาดูอย่างหนัก สื่อถูกใช้อย่างเข้มงวดเพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ชาวเกาหลีเหนือไม่มีเสรีภาพในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสื่อทั้งหมดถูกควบคุมและกรองผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล เสรีภาพสื่อในปี 2017 อยู่อันดับที่ 180 จาก 180 ประเทศ สื่อทุกแห่งถูกบังคับทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล นักข่าวทุกคนเป็นสมาชิกพรรคของท่านผู้นำประเทศ และการฟังรายการออกอากาศจากต่างประเทศถือเป็นภัยคุกคามมีโทษถึงประหารชีวิต[111] ผู้ให้บริการข่าวหลักคือสำนักข่าวกลางของเกาหลี หนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั้งหมด 12 ฉบับและวารสาร 20 ฉบับ รวมทั้งโรดอง ซินมุน ได้รับการตีพิมพ์ในเมืองหลวงอย่างถูกกฎหมาย

กีฬา

[แก้]
ทีมชาติเกาหลีเหนือพบกับทีมชาติบราซิลในฟุตบอลโลก 2010

โรงเรียนส่วนใหญ่มีการฝึกซ้อมประจำวันในด้านฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง ยิมนาสติก มวย และอื่นๆ ลีกฟุตบอลเกาหลีเหนือ DPR ได้รับความนิยมภายในประเทศและเกมต่าง ๆ มักถูกถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือได้ร่วมแข่งขันครั้งล่าสุดในฟุตบอลโลก 2010 รอบสุดท้าย ก่อนจะตกรอบแรกเมื่อแพ้ทั้งสามนัดกับบราซิล โปรตุเกส และไอวอรี่โคสต์[112] การแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 พวกเขาประสบความสำเร็จมากกว่า โดยมีชัยชนะเหนืออิตาลี 1-0 อย่างน่าประทับใจ[113]

เกาหลีเหนือมีตัวแทนของชาติในการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนานาชาติเช่นกัน ในเดือนธันวาคม 2013 อดีตนักบาสเกตบอลชื่อดังชาวอเมริกัน เดนนิส ร็อดแมน ไปเยือนเกาหลีเหนือเพื่อช่วยฝึกทีมชาติหลังจากที่เขาพัฒนาความสนิทกับ คิม จองอึน เกาหลีเหนือร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1964 นักกีฬาชาวเกาหลีเหนือยังได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันทุกรายการในโอลิมปิกฤดูร้อนอีกด้วย นักยกน้ำหนัก คิม อึน-กุก ทำลายสถิติโลกประเภทชาย 62 กก. ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน นักกีฬาโอลิมปิกทุกคนที่ประสบความสำเร็จจะได้รับอพาร์ทเมนท์สุดหรูจากรัฐเพื่อเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จของพวกเขา

