ข้ามไปเนื้อหา

สมุทร์ สหนาวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมุทร์ สหนาวิน
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2524
ก่อนหน้าพลเรือเอก กวี สิงหะ
ถัดไปพลเรือเอก สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 – 22 เมษายน พ.ศ. 2526
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กรกฎาคม พ.ศ. 2464
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (83 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง สมบูรณ์ สหนาวิน (รังสิพราหมณกุล)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพเรือไทย
กองอาสารักษาดินแดน
ยศ พลเรือเอก
นายกองเอก[1]

พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

ประวัติ

[แก้]

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน เป็นบุตรชายของนายนาวาตรี หลวงเจนจบสมุทร์ (เจือ สหนาวิน) ต้นตระกูลสหนาวิน กับนางแพ เจนจบสมุทร์ มีพี่สาวต่างมารดา 1 คนซึ่งเกิดกับนางแช่ม สหนาวิน น้องสาวของนางแพ และน้องชายร่วมมารดาอีก 1 คนคือ วีระ สหนาวิน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ กับคุณหญิง สมบูรณ์ สหนาวิน (รังสิพราหมณกุล) บุตรีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณวิบูลเวทย์บรมหงส์พรหมพงศ์พฤฒาจารย์ (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) ประธานพราหมณ์ราชสำนัก และนาง วามเทพมุนี (เล็ก รังสิพราหมณกุล) มีบุตรธิดา 2 คน คือ

  • พลเรือโท สุริยะ สหนาวิน ร.น.
  • นาง ดวงกมล นภสินธุวงศ์

ตำแหน่งสำคัญในราชการ

[แก้]

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2524 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524[2] จากนั้นจึงพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[3] เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 จนถึงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 และดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2526

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2548 ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชทานยศ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๙๑๓, ๘ ก.ย. ๒๕๐๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๓๖๗๑, ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๕
  6. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1981
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 103 ตอนที่ 103 ฉบับพิเศษ หน้า 5, 19 มิถุนายน 2529

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]