ข้ามไปเนื้อหา

สรรพันตรเทวนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สรรพัชฌัตเทวนิยม)

สรรพัชฌัตเทวนิยม[1] (อังกฤษ: Panentheism) เป็นเทวนิยมรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงสถิตแทรกซึมอยู่ทั่วโลก (ตลอดทั้งจักรวาล) มีลักษณะเป็นแนวคิดสายกลางระหว่างแนวคิดแบบเอกเทวนิยมด้ังเดิมที่มองว่าพระเป็นเจ้าทรงอยู่แยกขาดจากโลก กับแนวคิดสรรพเทวนิยมที่มองว่าพระเป็นเจ้ากับโลกเป็นสิ่งเดียวกัน สรรพัชฌัตเทวนิยมจึงเสนอว่าพระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์ในโลก (ไม่ได้แยกขาดจากกัน) แต่พระองค์ก็ไม่ใช่ภาวะเดียวกับโลก แนวคิดนี้ปรากฏในสาขาปรัชญาและเทววิทยามาหลายศตวรรษ แต่มาเฟื่องฟูมากในโลกตะวันตกเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว เมื่อศาสนาคริสต์ต้องปรับตัวเข้ากับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์[2]

ศาสนาที่มีแนวคิดแบบสรรพัชฌัตเทวนิยม เช่น ศาสนาฮินดูสำนักวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ และลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น

ศัพทมูล

[แก้]

สรรพัชฌัตเทวนิยม แปลมาจากภาษาอังกฤษ Panentheism ซึ่งมีที่มาคำในภาษากรีกโดย pan แปลว่า ทั้งปวง (สรรพ) en แปลว่า ใน (อัชฌัต) theism แปลว่า ความเชื่อว่ามีประเป็นเจ้า (เทวนิยม) Panentheism จึงหมายถึง ความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าสถิตอยู่ในสรรพสิ่งทั้งปวง

อ้างอิง

[แก้]
  1. กีรติ บุญเจือ, ศาสนาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546, หน้า 326-7
  2. "Stanford Encyclopedia of Philosophy:Panentheism". มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด. 5 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)