วันหยุด

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. คิม จ็อง-อึนดำรงตำแหน่งถึงสี่ตำแหน่ง: เลขาธิการพรรคแรงงาน, ประธานกองบัญชาการทหารกลาง, ประธานคณะกรรมการกิจการของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ
  2. ชเว รยอง-แฮเป็นตัวแทนของเกาหลีเหนือ ตำแหน่งประธานาธิบดีถูกลบออกไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 1998 โดยคิม อิล-ซ็อง ผู้ที่เสียชีวิตใน ค.ศ. 1994 ถูกกล่าวในบนนำว่าเป็น"ประธานาธิบดีตลอดชีพ"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Minahan, James B. (2014). Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia. Santa Barbara: ABC-CLIO. p. 147. ISBN 978-1-61069-018-8.[ลิงก์เสีย]
  2. Alton, David; Chidley, Rob (2013). Building Bridges: Is There Hope for North Korea?. Oxford: Lion Books. p. 89. ISBN 978-0-7459-5598-8.
  3. "North Korea country profile". BBC News. 9 April 2018.
  4. "Kim Jong Un's North Korea: Life inside the totalitarian state". Washington Post.
  5. "Totalitarianism". Encyclopædia Britannica. 2018.
  6. "Korea, North". Britannica Book of the Year 2014. London: Encyclopedia Britannica, Inc. 2014. p. 642. ISBN 978-1-62513-171-3.
  7. Demographic Yearbook – Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density (PDF). United Nations Statistics Division. 2012. p. 5. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.
  8. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  9. "DPR Korea 2008 Population Census National Report" (PDF). Pyongyang: DPRK Central Bureau of Statistics. 2009. p. 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. "GDP (PPP) Field listing". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  11. "GDP (PPP) per capita Field listing". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  12. "National Accounts Main Aggregate Database". United Nations Statistics Division. December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016.
  13. 13.0 13.1 "North Korean Economy Watch » GDP statistics". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017. Hyundai Research Institute (South Korea)
  14. "Decree on Redesignating Pyongyang Time". Naenara. 30 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-05. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  15. "Telephone System Field Listing". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  16. Hersher, Rebecca (21 September 2016). "North Korea Accidentally Reveals It Only Has 28 Websites". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  17. "U.S.: N. Korea Boosting Guerrilla War Capabilities". Associated Press. FOX News Network, LLC. 2009-06-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  18. Sanger, David E. (1991-05-29). "North Korea Reluctantly Seeks U.N. Seat". The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  19. Spencer, Richard (2007-08-28). "North Korea power struggle looms". The Telegraph (online version of UK national newspaper). London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-27. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
    Parry, Richard Lloyd (2007-09-05). "North Korea's nuclear 'deal' leaves Japan feeling nervous". The Times (online version of UK's national newspaper of record). London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-26. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
    Walsh, Lynn (2003-02-08). "The Korean crisis". CWI online: Socialism Today, February 2003 edition, journal of the Socialist Party, CWI England and Wales. socialistworld.net, website of the committee for a worker’s international. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-03. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
    Oakley, Corey (October 2006). "US is threat to peace not North Korea". Edition 109 - October–November 2006. Socialist Alternative website in Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  20. 20.0 20.1 Brooke, James (2003-10-02). "North Korea Says It Is Using Plutonium to Make A-Bombs". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  21. 21.0 21.1 Buruma, Ian. "Leader Article: Let The Music Play On". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  22. Finn, Peter (2009-06-08). "U.S. to Weigh Returning North Korea to Terror List". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
  23. "Constitution of North Korea (1972)". 1972. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
  24. Martin, Bradley K. (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. New York, NY: Thomas Dunne Books. p. 111. ISBN 0-312-32322-0.
  25. Lee, May (1998-08-19). "Famine may have killed 2 million in North Korea". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  26. "North Korea’s Military Strategy"เก็บถาวร 2007-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Parameters, US Army War College Quarterly, 2003.
  27. "Freedom in the World, 2006". Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  28. "Economist Intelligence Unit democracy index 2006" (PDF). Economist Intelligence Unit. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09. North Korea ranked in last place (167)
  29. "A portrait of North Korea's new rich". The Economist. 2008-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
  30. "Human Rights in North Korea". hrw.org. Human Rights Watch. 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
  31. "DPRK FAQ". Korean Friendship Association. 2011-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-11-24. {{cite news}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  32. "Armed forces: Armied to the hilt". The Economist. 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  33. Anthony H. Cordesman (2011-07-21). The Korean Military Balance (PDF). Center for Strategic & International Studies. ISBN 978-0-89206-632-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28. {{cite book}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  34. International Space Dominance: 7 Nations Launching the Next Space Race, Popular Mechanics, October 1, 2009
  35. "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2009-02-17.
  36. "Grotesque indifference". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2007-05-15.
  37. "North Korea: Amnesty International's Human Rights Concerns". web.archive.org. 2007-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  38. "Everything you need to know about human rights in North Korea 2020". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
  39. "Pyongyang Climate, Weather By Month, Average Temperature (North Korea) - Weather Spark". weatherspark.com (ภาษาอังกฤษ).
  40. "Climate and average weather in North Korea". World Weather & Climate Information.
  41. "바른언론 빠른뉴스 인터넷 연합뉴스". web.archive.org. 2011-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  42. https://www.ncnk.org/resources/publications/NCNK_Issue_Brief_DPRK_Diplomatic_Relations.pdf
  43. "A Single Flag -- North And South Korea Join U.N. And The World | The Seattle Times". archive.seattletimes.com.
  44. Nanto, Dick K.; Manyin, Mark E. (2010-12-28). "China-North Korea Relations". UNT Digital Library (ภาษาอังกฤษ).
  45. https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/chinas-xi-to-visit-north-korea-as-both-countries-lock-horns-with-united-states/2019/06/17/4777087c-90f5-11e9-b72d-d56510fa753e_story.html
  46. "Assemblée nationale ~ Compte rendu de réunion de la commission de la défense nationale et des forces armées". www.assemblee-nationale.fr.
  47. "Quelles relations la France entretient-elle avec la Corée du Nord ?". LEFIGARO (ภาษาฝรั่งเศส).
  48. "Kim Yong Nam Visits 3 ASEAN Nations To Strengthen Traditional Ties". web.archive.org. 2007-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "U.S. takes North Korea off terror list - CNN.com". edition.cnn.com.
  50. "Trump declares North Korea 'sponsor of terror'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-11-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  51. "N Korea to face Japan sanctions" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  52. Rosenfeld, Everett (2019-02-28). "Trump-Kim summit was cut short after North Korea demanded an end to sanctions". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
  53. "CNN.com - Koreas agree to military hotline - Jun 4, 2004". edition.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  54. "FACTBOX - North, South Korea pledge peace, prosperity". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  55. "Koreas make nuclear pledge after historic summit". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  56. "U.S. ready to resume North Korea talks, seeks denuclearization by 2021". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  57. "ไทย-เกาหลีเหนือ ยินดีต่อความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่มีมาอย่างยาวนาน และพร้อมสานต่อความสัมพันธ์ต่อไป". www.prd.go.th.
  58. Min-seok, Kim; Min-seok, Kim. "The State of the North Korean Military - Korea Net Assessment 2020: Politicized Security and Unchanging Strategic Realities". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ).
  59. "2021 Military Strength Ranking". www.globalfirepower.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  60. "Armied to the hilt". The Economist. 2011-07-19. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  61. Agencies (2021-09-09). "North Korea: soldiers in hazmat suits march in military parade marking nation's 73rd anniversary". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  62. "North Korea Submarine Capabilities | NTI". www.nti.org.
  63. "The Times & The Sunday Times". www.thetimes.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
  64. Ryall, Julian; Lockhart, Keely; Smith, Nicola (2017-08-09). "What is North Korea's missile range and can it hit the UK? Everything you need to know". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  65. Laet, Sigfried J. de (1994-01-01). History of Humanity: From the seventh to the sixteenth century (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. ISBN 978-92-3-102813-7.
  66. "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2009-02-17.
  67. "North Korea defends human rights record in report to UN". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  68. CNN, Euan McKirdy and Jake Kwon. "'We are at the mercy of men': Reports of rape and sexual abuse in North Korea". CNN.
  69. "A comparison of North and South Korean rape law". Law and North Korea (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  70. ""You Cry at Night but Don't Know Why": Sexual Violence against Women in North Korea" (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-01. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  71. Joyce, Kathleen (2018-11-01). "North Korean women suffer serious sexual violence by authorities, report says". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  72. "How the North Korean Economy Works". Investopedia (ภาษาอังกฤษ).
  73. "North Korea - Economy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  74. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  75. Blakemore, Erin. "North Korea's Devastating Famine". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  76. "North Korea says it faces worst drought in a century". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  77. "The Politics of the North Korean Floods". Beyond Parallel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-11-02.
  78. You, Jong S. (2007). "Market Reforms in North Korea: Are They for Real?". North Korean Review. 3 (2): 27–44. ISSN 1551-2789.
  79. "Analysis: North Korea's market reforms seen at risk as leader Kim tightens grip". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  80. Lankov, Andrei. "N Korea and the myth of starvation". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
  81. "NK is no Stalinist country". The Korea Times. 9 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  82. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  83. https://sgp.fas.org/crs/row/R40095.pdf
  84. "US Has Put Food Aid for North Korea on Hold - Social and Economic Policy - Global Policy Forum". web.archive.org. 2007-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  85. "DPRK's Socialist Constitution (Full Text)". The People's Korea. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); see Chapter 5, Article 68
  86. Nash, Amy (2008). "Korean Americans - Overview, Early history, Modern era, The first koreans in america, Significant immigration waves". Multicultural America. Advameg Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  87. "Culture of North Korea - Alternative name, History and ethnic relations". Countries and Their Cultures. Advameg Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  88. "CIA The World Factbook -- North Korea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-22. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  89. "Background Note: North Korea". Bureau of East Asian and Pacific Affairs. U.S. State Department. February 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  90. "Buddhist Temple Being Restored in N. Korea". Los Angeles Times. October 2, 2005.
  91. "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch. July 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
  92. "Religious Intelligence UK report". Religious Intelligence. Religious Intelligence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  93. United States Commission on International Religious Freedom (2004-09-21). "Annual Report of the United States Commission on International Religious Freedom". Nautilus Institute. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
  94. "N Korea stages Mass for Pope". BBC News. 2005-04-10. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
  95. "North Korean Religion". Windows on Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  96. "Open Doors International : WWL: Focus on the Top Ten". Open Doors International. Open Doors (International). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  97. "Korea Report 2002". Amnesty International. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-11-22. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
  98. "Cause of death, by non-communicable diseases (% of total) - Korea, Dem. People's Rep. | Data". data.worldbank.org.
  99. "Cause of death, by communicable diseases and maternal, prenatal and nutrition conditions (% of total) - Korea, Dem. People's Rep., Korea, Rep., Low income, High income | Data". data.worldbank.org.
  100. "Maternal mortality ratio (modeled estimate, per 100,000 live births) - Korea, Dem. People's Rep., Low income, Middle income | Data". data.worldbank.org.
  101. "Healthcare Access and Quality Index". Our World in Data.
  102. "한국요리". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี).
  103. Service (KOCIS), Korean Culture and Information. "Food : Korea.net : The official website of the Republic of Korea". www.korea.net.
  104. "Okryu Restaurant Becomes More Popular for Terrapin Dishes". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  105. "Past news". web.archive.org. 2011-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  106. "The mystery of North Korea's virtuoso waitresses". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  107. Crocker, L. (22 December 2014). North Korea's Secret Movie Bootleggers: How Western Films Make It Into the Hermit Kingdom.
  108. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  109. Harvard International Review. Winter 2016, Vol. 37 Issue 2, pp. 46–50
  110. Youm, Kyu Ho (1991-01-01). "Press laws in North Korea". Asian Journal of Communication. 2 (1): 70–86. doi:10.1080/01292989109359541. ISSN 0129-2986.
  111. "North Korea cracks down on foreign media, speaking styles". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  112. "North Korea's failed World Cup footballers undergo public mauling". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-30.
  113. Thacker, Gary (2019-05-16). "How North Korea stunned the world by beating Italy at the 1966 World Cup". These Football Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เว็บไซต์รัฐบาล

[แก้]

เว็บไซต์ทั่วไป

[แก้]